แพทย์แผนไทย โคราช รักษาโรค SLE ไขความลับวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคพุ่มพวง ( SLE)
รถตู้ให้เช่า ร้อยเอ็ด
หมอเอ ณัฐปราชญ์ คลินิก

ตาโขน คือใคร ตายยังไง ทำไมไม่ไปผุดไปเกิดเสียที  อันนี้ผมไม่รู้หรอกครับ และคงไม่ใช่ปัญหาของผมที่ต้องมาคอยหาคำตอบ สำหรับพวกคุณ เพราะมันไม่ใช่นัยยะสำคัญของเรื่องที่จะเล่าสู่ท่าน ณ บัดนี้

บทที่ 62 โดย ไอ้หัวเป็ดโคราช

T2852

         เกิดขึ้น ณ เมืองเลย เมื่องเล็ก ๆ ล้อมรอบด้วยหุบเขา สายนํ้าเลยไหลล่องผ่านใจกลางเมือง เหน็บหนาวเป็นปกติในหน้าที่ของมัน เป็นความรับผิดชอบอย่างสมบูรณ์ของธรรมชาติเมื่อถึงฤดูกาล เป็นอยู่เช่นนี้ ตั้งแต่ผมเริ่มสัมผัส รู้สึกและรับรู้อาการ 32 ภายในกาย ครั้งหนึ่งของชีวิตอันยาวนานในช่วงหนึ่งของวัยเยาว์ ก่อนถึงเวลาเก็บเสื้อผ้ายัดลงกระเป๋าใบเก่าที่ยายเก็บไว้ให้ อำลาเงาอดีตจากไกลไม่หวนคืน ใจหวังเพียงรอฟังหนาวหน้าว่าจะเป็นไปเช่นไร อย่างคนที่เดียวดาย บนเส้นทางที่เลือกเอง

         รู้จักกันครั้งแรกกับ "ผี" คุณตาโขน "เขา" โดยทั่วไปเรียกขานท่านว่า "ผีตาโขน" จุดเริ่มต้นมาจากอำเภอเล็ก ๆ แห่งหนึ่งในเขตตะเข็ปชายแดนของจังหวัดเลย "ด่านซ้าย" ด่านซ้ายชายแดนแขวงเมืองหน้าด่าน พรรณนาสภาพภูมิประเทศผ่านบทเพลงลูกทุ่ง อันโด่งดังในอดีต  ครั้งหนึ่งในฤดูหนาว "งานดอกฝ่ายบาน มะขามหวานเมืองเลย" มีการออกงานของแต่ละอำเภอในจังหวัด ผมมองความแปลกใหม่ของสีสันต์ของหน้ากาก และการแต่งกาย ของหุ่นคนชักใยใส่ชุด ลีลาการเคลื้อนไหว จังหวะการขยับร่างกาย ศิลปะที่บรรจงตกแต่งแต้มสีลงบนหวดนึ่งข้าว เศษผ้าหลากสีที่นำมาปะติดอย่างลงตัว ผมประทับใจเลยเมื่อแรกเห็น จึงมึนเขาไปถามท่าน นี่ ๆ อะไรครับ ? ผมชอบนะ

         ปราชญ์ท้องถิ่น ปัญญาชนชาวบ้าน นักการศึกษาอีสานหลาย ๆ ท่านเคยศึกษาเรื่องราวของ "ผีตาโขน" มุมมองด้านต่าง ๆ สรุปกันไปว่า "ประเพณีผีตาโขน" เป็นการละเล่นที่เกี่ยวเนื่องกับพิธีกรรม เพื่อบวงสรวงบูชาวิญญาณผีบรรพชน ของชนชาติ ไทย - ลาว ถือกันว่า "บรรพชนเดิม" ต้นตระกูลเคยสร้างบ้านแปงเมือง เมื่อถึงเวลา "บรรพชน" ตายเป็นผี คนเมื่อเกิดความกลัว และยำเกรงต่อสิ่งที่ศรัทธา ยึดถือในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ "ที่น่าเกรงขาม" มีอำนาจที่จะดลบันดาลให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ หรือ (ความฉิบหายของบ้านเมือง) ดังนั้นเพื่อเป็นการแสดงความเคารพเจ้าถิ่น ที่ท่านให้โอกาสแก่ความอุดมสมบูรณ์ ในบ้านเมืองนี้ เมื่อถึงหน้างานบุญประจำปีของหมู่บ้านเฮา  หรือที่เรียกว่า "ฮีตประเพณี" จึงสร้างตัวละครชีวิตขึ้นแทนความสำคัญของ "สิ่งทรงอำนาจ" ขึ้นมา  ให้เป็นการละเล่นยอดฮิต  เต้นฟ้อน "ผีตาโขน" เพื่อเซ่นสรวงบูชาบรรพชน และผู้ยิ่งใหญ่ที่ทรงสิงสถิตในบ้านเมือง  เพื่อสนองให้เป็น "กาล" ถูกอกถูกใจแก่ "ผีบรรพชน"  การละเล่นผีตาโขน  มีมาแต่โบราณ และผ่านการสืบทอดทางพิธีกรรม จากรุ่นสู่รุ่น  จนถึงปัจจุบัน "ผีตาโขน" การละเล่นในงานบุญหลวง  ของอำเภอด่านซ้าย  นับเป็นการละเล่นที่นำพาให้เกิดความสนุกสนาน  ความบันเทิงเป็นหลัก  เป็นสีสันแห่งการเฉลิมฉลองงานบุญหลวง ในพิธีอันเชิญพระ เวสสันดร และนางมัทรีเข้าเมือง ตามฮีตเดือนสี่ (บุญเผวส) ของชาวอีสาน "ด่านซ้าย"

 LOGO Duck Head

Go to top