แพทย์แผนไทย โคราช รักษาโรค SLE ไขความลับวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคพุ่มพวง ( SLE)
รถตู้ให้เช่า ร้อยเอ็ด
หมอเอ ณัฐปราชญ์ คลินิก

royalเรือพระที่นั่ง เรือพระราชพิธี กระบวนพยุหยาตราชลมารค เป็น กระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำที่เป็นราชประเพณีไทยที่มีมาแต่โบราณ โดยมีหลักฐานชัดเจนตั้งแต่สมัยอยุธยา เรือในกระบวนมีการสลักโขนเรือเป็นรูปสัตว์ในเทพนิยาย มีการจัดกระบวนหลายแบบ ที่รู้จักกันดีก็คือ “ กระบวนพยุหยาตราเพชรพวง ” ดังปรากฏใน ลิลิตพยุหยาตราเพชรพวง ลิลิตพรรณนากระบวนเรือ ประพันธ์โดยเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เมื่อ พ.ศ. 2430 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โดยยึดถือตามแบบแผนเดิมแห่งกรุงศรีอยุธยา

 

เรียบเรียงและรวบรวม : teen.mthai.com
ภาพและอ้างอิง : lms.thaicyberu.go.th/ th.wikipedia.org

 

ประเภทของ การเห่เรือ สามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภทคือ

ในปัจจุบัน การเห่เรือ ยังคงอยู่เฉพาะ การเห่เรือหลวง ที่ใช้ใน กระบวนพยุหยาตราชลมารค

เรือพระที่นั่ง เรือพระราชพิธี กระบวนพยุหยาตราชลมารค

สมัยเริ่มแรกของ เรือพระที่นั่ง เรือพระราชพิธี กระบวนเรือพยุหยาตราชลมารค

กระบวนพยุหยาตราชลมารค ในการแห่พระกฐินในอดีต หน้าวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร การเสด็จทางน้ำที่เรียกว่า กระบวนพยุหยาตราชลมารค นั้น มีหลักฐานมาตั้งแต่สมัย กรุงสุโขทัย ปรากฏไว้ว่า พระร่วงเจ้า ( พระมหาธรรมราชา 1 ) ทรงใช้เรือออกลอยกระทง หรือพิธีจองเปรียง ณ กลางสระน้ำ พร้อมทั้งเผาเทียนเล่นไฟในยามคืนเพ็ญเดือนสิบสอง

ตำนาน เรือพระที่นั่ง เรือพระราชพิธี กระบวนเรือพยุหยาตราชลมารค ในยุคกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ตามพงศาวดาร

สมเด็จพระนเรศวร เมื่อ คราวเสด็จไปตีเมืองเมาะตะมะ เสด็จพระราชดำเนินจาก กรุงศรีอยุธยา โดยชลมารค พอได้เวลาฤกษ์ พระโหราราชครูอธิบดีศรีทิชาจารย์ ก็ลั่นกลองฆ้องชัยให้พาย เรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส์ อันเป็นเรือทรงพระพุทธปฏิมากรทองนพคุณ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุถวายพระนามสมญา “ พระพิชัย ” นำกระบวนออกไปก่อนเพื่อความเป็นสิริมงคล

ครั้น ในสมัย กรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานี ซึ่งตัวเกาะกรุงนั้นเป็นเกาะที่ล้อมรอบไปด้วยแม่น้ำลำคลอง ชีวิตผูกพันกับสายน้ำ จึงปรากฏการสร้าง เรือรบ มากมายใน กรุงศรีอยุธยา ยามบ้านเมืองสุขสงบ ชาว กรุงศรีอยุธยา ก็หันมา เล่นเพลงเรือ แข่ง เรือเป็นเรื่องเอิกเกริก โดยเฉพาะพระเจ้าแผ่นดินกรุงสยาม เมื่อจะเสด็จฯแปรพระราชฐานไปยังหัวเมืองต่างๆ หรือเสด็จฯไปทอดผ้ากฐินยังวัดวาอาราม ก็มักจะใช้ เรือรบโบราณ เหล่านั้นจัดเป็นกระบวนเรือยิ่งใหญ่

ดังนั้นในสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช มี กระบวนเรือเพชรพวง ซึ่งเป็น เรือริ้วกระบวน ที่ใหญ่มาก จัดออกเป็น 4 สาย แล้ว เรือพระที่นั่ง ตรงกลางอีก 1 สาย ใช้เรือทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 100 ลำ

ระหว่างการเคลื่อนกระบวนก็มีการเห่เรือพร้อมเครื่องประโคม จนเกิดวรรณกรรมร้อยกรองที่ไพเราะยิ่ง คือ กาพย์เห่เรือ ของ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ หรือเจ้าฟ้ากุ้ง ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งบรรยายถึงความงดงาม และลักษณะของเรือในกระบวนครั้งนั้น และบทเห่เรือนี้ยังเป็นแม่แบบของ กาพย์เห่เรือ ที่ใช้กันในปัจจุบัน

สิ้นกรุงศรี สิ้น เรือพระที่นั่ง เรือพระราชพิธี กระบวนเรือพยุหยาตราชลมารค

การจัดการ กระบวนพยุหยาตรลมารค ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่กล่าวมานี้ จัดได้ว่าเป็น ริ้วกระบวนใหญ่แสดงความมั่งคั่งโอ่อ่า ของราชสำนักไทยในครั้งนั้นได้เป็นอย่างดี ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับ ริ้วกระบวนเรือ ใน สมัยต่อมา จะพบว่าค่อยๆ ตัดทอนลงไปเรื่อยๆ เพราะเรือชำรุดไปตามกาลเวลาบ้าง ไม่มีผู้รู้จักทำขึ้นใหม่ให้ถูกต้องตามแผนโบราณบ้างจึงเหลืออยู่เท่าที่พอจะ รักษาไว้ได้เท่านั้น กระทั่งในปี พ.ศ. 2310 ถึงคราวเสียกรุงศรีอยุธยาปรากฏว่ากระบวนเรือราชพิธีสูญสลายกลายเป็นเถ้าถ่าน ด้วยฝีมือของข้าศึก

ขบวนเรือในอดีต

ขบวนเรือพระราชพิธี ในการพระราชพิธีลงสรงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ( รัชกาลที่5 ) ขณะทรงประทับบน เรือพระที่นั่งสุวรรณหงส์ ทอดบัลลังก์บุษบก เสด็จพระราชดำเนินทรงทอดพระกฐินทางชลมารค ( ภาพถ่ายลายเส้นหายากจากหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสในสมัยนั้น )

พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต)

พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต)

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ใน ตอนเสียกรุงครั้งที่ 2 พม่าได้เผาทำลายเรือลงจนหมดสิ้น หลังจากนั้น เมื่อ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงกอบกู้เอกราชของไทยคืนมาได้ ก็ทรงสร้างเรือขึ้นใหม่ทั้งชุด แต่ส่วนใหญ่จะเป็นเรือที่ใช้ในการรบพุ่งทั้งสิ้น เพราะในสมัยนั้นมีแต่การศึกสงคราม โดยมีการแห่เรือสำคัญ คือ ในการ พระราชพิธีสมโภชรับพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรแก้วมรกต ซึ่ง อันเชิญมาจากเวียงจันทน์และมาแห่พักไว้ที่กรุงเก่า คือพระนครศรีอยุธยามีข้อความในหมายรับสั่งพรรณนากระบวนเรือที่แห่มาจากต้น ทางว่า รวมเรือแห่ทั้งปวง 115 ลำ และสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปสมทบที่พระตำหนักบางธรณี กรุงเก่า ความว่ามีเรือแห่มารวมกันเป็นจำนวน 246 ลำ

ครั้น มาถึงสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์ได้ทรงสร้างเรือขึ้นมาใหม่อีก 67 ลำ ซึ่งมีทั้งเรือพระที่นั่ง เรือกระบวนปิดทอง เรือพิฆาต และเรือแซง ซึ่งเป็นเรือที่สำคัญๆ เป็นที่รู้จักมาจนเท่าทุกวันนี้

ในรัชกาลต่อๆมาก็ยังมีการสร้างเรือเพิ่มขึ้นมาอีก

รัชกาลที่ 2 2 ลำ
รัชกาลที่ 3 24 ลำ
รัชกาลที่ 4 7 ลำ
รัชกาลที่ 5 ลำเดียว
รัชกาลที่ 6 2 ลำ

จากนั้นก็มิได้มีการสร้างเรืออีก จนถึงรัชกาลที่ 9จึงได้มีการสร้าง เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เนื่องในโอกาสกาญจนาภิเษก เรือที่สำคัญๆ และตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน ก็ได้แก่ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช สร้างขึ้นครั้งแรกในรัชกาลที่ 4 และมาสร้างขึ้นแทนลำเดิมอีกในรัชกาลที่ 6 เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 5 และ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 6

กระบวนเรือในหลวง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค ณ วัดอรุณราชวรารามใน พระราชพิธีกาญจนาภิเษก

เรือพระที่นั่ง เรือพระราชพิธี กระบวนเรือพยุหยาตราชลมารค ในรัชกาลปัจจุบัน

สำหรับ กระบวนพยุหยาตรา ที่ มีในรัชกาลปัจจุบันนั้น ส่วนมากจะเป็นการเสด็จไปทอดผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม และ พิธีสำคัญๆ อย่างเช่น การฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี กาญจนาภิเษก และ พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ

ภาพขบวนเรือพระราชพิธี ในงานประชุมเอเปค 2003

ภาพขบวนเรือพระราชพิธี ในงานประชุมเอเปค 2003

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯแทนพระองค์ ในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร (ภาพเมื่อ พ.ศ. 2550)

สมเด็จ พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯแทนพระองค์ ในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินณ วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร (ภาพเมื่อ พ.ศ. 2550)

เส้นทางเดินเรือ เรือพระที่นั่ง เรือพระราชพิธี กระบวนเรือพยุหยาตราชลมารค

จุด เริ่มต้นของกระบวนเรือนั้น คือบริเวณ ท่าวาสุกรี โดยจะมีการจอดเรือตั้งแต่ หน้าสะพานกรุงธน ไปถึงหลังสะพานพระราม 8 เรือจะเริ่มออกจากสะพานพระราม 8 ผ่านป้อมพระสุเมรุสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า โรงพยาบาลศิริราช กรมอู่ทหารเรือ ราชนาวิกสภา พระบรมมหาราชวัง หอประชุม ทร. วัดอรุณราชวราราม และไปจอดเรืออยู่หน้าวัดกัลยาณมิตร

ภาพแสดงแผนผัง เรือพระที่นั่ง เรือพระราชพิธี กระบวนเรือพยุหยาตราชลมารค

เรือพระราชพิธี

ประวัติ เรือพระที่นั่ง เรือพระราชพิธี กระบวนเรือพยุหยาตราชลมารค

เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์

เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์

เรือ พระที่นั่งสุพรรณหงส์ สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ซึ่งโปรดให้สร้างแทนลำเดิมมีนามว่า ศรีสุพรรณหงส์ ซึ่งสร้างในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1

เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช

เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช

เรือ พระที่นั่งอนันตนาคราช ลำปัจจุบันเป็นเรือที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แทนลำเดิมซึ่งสร้างในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โขนเรือปิดทองประดับกระจก เป็นรูปพญานาค 7 เศียร พื้นเรือ สีเขียว น้ำหนัก 15.36 ตัน กว้าง 2.95 เมตร ยาว 42.95 เมตร ลึก 0.76 เมตร

เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์

เรือ พระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ เป็นเรือที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 หัวเรือจำหลักปิดทองเป็นรูปพญานาคเล็กๆ จำนวนมาก

เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9

เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9

เรือ พระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เป็นเรือพระที่นั่งจัดสร้างขึ้นใหม่ ในรัชกาลปัจจุบัน มีโขนเรือเป็นรูปนารายณ์ทรงสุบรรณ ซึ่งนำต้นแบบมาจากเรือนารายณ์ทรงสุบรรณ ลำเดิมที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 และ รัชกาลที่ 4 เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 นี้ กองทัพเรือ ร่วมกับ กรมศิลปากร และสำนักพระราชวัง ได้ดำเนินการจัดสร้าง เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องใน วโรกาสพระราชพิธีในปีกาญจนาภิเษก มีฐานะเป็นเรือพระที่นั่งรอง ทอดบัลลังก์กัญญา เทียบเท่า เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์  (เพื่อให้สอดคล้องกับ วโรกาสครบรอบ 50 ปี แห่งการครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เรือพระที่นั่ง เรือพระราชพิธี กระบวนเรือพยุหยาตราชลมารค อื่นๆ

เรือเอกไชยเหินหาว

เรือเอกไชยเหินหาว

เรือเอกไชยเหินหาว เป็น เรือประเภทเรือเอกขัยในลำดับชั้นของเรือพระที่นั่ง ในกระบวนพยุหยาตราชลมารค ซึ่งเกือบเทียบเท่าเรือพระที่นั่งกิ่ง ทำหน้าที่เป็นเรือคู่ชักใช้นำหน้าหรือชักลาก เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ คู่กับ เรือเอกไชยหลาวทอง หรือสำหรับชักลาก เรือพระที่นั่ง ในกรณีที่ฝีพายไม่เพียงพอ ปัจจุบันเก็บรักษาที่ พิพิธภัณฑสถานเรือพระราชพิธี คลองบางกอกน้อย

เรือเอกไชยหลาวทอง

เรือเอกไชยหลาวทอง

เรือเอกไชยหลาวทอง เป็นเรือคู่ชัก คู่กับ เรือเอกไชยเหินหาว สำหรับใช้ช่วยชักลาก เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ใน งานพระราชพิธี ลำปัจจุบันเป็นลำที่สอง ที่สร้างขึ้นทดแทนลำเดิม ที่ถูกระเบิดได้รับความเสียหายในสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2487 และกรมศิลปากรได้ตัดหัวเรือและท้ายเรือเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ เมื่อปี พ.ศ. 2491

เรือพาลีรั้งทวีป

เรือพาลีรั้งทวีป

เรือสุครีพครองเมือง

เรือสุครีพครองเมือง

เรืออสุรวายุภักษ์

เรืออสุรวายุภักษ์

เรืออสุรวายุภักษ์ โขน เรือเป็นรูปครึ่งยักษ์ครึ่งนก มีส่วนบนเป็นยักษ์ ส่วนล่างเป็นนกองค์เป็นสีม่วง ลักษณะและขนาดของเรือใกล้เคียงกับเรือกระบี่ ปราบเมืองมาร

เรืออสุรปักษี

เรืออสุรปักษี

เรืออสุรปักษา โขน เรือเป็นรูปครึ่งยักษ์ครึ่งนก มีส่วนบนเป็นยักษ์ ส่วนล่างเป็นนกองค์เป็นสีเขียว ลักษณะและขนาดของเรือใกล้เคียงกับเรือกระบี่ ปราบเมืองมาร

เรือกระบี่ปราบเมืองมาร

เรือกระบี่ปราบเมืองมาร

เรือกระบี่ราญรอนราพณ์

เรือกระบี่ราญรอนราพณ์

เรือครุฑเหินเห็จ

เรือครุฑเหินเห็จ

เรือครุฑเตร็จไตรจักร

เรือครุฑเตร็จไตรจักร

เรือเสือทยานชล

เรือเสือทยานชล

เรือเสือคำรณสินธุ์

เรือเสือคำรณสินธุ์

เรืออีเหลือง

เรืออีเหลือง

เรือทองขวานฟ้า

เรือทองขวานฟ้า

เรือทองบ้าบิ่น

เรือทองบ้าบิ่น

เรือแตงโม

เรือแตงโม

เรือดั้ง

เรือดั้ง

เรือดั้ง คือ เรือที่ทำหน้าที่ป้องกันกระบวนหน้า เพราะคำว่า “ ดั้ง ” หมายถึง “ หน้า ” เรือดั้งเป็นเรือที่มีส่วนหัวตั้งสูงงอนขึ้นไปเป็นเรือไม้ก็มี เป็น เรือปิดทองก็มี

เรือแซง

เรือแซง

เรือแซง เรือเล็กและเร็ว จัดเป็นเรืออารักขาพระมหากษัตริย์

 

ที่มา:http://board.postjung.com/640751.html#

 

 

Go to top