แพทย์แผนไทย โคราช รักษาโรค SLE ไขความลับวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคพุ่มพวง ( SLE)
รถตู้ให้เช่า ร้อยเอ็ด
หมอเอ ณัฐปราชญ์ คลินิก

เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2565 ดร.ธนกฤต วรธนัชชากุล อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด ปฏิบัติราชการในหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานประสานงานกระบวนการยุติธรรม สถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุด ได้ให้ความเห็นข้อกฎหมายผ่านเฟซบุ๊คส่วนตัว ความว่า ตามที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2565 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน 2565

 นอกจากจะมีการแก้ไขมาตรา 123 กำหนดให้คนโดยสารที่นั่งแถวที่นั่งตอนอื่นที่ไม่ใช่แถวหน้าต้องรัดเข็มขัดนิรภัย และเด็กอายุไม่เกิน 6 ปี ต้องจัดให้นั่งในที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก หรือนั่งในที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กเพื่อป้องกันอันตราย หรือมีวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุแล้วยังได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.จราจรทางบก อีกมากในหลายๆ เรื่อง ซึ่งจะขอนำมากล่าวในที่นี้เฉพาะบางเรื่องที่เห็นว่าน่าสนใจ ดังนี้

  • กรณีที่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นและมีเหตุอันเชื่อได้ว่า ผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษหรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือขับขี่รถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น และผู้ขับขี่อยู่ในภาวะหมดสติหรือได้รับอันตรายแก่กายจนไม่อาจให้ความยินยอมในการตรวจสอบหรือทดสอบการมีสารอยู่ในร่างกาย พนักงานสอบสวนมีอำนาจขอให้แพทย์ทำการตรวจพิสูจน์บุคคลดังกล่าวได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนด โดยแพทย์สามารถเก็บตัวอย่างเลือด ปัสสาวะ หรือของเสียอย่างอื่นจากร่างกายของบุคคลดังกล่าวได้ด้วยวิธีทางการแพทย์ (มาตรา 40 ทวิ/1 และมาตรา 142 วรรค 6) ซึ่งตามกฎหมายเดิม การตรวจสอบหรือทดสอบดังกล่าวจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากผู้ขับขี่เสียก่อนเท่านั้น
  •  ให้ศาลมีอำนาจเพิ่มโทษผู้ขับขี่ที่ชนแล้วหนี ซึ่งขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตายหรือได้รับอันตรายสาหัส แล้วไม่ให้การช่วยเหลือตามสมควรหรือไม่แสดงตัวต่อตำรวจ ณ สถานที่เกิดเหตุ ตามมาตรา 78 วรรคหนึ่ง โดยศาลมีอำนาจพิพากษาเพิ่มโทษที่จะลงแก่ผู้นั้นสำหรับความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตายหรือได้รับอันตรายสาหัสได้อีกกึ่งหนึ่งของโทษที่ศาลกำหนด (มาตรา 160)
  • แก้ไขอัตราโทษฐานขับรถเร็วเกินกว่ากำหนดตามมาตรา 67 วรรคหนึ่ง จากเดิมปรับไม่เกิน 1 พันบาท เป็น ปรับไม่เกิน 4 พันบาท (มาตรา 152)
  • แก้ไขอัตราโทษฐานไม่ลดความเร็วของรถ เมื่อเข้าใกล้ทางข้ามหรือทางม้าลายตามมาตรา 70 จากเดิมปรับไม่เกิน 5 ร้อยบาท เป็น ปรับไม่เกิน 2 พันบาท (มาตรา 148)
  • แก้ไขอัตราโทษฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานจราจรตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 154 จากเดิมปรับครั้งละไม่เกิน 1 พันบาท เป็น ปรับไม่เกิน 4 พันบาท
  • แก้ไขอัตราโทษฐานขับขี่รถในลักษณะกีดขวางการจราจร ขับขี่รถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน ขับขี่รถคร่อมหรือทับเส้นหรือแนวแบ่งช่องเดินรถ ขับขี่รถบนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร และขับขี่รถในขณะใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ เว้นแต่การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่โดยผู้ขับขี่ไม่ต้องถือหรือจับโทรศัพท์เคลื่อนที่ ตามมาตรา 43 (3) (4) (6) (7) และ (9) ตามลำดับ จากเดิมปรับตั้งแต่ 4 ร้อยบาท ถึง 1 พันบาท เป็นปรับไม่เกิน 4 พันบาท (มาตรา 157)
  • และในกรณีที่มีการกระทำความผิดฐานแข่งรถในทางตามมาตรา 134 และผู้กระทำผิดมีอายุต่ำกว่า 20 ปี ศาลมีอำนาจวางข้อกำหนดให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ต้องระวังผู้นั้นไม่ให้กระทำความผิดฐานแข่งรถในทางซ้ำอีก ตลอดเวลาที่ศาลกำหนด ซึ่งต้องไม่เกิน 3 ปีและกำหนดจำนวนเงินตามที่เห็นสมควรซึ่งบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง จะต้องชำระต่อศาลไม่เกินครั้งละ 5 หมื่นบาท หากผู้นั้นกระทำความผิดฐานแข่งรถในทางซ้ำอีก (มาตรา 160 เบญจ)
Go to top