แพทย์แผนไทย โคราช รักษาโรค SLE ไขความลับวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคพุ่มพวง ( SLE)
รถตู้ให้เช่า ร้อยเอ็ด
หมอเอ ณัฐปราชญ์ คลินิก
นครราชสีมา ได้มีสุนัขเกิดโรคระบาดชนิดพิษสุนัขบ้า ซึ่งโรคนี้เป็นโรคระบาดชนิดร้ายแรงอาจติดต่อสู่คน สุนัข แมว หนู หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น ๆได้
              ฉะนั้นจึงประกาศให้ทราบทั่วกันว่า ในเขตท้องที่บริการต่อไปนี้ คือ ชุมชนหมู่บ้านประกอบพัฒนา ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา ทิศเหนือจรด ชุมชนมิตรภาพพัฒนา ทิศใต้จรด ชุมชนสืบสิริพัฒนา ทิศตะวันออกจรด ชุมชนกองพระทราย ทิศ ตะวันตกจรด ชุมชนสามแยกปัก ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา เป็นเขตโรคระบาดสัตว์ชนิดพิษสุนัขบ้า
       
       นายธำรง เทศน้อย สัตวแพทย์ปศุสัตว์อำเภอเมืองนครราชสีมา เปิดเผยว่า ได้รับแจ้งจากประชาชนในหมู่บ้านประกอบพัฒนาว่า พบสุนัขในชุมชน ไล่กัดสุนัขตัวอื่น ๆ และมีลักษณะน้ำลายฟูมปาก ดุร้าย จึงจับตัวส่งเจ้าหน้าที่เพื่อทำการตรวจพบว่าสุนัขป่วยเป็นโรคพิษสุนัขบ้า โดยสุนัขในชุมชนดังกล่าวมีจำนวนมากกว่า 800 ตัว เกรงว่าจะมีการระบาดของโรค วันนี้เจ้าหน้าที่จึงลงพื้นที่เร่งฉีดวัคซีนป้องกันโรคให้กับสัตว์ลี้ยงและจะต้องเร่งฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าให้กับสัตว์เลี้ยงในชุมชนใกล้เคียงด้วย ประชาชนบางรายมีสุนัขจำนวนมากไม่สะดวกในมาฉีดก็จะให้ยาและเข็มฉีดยากลับไปฉีดให้สุนัขหรือสัตว์เลี้ยงที่บ้านด้วย
 
       
       นายแพทย์ธีรวัฒน์ วลัยเสถียร ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 นครราชสีมา เปิดเผยว่าโรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดต่อ จากสัตว์มาสู่คนที่มีความรุนแรงมาก ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าปีละประมาณ 55,000 คน ส่วนใหญ่ ถูกสุนัขหรือแมวกัด ข่วน แล้วไม่ได้ไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันอย่างรวดเร็วและครบถ้วน กลุ่มเด็กเป็นกลุ่มที่ถูก สุนัขกัดมากที่สุด เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ส่วนใหญ่ใช้เวลาประมาณ 2-8 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะปวดเมื่อยตามตัว มีไข้ ชา เจ็บเสียวหรือปวดบริเวณรอยแผลที่ถูกกัด
 
     
       อาการของผู้ป่วยจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มได้แก่ กลุ่มแรก คือ แบบคลุ้มคลั่ง อาจมีอาการกระวนกระวาย ระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติ ประสาทหลอน อาจมีชัก หายใจหอบ หมดสติและ เสียชีวิตในที่สุด และกลุ่มที่ 2 คือ แบบอัมพาต เป็นอาการที่พบได้น้อย โดยมีอาการอัมพาตของแขน ขา พูดไม่ ชัด น้ำลายมาก มีอาการกลัวน้ำกลัวลม หลังแสดงอาการจะอยู่ได้นานกว่าแบบคลุ้มคลั่งและจะเสียชีวิตในที่สุด
       
       สำหรับโรคพิษสุนัขบ้าสามารถ ป้องกันได้ โดยเจ้าของสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว ต้องนำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีน ครั้งแรกเมื่อสัตว์เลี้ยงมีอายุ 2-4 เดือน แล้วฉีดซ้ำตามกำหนดนัดทุกปี ลดความเสี่ยงถูกสุนัขกัดหรือทำร้ายด้วยคำแนะนำ 5 ย. คือ 1. อย่าแหย่ ให้สุนัข โมโห โกรธ 2. อย่าเหยียบ หาง หัว ตัว ขา หรือ ทำให้สุนัขหรือสัตว์ต่างๆ ตกใจ 3. อย่าแยก สุนัขที่กำลังกัดกันด้วยมือเปล่า 4. อย่าหยิบ ชามข้าวหรือเคลื่อนย้ายอาหารขณะที่สุนัขกำลังกินอาหาร และ 5. อย่ายุ่ง หรือเข้า ใกล้กับสุนัขหรือสัตว์ต่างๆ นอกบ้านที่ไม่มีเจ้าของ หรือไม่ทราบประวัติ 
 
 
 
 
 
 
ขอขอบคุณ http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9580000104974
Go to top