เพราะปัญหา เป็นจุดกำเนิดของปัญญา ความทุกข์...ใครๆ ก็มี เป็นกันทั้งโลก
บทที่ 11 โดย : ไอ้หัวเป็ด โคราช
“โลกมนุษย์ “ “สังคม” มนุษย์อาศัยสังคมเป็นเครื่องอยู่ ยิ่งมากคน ยิ่งมากความ ดำรงตนอยู่ด้วยความเชื่อ และศรัทธา ในสิ่งที่ตัวเองรู้ ได้เล่าเรียนมาอย่างยากลำบาก ความมั่นใจ ถือตนเองเป็นใหญ่ ไม่ว่าด้วย ”เหตุปัจจะโย” เหตุให้เป็นไป สิ่งเหล่านี้ “พระพุทธองค์” ทรงตรัสว่า “สักกายะทิฏฐิ”คือ การยึดมั่นในสภาวะธรรมชาติ “ร่างกาย” ของตนเป็นใหญ่ เป็น “อัตตา” ตัวตน ร่างกาย รูปลักษณะ ตัวเอง หรือวิญญาณ ไม่แปลกเลยว่า ความคิดเห็นของคนเราจึงไม่เหมือนกัน ไม่ได้ไปในทิศทางเดียวกัน ตามความเป็นจริงของโลก ที่ควรจะเป็น หากแต่ปรุงแต่งไปตามเหตุ ตามปัจจัยในความต้องการของตน ติดอยู่ในวังวนของโลกธรรม 8 อันหลอกลวงมนุษย์ ให้เห็นแก่ตัว(ตกสู่ที่ต่ำ เปรียบเทียบได้ดั่งธรรมขาติของ “น้า” ย่อมไหลจากที่สูง ลงสู่ที่ต่ำเสมอ ฉันใด ก็เป็นไปฉันนั้น)
โลกธรรม 8
โลกธรรม 8หมายถึง ธรรมดาของโลก เรื่องของโลก ธรรมชาติของโลกที่ครอบงำสัตว์โลกและสัตว์โลกต้องเป็นไปตามธรรมดานี้ 8 ประการอันประกอบด้วย
โลกธรรมฝ่าย อิฏฐารมณ์ คือ พอใจของมนุษย์ เป็นที่รักเป็นที่ปรารถนา
1.ลาภ หมายความว่า ได้ผลประโยชน์ ได้มาซึ่งทรัพย์
2.ยศ หมายความว่า ได้รับฐานันดรสูงขึ้น ได้อำนาจเป็นใหญ่เป็นโต
3.สรรเสริญ คือ ได้ยิน ได้ฟัง คำสรรเสริญคำชมเชย คำยกยอ เป็นที่น่าพอใจ
4.สุข คือ ได้ความสบายกาย สบายใจ ความเบิกบาน บันเทิงใจเริงใจ
โลกธรรมฝ่าย อนิฏฐารมณ์ คือ ความไม่พอใจของมนุษย์ ไม่เป็นที่ปรารถนา
1.เสื่อมลาภ หมายความว่า เสียลาภไป ไม่อาจดำรงอยู่ได้
2.เสื่อมยศ หมายถึง ถูกลดอำนาจความเป็นใหญ่
3.นินทาว่าร้าย หมายถึง ถูกตำหนิติเตียนว่าไม่ดี ถูกติฉินนินทา หรือถูกกล่าวร้ายให้เสียหาย
4.ทุกข์ คือ ได้รับความทุกขเวทนา ทรมานกาย ทรมานใจ
แม้หากได้ลงมาเกิด บนโลกใบนี้ ทุกๆ คน ไม่ว่าจะเป็นตัวอะไรก็ตาม ย่อมจะต้องเจอกับปัญหาเพราะปัญหา เป็นจุดกำเนิดของปัญญานั้นเอง ความทุกข์...ใครๆ ก็มี เป็นกันทั้งโลก ปล่อยๆ ไปบ้างเถอะ (มีมาทุกวัน ตามไม่ทันหรอกครับผม)