วิ่งหาความหมายเล็กๆ ในธรรมดาของคนบนโลก “คนหนักหนา” ตราไดโนเสาร์
บทที่ 28 แยกไม่ออก “จริง” “เทียม” โดย ไอ้หัวเป็ด โคราช
“กิเลส 1500 ตันหาร้อยแปด” (คนอย่างหนา เผาไม่ไหม้ โดนอะไรก็ทน) หากความ ”อยาก” อยากได้ อยากมี อยากดี อยากเป็น เด่น ดัง (ความเหม่อฝัน ไปวันๆ) ในคัวบุคคล ทุกคนไม่มีแล้วไทร วิถีทางของคนบนโลกใบนี้ จะดำเนินไปเช่นไร “คน” จะได้พบกับความสุขที่แท้จริงหรือ ปัญหามากมายไร้คำตอบ การแย่งชิง เอารัดเอาเปรียบ การหาประโยชน์ใส่ตน มันจะหมดไปจาก “สังคม” หรือเปล่า
เมื่อไม่มีความ “อยาก” เป็นแรงขับเคลื่อนทางสังคม (Driven social) ให้ทำทุกสิ่ง ทุกอย่างตามความต้องการของโลก แม้ว่า “คน หุ่นเชิดทางสังคม” ทั้งหลาย จะขัดขืนชะตากรรม มันจะเป็นไปได้จริงหรือ “หากแต่ความเป็นจริง” ที่เห็นและเป็นอยู่ของโลกเราทุกวันนี้ ไม่อาจ หรือสามารถ ”เปลี่ยนแปลง” ข้อกำหนดที่มีมา ทำให้เป็นไป อย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน เพราะสิ่งเหล่านี้ ก็คือ “โลก” ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น และเป็นอยู่ มันอุบัติมาก่อนการกำเนิดชีวิตเสียอีก เป็นเช่นนี้ มีมา “ก่อนจะมีการอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้า บนโลก” (บรรทัดหนึ่งในตำรา พระองค์ทรงตรัส) ดั่งคำที่ว่า “นัตถิ ตัณหา สมานที” (ไม่มีแม่น้ำใด จะยิ่งใหญ่เสมอเท่า ความต้องการของมนุษย์) หลวงพ่อ หลวงตา หลวงน้า หลวงลุง เทศสอนเสมอๆ ในของเก่านี้ ให้เราฟัง ให้ท่านฟัง หากยังเป็นผู้วนเวียนอยู่ในพุทธศาสนา สิ่งนี้คือหลักการให้เรา ท่าน ได้เข้าใจถึงแก่นแท้ ของหัวใจศาสนา ทุกๆ ข้อความ คือถ้อยคำที่คุ้นชินเสมอๆ ถึงจะย้ำบอก ย้ำธรรมให้ฟังกันอยู่บ่อยๆ กระนั้นคนเราก็ยังพยายามทำเป็นไม่เข้าใจในของเก่าๆ เล่ากันมาบ่อยๆ “ อวิชชาชัดๆ” มัน ทั้งปิด ทั้งบัง ความเป็นจริงของโลก หรืออาจเป็นเพราะ ”ความเป็นจริงในโลกใบนี้มันโหดร้าย” เกินกว่าที่คนจะรับธรรมเก่านี้ นำไปปฏิบัติ ให้เกิดความวาง จนไปถึงความ ”ว่าง” ได้ (ของจริง เมื่อวางใกล้ของเทียม เลยเหมาเป็นของสิงเดียวกัน) มันไม่แปลกหรอก หากแต่มันคือความจริง เหมือนคำว่า “ตาดีได้ ตาร้ายเสีย” นั้นละครับ