แพทย์แผนไทย โคราช รักษาโรค SLE ไขความลับวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคพุ่มพวง ( SLE)
รถตู้ให้เช่า ร้อยเอ็ด
หมอเอ ณัฐปราชญ์ คลินิก

? ทำไมคนออกลูกถึงต้องอยู่ไฟ และทำไม (หมา) ออกลูกถึงไม่อยู่ไฟ

บทที่ 30 ฝากระลึกถึงด้วย โดย : ไอ้หัวเป็ด โคราช

13 เมษายน นี้ วันผู้สูงอายุแห่งชาติไทย

T267

“นอนสะหล่าหลับตาแม่สิกล่อม   

นอนตื่นแล้วจั่งค่อยกินนม โอ่....

แม่ไปไห่หมกไขไก่มาหา          

แม่ไปนาหมกไข่ปลามาป้อน”

“วลี สำนึก” แห่งความรักของผู้เป็น “แม่” ฝากรัก และความห่วงใย ทั้งหมดที่มีต่อลูก ผ่านบทเพลง

“กล่อมเด็ก” วิถี และภูมิปัญญา “คนอีสาน”

ด้วยเหตุจะใดลือ ผมจึงหยิบยกเรื่องสะกิดสำนึกขนาดเรียกน้ำตา ก็แค่หวังว่า 13 เมษายน วันผู้สูงอายุ ฝากบอกคุณๆ ทั้งหลาย ซึ่งเป็นผู้ห่างไกลความอบอุ่นของแม่ (อย่างผม) ผู้คนที่เข้าไปทำงานในเมืองใหญ่ ไกลบ้านเกิด ลงหลักปักฐานในถิ่นอื่น คนหลงลืมผู้สูงวัยที่รักเรา ไว้ที่บ้านเก่า “หากมีโอกาสละก็ หากสะดวกแล้วละก็” กลับเถอะครับ กลับไปหาคนที่ห่วงคุณสุดชีวิต (แม่แท้ๆ มีได้คนเดียว) ความไม่แน่นอนของชีวิตคนเรา ไม่อาจคาดเดาได้ว่าวันนี้ พรุ่งนี้ จะเป็นเช่นไร มีของฝาก ติดไม้ติดมือบ้าง (ตามฐานะ ตามปัญญาที่พอทำได้) เป็นของที่ท่านชอบ สามารถใช้ หรือกินได้ไม่ลำบากนักไปฝาก แค่เพียงท่านเห็นหน้าลูกแค่นั้น คงเพียงพอแล้ว ของฝากอาจเป็นแค่ส่วนประกอบของ ”กตัญญู” เท่านั้นเอง

เมื่อได้กลับ ขอท่านทั้งหลายจงโชคดี คุณมารดา บิดา คุ้มครอง (ฝากแทนผมด้วยครับ)

เช้าของวันนี้ ที่ร้านกาแฟ (ลุงหนวด) อยู่ๆ แกก็ถามผมขึ้นมาว่า “ทำไมคนออกลูกถึงต้องอยู่ไฟ และทำไม (หมา) ออกลูกถึงไม่อยู่ไฟ” ผมฟังแล้วขำๆ ในใจ อมยิ้มเล็กๆ พร้อมกับตอบแก่ไป โดยไม่ได้คิดอะไรมาก “หากว่า (หมา) มันอยู่ไฟเป็น มันก็คงมาขายของแข่งกับเราแล้วละลุง” ลุงหนวดเงียบ เดินจากไป เข้าใจหรือเปล่า (ก็ไม่รู้)

“การอยู่ไฟ” หรือ การอยู่กรรม ย่อนกลับสู่อดีต ไปดูให้รู้ซึ้งถึงความลำบาก ของความเป็น “แม่คน” ก่อนหน้าคุณแม่ยุค 2000 อัพ คุณย่าทวด ยายทวด ได้นำภูมิปัญญา ที่ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ ปากต่อปาก

แบ่งลักษณะการอยู่ไฟเป็น 2 แบบ คือ

  1. ไฟข้าง (ก่อไฟอยู่ข้างตัวบริเวณท้อง)
  2. ไฟแคร่ (คุณแม่นอนบนไม้กระดาน ส่วนเตาไฟอยู่ใต้แคร่ มีแผ่นสังกะสีรองทับอีกที เหมือนการปิ้งย่างในตะแกรง บนเตาไฟ) ส่วนใหญ่แล้ว จะใช้แบบแรกมากกว่า โดยจะมีสามี หรือญาติ คอยดูเรื่องฟืนไฟให้ เพราะคุณแม่จะต้องอยู่ในเรือนไฟ 7 – 15 วัน หลังจากคลอด และห้ามออกจากเรือนไฟเด็ดขาด เพราะจะทำให้ตัวคุณแม่ปรับอุณหภูมิของร่างกายไม่ทัน ทำให้เกิดการเจ็บป่วย และไม่สบายได้
    คุณแม่ที่มีลูกคนแรกอาจจะต้องอยู่กรรมมากถึง 15 วัน ถ้าไม่ใช่ท้องแรกก็อาจจะแค่ 7 – 8 วันก็พอ
    ของกินของแม่ลูกอ่อนขณะอยู่ไฟ ห้ามกินของสแลง กินข้าวกับเกลือ ที่คนโบราณเชื่อว่า จะไปทดแทนเกลือที่ร่างกายต้องเสียไปทางเหงื่อที่ไหลออกมาระหว่างการอยู่ไฟ หากกินอาหารผิดอาจถึงชีวิตได้ คุณแม่หลังคลอดทุกคน จะต้องเข้าเรือนไฟ ที่สร้างเป็นกระท่อมหลังคาจาก โดยเข้าไปนอนผิงไฟ พร้อมกับลูกน้อยที่จะเอาใส่กระด้ง ร่วมอยู่ไฟกับคุณแม่ บนกระดานไม้แผ่นเดียว ทุกๆ วัน จะอาบน้ำร้อน ดื่มเฉพาะน้ำอุ่น

“การอยู่ไฟ” ตัวช่วยฟื้นสุขภาพ
‘การอยู่ไฟ’ เป็นความคิดที่ชาญฉลาดของคนโบราณ เป็นกระบวนการดูแลหญิงหลังคลอด เพื่อให้ร่างกายฟื้นจากความเหนื่อยอ่อนให้กลับคืนสภาพปกติได้เร็วที่สุด โดยใช้ความร้อนเข้าช่วย ทำให้กล้ามเนื้อเส้นเอ็นบริเวณหลัง และขา ที่เกิดจากการกดทับขณะตั้งครรภ์ คลายตัว ลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามตัวในภายหลังได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ การอยู่ไฟ ยังช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี ทำให้อาการหนาวสะท้าน ที่เกิดจากการเสียเลือด และน้ำหลังคลอด มีอาการดีขึ้น ช่วยปรับสมดุลร่างกายในตัวคุณแม่ให้เข้าที่ และที่สำคัญ ช่วยให้มดลูกที่ขยายตัว หดตัว หรือเข้าอู่ได้เร็ว พร้อมกับช่วยให้ปากมดลูกปิดได้ดี ป้องกันการติดเชื้อในโพรงมดลูกหลังคลอด ทำให้น้ำคาวปลาแห้งเร็ว ลดการไหลย้อนกลับ จนนำไปสู่ภาวะเป็นพิษได้

หญิงหลังคลอดสมัยนั้น จะต้องอยู่ไฟกันทุกคน เพราะเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของคนโบราณ โดยจะมีสามีเป็นคนจัดเตรียมที่นอนสำหรับการอยู่ไฟให้ ไม่ว่าจะดูแลเรื่องฟืนไฟ ที่จะต้องไม่ร้อนเกินไป โดยฟืนที่ใช้ จะต้องมาจากไม้แห้ง เช่น ไม้มะขาม เพราะไม่ทำให้ฟืนแตก และไม่ควรนำฟืนเปียกมาก่อไฟ เพราะจะทำให้เกิดกลิ่นเหม็น

LOGO Duck Head

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ มีประโยชน์ รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม

(อีสานร้อยแปดดอทคอม) เว็บไซต์เพื่อคนอีสาน แหล่งข้อมูล รวบรวมสาระความรู้ ศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาของชาวอีสาน

Go to top