ยืนแหงนหน้าจ้องมอง แว่นดำไม่ต้อง ตื่นเต้นจังเลย บังใกล้หมดแล้ว “กิเลสกาม วัตถุกาม”
บทที่ 36 โดย : ไอ้หัวเป็ด โคราช
พุทธพาณิชย์ “คุณค่าของคำนิยามนี้ถูกเปล่า “ดอกไม้ หรือเป็นเพียงเชื้อรา” เบื้องหลังความอับชื้นเพาะบ่มเชื้อคือ ”ใคร” และใครได้ผลประโยชน์ ใครเสียอะไร
สังคมทุกวันนี้ “ปุถุชนคนบ้าน คนเมือง” เร้าร้อน เร่งรีบไปกับสภาวะเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตสังคม มนุษย์ในสมัย ไม่อาจโตขึ้นเองด้วยรากแก้วของปัญญา หากชีวิตจะดำเนินไปในประเทศนี้ ต้องอาศัยการสร้างขอบข่ายของชีวิต แบบ “รากฝอย รากแขนง” จึงจะพอดำเนินชีวิตอยู่ได้ (ถึงจะไม่เต็มภาคภูมิ) เกิดเป็นเด็กยุคใหม่ของสังคมบ้านเรา (สำเร็จ หรือล้มเหลว) ขึ้นอยู่ว่าใครเป็นผู้ปลูก ใครดูแล เติบโตรอดมา อาจได้พบกับคำว่า “ความภูมิใจ” คงเป็นเพียงแค่ “ไม้แคะในกระถาง” การปลูกที่ไม่อาจคาดเดาการเจริญเติบโต “ทั้งๆ รู้เต็มอกว่า เป็นไปได้แค่ไหน
ยุคสมัยนี้เจริญงอกงามได้ ก็เพียงไม้ประดับ ”หากขาดผู้ดูแลรักษาก็หมดหวังที่จะยืดตัวให้ตรง ชูกิ่งก้านใบในสังคม พอที่จะเป็นความหวังของใครได้ ด้วยการดำเนินชีวิตไปในความสุ่มเสี่ยง และแรงผลักดันของความผันผวนทางสังคม เศรษฐกิจ จารีต ประเพณี และวัฒนธรรมการดำรงอยู่ วิถีปฏิบัติ เหตุเพียงเพื่อให้ได้ในสิ่งที่หวัง “สำเร็จแห่งชีวิต” แรงศรัทธาแบบไม่เห็นผลสักที ไม่เกิดขึ้นทันใจ ทันหู ทันตา ไม่สามารถสร้างความเปลี่ยนให้สุขสบาย คนๆ หนึ่งแม้ศึกษาวิชามามากมาย เกินกว่าคนหลายๆ คน ควรจะได้รับ ถึงกระนั้นก็ยังไม่สามารถสร้างความสำเร็จให้เป็นรูปธรรม ได้ดั่งใจทุกคน หากความหวังยังอยู่คู่กับความอยากไม่รู้จบ มนุษย์ทุกคนจำต้องดิ้นรนกันต่อไป
“ความกลัว” ขาดความเชื่อมั่น ขาดสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ไม่อาจเผชิญความจริงอันโหดร้ายของความเจริญ “ช่องทางหากิน” ของกลุ่มคนอ้างศรัทธา หากินในความอ่อนแอในใจคน จับถูกจุดของความไม่รู้ สร้างภาพ “อัศจรรย์“ ให้เกิดขึ้นในสังคม สร้างคำลวงใน “ปาฏิหาริย์” เพียงเพื่อเพิ่มคุณค่าในวัตถุที่ตนถือครอง ของคนกลุ่มเดียวให้ได้ความสุขสบาย
“ความเสื่อมทางจิตใจ” สนองตัณหาเพิ่มคุณค่าวัตถุนิยม ยุยง ปลุกปั่น ให้คนหลงงมงาย “เสี้ยมกิเลส” ของพระสงฆ์ จนหลงลืมคำสั่งสอน ของแก่นแท้พระพุทธศาสนา สนับสนุนในตัณหา อ้าง ”กุศโลบาย” ของคนโบราณ ขายโง่คำโตให้คนศรัทธาหลงเชื่อ
“ปล่อยพระ” ให้หลงเหมือนๆ กัน หวังจะสร้างสิ่งยิ่งใหญ่ หลงตามโลกเสียหมด “สั่งสม ไม่สะสาง” อุปกิเลสน้อยใหญ่ของตน มั่วสุมไปกับฆราวาส เสื่อมในจิตศรัทธาตั้งแต่เริ่ม ความมืดแห่งอวิชชา ”จิตรมาร” มัวหมองเกาะกินใจ (เก่งจังๆ เรื่องปริยัติธรรม)
เดินสายศรัทธา จัดประกวด อ้างหารายได้เพื่อความจงรักษ์ เพียงเศษกระดาษเชิดชูคุณค่า หนังสือเล่มหนาแสดงตัวตน ในความเป็นหลวงปู่ หลวงตา ครูบา อาจารย์ สร้างค่านิยม “แท้ เทียม” ให้เกิดในจิตใจ แบ่งถูกผิดเป็นตัวเป็นตน สร้างตำหนิให้คนได้มีเวลามานั่งติเตียนจดจำไม่รู้ถูกจริงหรือผิดจำ พูดกันจนเกินจริงๆ คิดเป็นราคา เพิ่มคุณค่านิยมในมือตน อ้างรุ่นยุคสมัย แยกธาตุ มวลสารศักดิ์สิทธิ์ เพียงเพื่อซื้อขาย สรรหา สะสมกัน ไม่รู้นัยยะคุณค่าที่แท้จริงของวัตถุธาตุนั้น งมงายในสื่อ ข่าวสารความศรัทธา “ปาฏิหาริย์” ความไม่เที่ยงแท้แน่นอนไม่สำนึก “สิ่งที่พระพุทธองค์ท่านทรงสั่งสอน” ก็เลยพากันเอาคำสอนไปสร้างกันใหม่จนเสื่อม ของแท้ฉันข้าว ปฏิบัติจริงๆ อยู่วัดวา ป่าไพร ไม่รู้จัก พากันนั่งคอเอียง ทำตาโปน ตาเหลือกถลน เลือกกูถูก มึงผิด คิดเพียงสนนราคา มากน้อยสักเท่าไร กำไรหรือขาดทุน ให้คุณค่าวัตถุในมือพวกของตนปล่อยได้ราคา พากันยกตนสูงเทียบ “เซียน” เป็นกูรู รู้จริงไปทุกเรื่อง เกินหน้านักโบราณคดี ที่เขาศึกษาโดยตรง พูดกันสมจริงมีอ้างอิงประวัติศาสตร์ “ ชงเอง กินเอง”
จะสร้างสะสมทำไมวัตถุ “ใหญ่ๆ โตๆ หากมันไม่ใช่บุญแท้” นี้ซิแน่ของจริงไม่ต้องส่องก็เห็น “สร้างคน ส่งเสริมคน มอบโอกาสให้ผู้ใฝ่ดีให้มีโอกาสได้ทำความดี เพื่อคนอื่นต่อไป” พระสงฆ์ปฏิบัติดี ถึงฤทธิ์ไม่มี เป็น “สุปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ” พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ไปหาส่องไปหาสะสมเอาบุญแท้ กันที่วัดขาดแคลน อุปัฏฐาก อุปถัมภ์ ตามสมควรเป็นการส่งเสริมผู้ดำรงศาสนาไว้ ไม่ดีกว่าหรือ (อย่าเอาความอยากไปมอมเมาพระ) มันไม่ใช่เจตนาของศาสดาที่อยากให้เป็นนะครับ (พุทธศาสนา ไม่ใช่เทวะนิยมในอดีตกาลของไทย) ให้คิดกันดูให้ดี ผู้คิดจะเปลี่ยนทางชีวิต ลงสนามประลองกับเขา เพียงหัวละ 300 นั่งลุ้นกันจนเยี่ยวเหนียว รอรับกระดาษแผ่นเดียว จริงๆ นะ (จะว่าแท้ก็ใจตัวเองเท่านั้น)