บทที่ 40 ห่วงใยลูกหลานไทย ด้วยไม่มีเหมือนกัน โดย : ไอ้หัวเป็ด โคราช
ผิดหรือถูก สังคมอินเทรนด์ แฟชั่นเด็กติดเกมส์ ความต้องการใช้ระบบสื่อสารสาธารณูปโภค “โทรศัพท์มือถือ” ถึงเวลาสมควรหรือยัง ที่ใครจะเข้ามารับผิดชอบในความสะดวกสบายที่ใฝ่หากันอย่างคุ้นชิน ขบวนการแห่งวิถีคนเมืองใหญ่ สังคมออนไลน์ที่เกิดขึ้น ดั่งไฟลามทุ่ง จากเมืองสู่ชนบท เหมือนเห็ดราในฤดูฝน แทบจะทุกครัวเรือน ตั้งแต่ระดับเศรษฐี ถึงผู้หาเช้ากินค่ำ เทคโนโลยีอันทันสมัย ฟังชั่นการใช้งานแปลกใหม่ มีมากมายในระบบปฏิบัติการของโทรศัพท์มือถือ รวมไปถึงรูปลักษณ์อันสวยแปลกตา เป็นการออกแบบขึ้นเพื่อการแข่งขันทางธุรกิจ
เครื่องมือสื่อสาร “โทรศัพท์มือถือ” กับระบบเครือข่ายออนไลน์ไร้พรมแดน ของโลกไซน์เบอร์ ระบบ (อินเตอร์เน็ต) ไร้สาย ธุรกิจที่ขยายตัวสูงที่สุดของโลกในขณะนี้ การมุ่งเน้นให้ถึงกลุ่มเป้าหมาย เบนเข็มทิศทางไปยังกลุ่ม “เยาวชน” ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (ไม่มีรายได้) เป็นหลักใหญ่ ทุกค่ายทุกสังกัด มุ่งเน้นการนำเสนอภาพลักษณ์ของแฟชั่นมือถือที่เกินความจำเป็น ให้สังคมเยาวชนไทย การสร้างภาพของเทคโนโลยีอันทันสมัย กับLifestyleบนเส้นทางการใช้ชีวิตอันไร้ขอบเขตทางสังคมวัยรุ่นต่างประเทศ ทุ่มทุนโฆษณามหาศาล ทั้งในยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลี จีน แม้แต่ไทยเราเอง การนำเสนอ “ไลฟ์สไตล์”ของวัยรุ่นผ่าน presenter เด็กสาวๆ เด็กหนุ่มๆ น่าตาน่ารัก มีสไตล์การใช้ชีวิตอิสระ ไร้ขอบเขต ดูหรูหราหน้าชวนมอง สนนราคา หรือก็พอหามาครอบครองกันได้ ดูเหมือนว่าการจะมีมือถือซักเครื่องให้ได้ในยุคสมัยนี้ มันง่ายนิดเดียว ต่างกับเมื่อก่อนริบลับ แม้แต่ “เด็กอนุบาล” ยังมีมือถือใช้กันแล้ว เก่งกว่าผู้ใหญ่ (กะโหลก กะลา) อย่างเราๆ เสียอีก
ตาข่ายยักษ์แห่งกลไกลธุรกิจ ในกลุ่ม “เกมส์ออนไลน์” และอินเตอร์เน็ตบนมือถือ สังคมเด็กวัยรุ่น รวมไปถึงเด็กเล็กอนุบาล ติดตาข่ายกลยุทธการตลาดที่ครอบคลุมของผู้ผลิต การวางระบบการตลาดแบบเครือข่าย “อวนตาถี่” ลากเก็บปลาเล็ก ปลาน้อย ไม่ให้หนีรอด แน่นอนจริงๆ ยอมรับว่าเก่ง ฉลาดหากิน มันเป็นแค่เกมส์ธุรกิจ ของผู้ประกอบการขาย เพื่อเพิ่มอัตตาการผลิตสินค้าให้ได้จำนวนมาก ก่อนจะมีรุ่นใหม่ๆ ปล่อยออกมาสู่ตลาด จึงเร่งสร้างความน่าสนใจไปยังโปรแกรม “เกมส์“ หรือการปรับแต่งรูปลักษณ์ของตัวผลิตภัณฑ์ ให้มีความพิเศษน่าสนใจ เพื่อเพิ่มยอดขาย และขยายจำนวนกลุ่มเป้าหมายผู้เสพ หากยังไม่อาจสำนึกถึงผลกระทบของ “การกระทำ” ด้วยการอ้างถึงเหตุผลทางธุรกิจ ภาพลักษณ์ และเสถียรภาพขององค์กรผู้ประกอบการ รวมไปถึง รายรับ รายจ่าย อัตตาจ้างงาน ต้นทุนการผลิตอันมหาศาล(สรุป นี้คือความรับผิดชอบต่อสังคมหรือ) เป็นเพียงคำถามให้คิด
ความเสื่อมของจริยธรรมในเด็ก ผิดที่ใครกันแน่ การที่เด็กจดจ่อกับการเล่นเกมส์ จนไม่สนใจคำตักเตือนของผู้ปกครอง ไม่สนใจในหน้าที่รับผิดชอบในขอบเขตของตน รวมไปถึง “ผลการเรียนตกต่ำ” ถึงแม้ว่า “พ่อ แม่” คอยอธิบายถึงความสำคัญของหน้าที่รับผิดชอบภายในบ้าน รวมไปถึงการแบ่งเวลาให้กับการศึกษาเล่าเรียน ตักเตือนว่ากล่าวในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ในความเป็นลูก ที่สมควรทำ อยู่เสมอๆ ยังไม่สามารถห้าม หรือหยุดยั้ง “บุตรหลาน”แค่คำว่า “วางมือสักครู่“ จากการเล่นเกมส์ในมือถือได้ สาเหตุมาจากความต่อเนื่องของเกมส์ ทำให้เด็กเกิดความอยากเอาชนะ จนไม่อาจวางมือจากเครื่องเล่นโทรศัพท์มือถือ
หากนี้เป็นความผิดของผู้ผลิตเครื่องมือสื่อสารขึ้นมา “การกล่าวว่าเขาฝ่ายเดียว” ก็เห็นว่า ไม่สมควรนัก จะว่าไปแล้วเทคโนโลยีมันก็เหมือนดาบสองคม ให้คุณ และโทษ (ในความคิดผมนะ) ใช้ให้ถูกวิธี ถูกคุณลักษณะ แนะนำวิธีการแบ่งกำหนดเวลา ให้เด็กใช้เรียนรู้ในสิ่งที่เสริมปัญญา เพิ่มทักษะการเรียน ก็สามารถทำให้เกิดคุณประโยชน์อนันต์
เรื่องทั้งหมด ทั้งมวลนี้ มันก็ขึ้นอยู่ที่ “ผู้ปกครอง” ควรจะสอนบุตรหลานอย่างไร ปลูกฝังอุปนิสัยของเด็กไปในทิศทางใด อย่าลืมว่าผู้ผลิตเขาไม่ได้บังคับให้เราซื้อ หรือหน่วยงานภาครัฐออกกฎหมายว่าทุกครัวเรือนจำเป็นต้องมีนะครับ ด้วยความจำเป็นของเราเอง การให้ความสำคัญในความสะดวก สบาย มากเกินความจำเป็น เมื่อเกิดปัญหา หรือผลกระทบเกิดขึ้น ผู้ปกครอง ควรหาทางแก้ปัญหาด้วยตนเองอย่างมีสติ ทำความเข้าใจในเหตุ บอกผลที่จะเกิดขึ้นเป็นไป ทั้งในแง่ดี และร้ายต่อบุตรหลาน อย่าเพิ่งตีโพยตีพาย โมโหร้ายขว้างปาข้าวของให้เกิดความเสียหาย “ประชดลูก” ไม่ถูกต้องนะครับ โทษโน้นนั้นนี้ คงเป็นเรื่องไม่สมควร ปัญหาทั้งมวลอยู่ที่ตัวผู้ปกครอง กับเด็ก เครื่องมือสื่อสารเป็นเพียงส่วนประกอบ เป็นเครื่องมือใช้สอย เหมือนปากกา ยางลบ เพียงแต่เครื่องมือที่ทันสมัยเดี๋ยวนี้ มักแฝงความบันเทิงมากับเครื่องด้วย ใจเย็นๆ กันหน่อยนะครับ อย่ามองเพียงว่า ไอ้นั้นผิด ไอ้โน้นผิด อีนี่ไม่ถูก อยู่แค่เพียงภายนอก ของคนอื่นเขา มันก็เลย ทำให้มองไม่เห็นความผิดของตัวเอง กลายเป็นคนเอาแต่ได้ ไร้เหตุผลไปโดยไม่รู้ตัว (ไอ้ที่ว่า ไม่โดนกับตัวไม่รู้หรอก นะ) คิดทบทวนถึงคุ้มได้ คุ้มเสียก่อนดีไม หาข้อผิดพลาดในใจของเรา ก่อนแสดงอาการไม่พอใจแบบ “ตัวยักษ์ ตัวมาร” ให้ลูกมันสะเทือนใจเล่น เก็บภาพลักษณ์แย่ๆ ที่เห็น เอาอย่างเราบ้าง ทีนี้มันจะเป็นยังไงละครับ คุณผู้ปกครอง มันจะได้ไม่คุ้มเสียนะ