ความสมมาตร ของบทที่ 42 ของ ไอ้หัวเป็ด โคราช
การเดินทาง 360 องศา ของชีวิตเรา “มนุษย์ทุกผู้” ก็มาจากจุดเริ่มต้นเดียวกัน หมุนวน เป็นวงกลม “กลับมาสู่จุดเดิม” เมื่อเริ่มออกค้นหาความหมายในชีวิตคน “จุดสมมาตรของชีวิต” สมดุลยภาพของความงาม และพอดีแบบไร้ตะเข็บ เมื่อมันเกิดการย้อนกลับมาทับซ้อนของจุดพลิกผัน มันวนๆ เวียนๆ กลับมายังสิ่งที่เริ่มตั้งแต่ต้น ทำมุม 360 องศา จากต้นสู่ปลาย ที่แท้นั้นคือสิ่งเดียวกัน ด้วยไม่รู้จึงเริ่มมองหา “สมดุลของวิถีกำหนดในตน”
180 องศาแรก คือ ครึ่งชีวิตของคนเรา จุดพลิกผันต่างๆ เรื่องราวมากมายนั้นมันเริ่มขึ้นในช่วง “ปฐมบทของวัย” ตั้งค่าสมดุลของชีวิต “สตาร์ท” ปล่อยให้วิถีกำหนดวิ่งห่างออกไปจากจุด ”สมมาตร” แบบพลิกกลับคนละด้านคล้ายแสงที่กระทบวัตถุ เกิดเป็นเงาตกกระทบ ปรากฏการพลิกผันเป็นคนละด้าน ในมุม 180 องศา ขาดสมดุล อย่างเห็นได้ชัด แบ่งข้างไปกันคนละขั้ว หากมันก็คือสภาวะเดียวกัน เป็นวัตถุธาตุชนิดเดียวกัน มันแยกตัวออกมาจากสิ่งที่มีคุณลักษณะของธาตุเดิม อันเดียวกันนั้นเอง
ความกลมกลืนของ “สมมาตรชีวิต” จุดกำหนดมาตรฐานวิถีการดำเนิน เส้นแบ่งสูง ต่ำ ความสมดุลซ้าย ขวา ความหนักเบาของสีในแสง จุดพอดีของ “มัชฌิมา” อยู่ที่ใดในชีวิตคน มนุษย์เราส่วนใหญ่วิ่งตามเขาไปด้วยกันทั้งนั้น เรียกสิ่งที่มีคุณลักษณะใกล้เคียงกันเข้ากลุ่ม “ว่าพวก” มองหาสิ่งที่เห็นในทิศทางเดียวกัน พยายามสร้างค่าคุณลักษณะของรูปลักษณ์สวยงามภายนอก เพียงเพื่อตนเกิดความพึงพอใจใน “มายาคติ” กำหนด “รูปธรรม” ในความ “สมดุล” ภายนอกเรียก “สมมาตร”
สมมาตรภายใน “สมมาตรแห่งนามธรรม” สมดุลยภาพในใจมนุษย์ ความงามที่เกิดขึ้นจากจุดสมดุลแห่งชีวิต พรึงสัมผัสได้ด้วยความรู้สึกภายในจิต “ผัสสะ” คือจุดเริ่มของการกระทบจากภายนอกของประสาทสัมผัส ตา หู จมูก ลิ้น ร่างกาย นั้นคือเส้นแบ่ง หรือเครื่องวัดมาตรฐานชอง “สมมาตร” ในบุถุชนทั่วไป ตัวรับรู้ในผัสสะภายใน คือ “จิตผู้รู้” สมดุลยภาพของจิต ไร้รูปลักษณ์ ไร้ขอบเขต และนามที่ปรากฏ หาได้มีชื่อเรียก หากแต่รับรู้ในดุลยภาพของความงามในจิตที่มองไม่เห็น จำเป็นต้องอาศัย “ผัสสะ” จากภายนอกเป็นเหตุก่อน เกิดผล “เหตุปัจจะโย” เหตุนั้นจึงเกิดวิญญาณ เชื่อมต่อการรับรู้ เป็น “ปฏิปฏิ” ทบทวน วนกลับ เฉพาะที่ควรพิจารณาซ้ำไป ซ้ำมา
180 องศา ของครึ่งชีวิตที่เหลือ ก่อนชีวิตจะดำเนินมาจรด 360 องศา วนกลับมายังจุดเริ่มของสมมาตรกำเนิด “ทักษะเฉพาะ” สำหรับส่วนที่หายไป ใน 180 องศา ครึ่งแรกของชีวิต มันคือประสบการณ์ เกิดชำนาญขึ้น ในสิ่งผิดพลาด หรือสิ่งถูกต้อง สมดุลยภาพของสังคม ความงามที่สมบูรณ์แบบ ที่ไม่มากไป น้อยไป ไม่เกินสามารถ เพียงเพื่อการยอมรับในสิ่งอาศัยกันของสังคม ชีวิตเยอะไป ในสิ่งที่ต้องรับผิดชอบ การผูกมัดกับค่านิยม ปฏิสัมพันธ์ในวงสังคม ความกระทบ “ผิดหวัง สมหวัง” แปลความหมาย ปรุงแต่งจิตให้รับรู้สิ่งต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาเป็น “สุข ทุกข์”
การขาด “สมมาตรแห่งชีวิต” ช่วงสุดท้าย ก่อนเส้นแบ่งสมดุลจะพาดทับกัน วนๆ มาครบวง 360 องศา ความพอดีต้องเปะไม่ขาดไม่เกิด ในรอยเก่าที่จากไป จึงจะเกิดความสมบูรณ์แบบของ “สมมาตร” สมดุลภายนอก สมมาตรภายใน ชีวิตคนมีใครสักคนไหมสร้างความเป็น “สมมาตรของชีวิต” ให้ดำเนินไปอย่างสมบูรณ์แบบอย่างที่ควรจะเป็นได้ ชีวิตที่สมบูรณ์แบบทุกอย่าง ความลงตัวของสภาวธรรม “เกิดขึ้น เป็นอยู่” หาได้มีในโลกใบนี้ เพราะชีวิต มันเต็มไปด้วยวิบาก ขึ้นๆ ลงๆ ไม่ได้ราบเรียบแบ่งซ้าย ขวา บน ล้าง อย่างสมดุลย์ หากแต่ความเป็นจริงคนเราไม่สามารถกำหนดจุดสมมาตรให้กับตัวเองได้ เหตุด้วยความพอดีของตน “มัชฌิมา เหตุปัจจะโย” จุดศูนย์กลางแห่งสมดุลความพอของมนุษย์ (อริยะทั้งหลายเริ่มจากจุดนี้) ฉะนั้นความพอในปุถุชนนั้น ยากจะหาองศาที่พอดีได้ เมื่อถึงปัจฉิม 360 องศา ของสมมาตรสุดท้ายมาถึง กำหนดค่าของเส้นแบ่งความสมมาตร เมื่อวนกลับมา อาจกลับมาไม่ทาบทับพอดีกับรอยตะเข็บเดิมของจุดเริ่มก็เป็นธรรมดา ของคน