ย่างเข้าเดือนหก ฝนก็ตกพรำ พรำ “กบ” มันก็ร้องงึมงำ ระงมไปทั่วท้องนา
(ของชีวิตสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ชนิดหนึ่ง) อยู่คู่คนหน้าบานมาช้านาน สัตว์เพื่อชีวิตตัวจริง(ไม่ต้องพิสูจน์ หรอกครับ)
เมื่อถึงตอนก่อนฟ้าหม่น ลมแล้งโรยยามแลง ลมโชยกลิ่นอ่อน หอมดอกผัก “แขยง” ยามฟ้าแลงค่ำลงมา
บทที่ 47 กลับอีสาน หอมกลิ่นแกงกบ โดย ไอ้หัวเป็ด โคราช
ในยุคสมัยที่คนต้องเผชิญกับมลภาวะ และสารพิษปนเปื้อนในธรรมชาติ ยังพอหากินกันได้อยู่ กับพืชผักสมุนไพรไทยพื้นบ้าน พืชชนิดกลิ่นหอมฉุน มีฤทธิ์ร้อนแรง (เผ็ดร้อน) ของผัก “แขยง”
ว่าด้วยวิชาภูมิปัญญาชาวบ้าน ถิ่นอีสาน บ้านของเฮา คนยึดมั่นในความเป็นตนอย่างหนา “ฮัก” เป็นแฮงสืบทอดวิถีชีวิตตามแนวคิดบรรพชน “อดีตคนหน้าเหลี่ยม ”เถลิงในความสนุกได้แม้นใน ”ทุกข์” ขณะ และคิดหนักกับปัญหาที่ไม่เพียงพอ และไม่พอใจกับอะไรสักอย่างที่ตนไม่ได้เหมือนเขา ต้องมีเปรียบในทุกๆ เรื่องของความไม่เท่าเทียม ทุกการปฏิบัติ เมื่อมีเหตุให้รวมตัว (มันเพื่อชีวิตในสายเลือด) ความเกี่ยวเนื่อง ของ “กบ กับ ผักแขยง” สิ่งที่เข้ากั๊น เข้ากัน ดั่ง “ผี กับ โลง” ในคุณลักษณะพิเศษของสัตว์ และพืช ที่สามารถหักล้างปมด้อยของกันและกัน ช่วยเติมเต็มให้กันได้อย่างลงตัว(ดับคาวของกบ ด้วยความหอมฉุน และเผ็ดร้อนของผักแขยง)
ชื่อสมุนไพร | ผักแขยง |
ชื่ออื่นๆ | กะออม กะแยง (ตะวันออกเฉียงเหนือ) กะแยงแดง(อุบลราชธานี) ผักพา(เหนือ) |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Limnophila geoffrayi Bonati. |
ชื่อวงศ์ | Scorphulariaceae |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ล้มลุกฤดูเดียว สูง 10-35 เซนติเมตร ลำต้นเรียวยาว ตั้งตรง กลมกลวง อวบน้ำ มีขนหนาแน่น ทั้งต้นมีกลิ่นหอมฉุน เผ็ดร้อน ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ทุกข้อ ตลอดลำต้น รูปขอบขนานแกมใบหอก รูปขอบขนานหรือรูปไข่แกมวงรี กว้าง 3-10 มิลลิเมตร ยาว 1-3 เซนติเมตร ขอบใบหยักมนแกมฟันเลื่อย ปลายใบแหลม โคนใบห่อติดลำต้น ไม่มีก้านใบ ดอกช่อ กระจะออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง ออกพร้อมกันทั้งต้น ดอกย่อย 2-10 ดอก ดอกเป็นรูปหลอดเล็กๆคล้ายถ้วย รูปกรวย ยาว 0.5 นิ้ว ปลายบานเล็กน้อย แยกออกเป็น 4 กลีบ กลีบดอกสีม่วง ผิวด้านนอกเรียบ ผิวด้านในตอนล่างของกลีบดอกมีขน ผลแห้งแตกได้ รูปกระสวย เมล็ดรูปร่างกลม รี สีน้ำตาลดำ ขนาดเล็กมาก ชอบขึ้นบริเวณที่มีน้ำขังเล็กน้อย เป็นวัชพืชในนาข้าว ชาวอีสานใช้ใส่ในแกงต้มปลา อ่อมต่างๆ มีกลิ่นหอม ช่วยดับกลิ่นคาว
สรรพคุณ
ตำรายาพื้นบ้านอีสานใช้ได้ ทั้งต้นเป็นยาขับน้ำนม ขับลม และเป็นยาระบายท้องน้ำคั้นจากต้นใช้แก้ไข้(นำต้นสด 15-30 กรัม มาต้มน้ำกิน) แก้คัน ฝี และกลาก แก้อาการบวม เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้พิษงู ให้นำต้นสดประมาณ 15 กรัม ตำให้ละเอียด ผสมกับต้นฟ้าทะลายโจรสด 30 กรัมนำไปผสมกับน้ำส้มปริมาณพอควร คั้นแล้วทานน้ำส่วนกากพอกรอบๆแผลอย่าพอกบนแผลทั้งต้นแห้งที่เก็บไว้นาน 1 ปี ต้มน้ำดื่ม แก้พิษเบื่อเมา