ไวพจน์ นิยามกับคำว่า “น้ำ” (มั่วตั้ว ถั่วเขียว) เริ่มแล้วละ
50 บท ของฝากคนชอบเขียน ถึง “น้ำ” โดย ไอ้หัวเป็ด โคราช
ข้าพเจ้าจะขอหยิบยืมความรู้ ของครู “ภาษาไทย” ย้อนรอยกลับไปเล่าเรียนกันใหม่ ย้อนวัยไปพร้อมกัน นะครับ มาเรียนรู้คำในภาษาไทย (คำไวพจน์) ศัพท์ที่นำไปใช้เรียก หมายความ ของคำว่า “น้ำ” เปิดกรุปัญญา ภาษา (โคตรเหง้า) บรรพชน สรรพนามเรียก อันมากมายจริงๆ จดจำได้แค่ไหน ก็แค่นั้น นำไปใช้ได้อย่างลงตัว ไม่ผิดจุดประสงค์ของความหมาย ให้ใคร “ติเตียน” ใน “นัยยะ” ของคำ
คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน ซึ่งมีมากหลากหลายคำ บางครั้ง คำไวพจน์ก็มีชื่อเรียกไปตามความเข้าใจว่าเป็น “การหลากคำ” บ้าง “คำพ้องความหมาย” บ้าง “คำพ้องความ” อันนี้ต้องไปหาศึกษากับ ครูข้างบ้านเอาเอง (มันจะยืดไป) ไม่ใช่ “สไตล์” การนำเสนอของผู้เขียน (หยิบหย่งสไตล์)
คำไวพจน์ที่ใช้เรียก “น้ำ” ลองอ่านกันดูนะ ประมาณนี้
กระสินธุ (โบ; กลอน) น. แม่น้ำ เช่น กระแสกระสินธุสงสาร. (อุเทน). กุนที [กุนนะที] น. แม่น้ำน้อย ๆ, แม่น้ำเล็ก ๆ, เช่น แตกเป็นนิเทศกุนที น้อย ๆ. (ม. ร่ายยาว กุมาร). (ป. กุนฺนที; ส. กุนที, กุ = น้อย + นที = แม่น้ำ). กษีรารณพ [กะสีราระนบ] น. ทะเลน้ำนม. (ส. กฺษีร + อรฺณว) กาสาร [-สาน] (แบบ) น. สระ, บ่อ, ทะเลสาบ. (ส.) เกษียร [กะเสียน] (แบบ) น. น้ำนม. (ส. กฺษีร; ป. ขีร).เกษียรสมุทร น. ทะเลน้ำนม, ที่ประทับของพระนารายณ์. (ส. กฺษีร + สมุทฺร) เกียน น. อ่าว, ทะเล, เช่น เกาะเกียน. (ข.) คลอง [คฺลอง] น. ทางนํ้าหรือลํานํ้าที่เกิดขึ้นเองหรือขุดเชื่อมกับแม่นํ้าหรือ ทะเล; ทาง, แนว, เช่น คลองธรรม. แคว [แคฺว] น. ลํานํ้าที่ไหลมารวมกับลํานํ้าอีกสายหนึ่งซึ่งมีขนาดใหญ่ พอ ๆ กัน เช่น แควน้อย แควใหญ่; แม่น้ำหรือลำธารสายเล็กที่ไหล ลงสู่แม่น้ำหรือลำธารสายใหญ่ เช่น แควป่าสัก. ฉทึง [ฉะ-] น. แม่น้ำ เช่น ฉทึงธารคีรีเหวผา. (ดุษฎีสังเวย), ใช้ว่า จทึง ชทึง ชรทึง สทิง สทึง หรือ สรทึง ก็มี. (ข. สฺทึง ว่า คลอง). ชร ๒ [ชอน] น. น้ำ เช่น ชรเซาะเขาเราตกแต่ง. (คําฤษดี), ชรธารา. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). ชล, ชล [ชน, ชนละ] น. นํ้า. (ป., ส.) ชลธาร น. ลํานํ้า, ลําคลอง, ร่องนํ้า, ห้วย, ทะเลสาบ. ชลธารก น. สายนํ้า, กระแสนํ้า. ชลธิศ น. ชลธี, ทะเล ชลธี น. ทะเล. (ป.) ชลสถาน น. บ่อ, สระ. (ส.) ชลัมพุ (แบบ) น. นํ้า เช่น และไขชลัมพุธารา. (อภิไธยโพธิบาทว์). (ป. ชล + อมฺพุ) ชลาธาร น. บ่อ, สระ. (ส.) ชลาลัย น. ทะเล, แม่นํ้า. (ป., ส. ชล + อาลย = ที่อยู่ของนํ้า) ชลาศัย น. บ่อ, สระ, ทะเล; ปลา. (ส.; ป. ชลาสย) ชลาสินธุ์ น. ทะเล, แม่น้ำ, เช่น ข้าเป็นไรแทรกขนสุบรรณบิน เร็วรีบยิ่งมหาวายุ พัดกวักกวัดปีกข้ามชลาสินธุ์. (กากี), น้ำ เช่น พระเหลือบเล็งชลาสินธุ์ ในวารินทะเลวน ก็เห็นรูป อสุรกล ซึ่งกลายแกล้งเป็นสีดา. (พากย์นางลอย). ทะเลหลวง น. ทะเลใหญ่, มหาสมุทร, ทะเลหรือมหาสมุทรที่อยู่นอกน่านนํ้า อาณาเขตของประเทศที่เป็นเจ้าของ. นที [นะ] (แบบ) น. แม่นํ้า. (ป.). นทีรัย น. กระแสนํ้า. (ส.) นีร [นีระ] (แบบ) น. นํ้า. (ป., ส.) ธาร ๒ [ทาน] น. นํ้า, ลําธาร, ห้วย, หยาดนํ้า, ท่อนํ้า. (ตัดมาจาก ธารา) ธารา ๑ น. สายนํ้า, ลําธาร, ห้วย, หยาดนํ้า, ท่อนํ้า. (ป., ส.) มหาสมุทร น. ทะเลใหญ่. (ส.; ป. มหาสมุทฺท) มโหฆะ น. ห้วงนํ้าใหญ่, ทะเลใหญ่; นํ้ามาก, นํ้าท่วมมาก. (ส., ป. มหา + โอฆ) มหรณพ, มหรรณพ, มหารณพ [มะหอระนบ, มะหันนบ, มะหาระนบ] น. ทะเลใหญ่, ห้วงนํ้าใหญ่. (ส. มหรฺณว; ป. มหณฺณว). รัตนากร น. คลังเงินทอง; ทะเล. (ส.) รหัท น. ห้วงนํ้า, บ่อนํ้า, หนอง, ทะเล. (ป. รหท; ส. หฺรท). ละหาร น. ห้วงน้ำ. (เทียบมลายู ว่า lahar) วาริ, วารี, วาริช, วารีช, วาริท, วาริธร น. นํ้า. (ป., ส.). สทิง [สะ] น. แม่น้ำ, ใช้ว่า จทึง ฉทึง ชทึง ชรทึง สทึง หรือ สรทึง ก็มี. (ข. สฺทึง ว่า คลอง). สินธุ์ (กลอน) น. ลำน้ำ, แม่น้ำ, สายน้ำ, น้ำ, ทะเล, มหาสมุทร, เช่น เหาะข้ามสินธุ์ไปยังขุนยุคุนธร. (สมบัติอัมรินทร์), ใช้ ว่า สินธุ หรือ สินธู ก็มี. สินธู (กลอน) น. ลำน้ำ, แม่น้ำ, สายน้ำ, น้ำ, ทะเล, มหาสมุทร, เช่น มังกรเกี่ยวเลี้ยวล่องท้องสินธู เป็นคู่คู่เคียงมาในวารี. (อภัย), ใช้ว่า สินธุ หรือ สินธุ์ ก็มี. สมุทร ๑, สมุทร [สะหฺมุด, สะหฺมุดทฺระ] น. ทะเลลึก; เรียกทะเลขนาดใหญ่ ซึ่งมี แผ่นดินโอบล้อมเป็นตอน ๆ ว่า มหาสมุทร เช่น มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรแปซิฟิก. (ส.; ป. สมุทฺท). อัณณพ น. อรรณพ, ห้วงนํ้า, ทะเล, มหาสมุทร. (ป. อณฺณว; ส. อรฺณว). อรรณพ [อันนบ] น. ห้วงนํ้า, ทะเล, มหาสมุทร. (ส. อรฺณว; ป. อณฺณว) อมฤตรส [อะมะรึดตะ] น. น้ำทิพย์; พระธรรม (ในพระพุทธศาสนา). อำมฤต [มะริด, มะรึด] น. น้ำทิพย์ เรียกว่า น้ำอำมฤต; เครื่องทิพย์; แผลงมาจาก อมฤต. (ส. อมฺฤต; ป. อมต). อัฏฐบาน [บาน] น. น้ำที่คั้นจากผลไม้ มี ๘ อย่าง คือ น้ำมะม่วงน้ำชมพู่ หรือน้ำหว้า น้ำกล้วยมีเม็ด น้ำกล้วยไม่มีเม็ด น้ำมะซาง น้ำ ลูกจันทน์หรือน้ำองุ่น น้ำเหง้าอุบล น้ำมะปรางหรือน้ำลิ้นจี่, เขียนว่า อัฐบาน ก็มี. อุท [อุทะ] น. นํ้า. (ป., ส.). อุทบาน [บาน] น. บ่อนํ้า, สระน้ำ. (ป., ส. อุท + ปาน) อุทพินทุ์ [พิน] น. หยาดนํ้า. (ป., ส. อุท + พินฺทุ). อุทก, อุทก [อุทกกะ, อุทก] น. นํ้า. (ป., ส.) อุทกธาร, อุทกธารา น. สายนํ้า, ท่อนํ้า. (ป., ส.) อาปะ, อาโป น. นํ้า, เมื่อใช้เป็นส่วนหน้าของสมาสมักใช้ว่า อาโป เช่น อาโปกสิณ อาโปธาตุ.
มันมากมายกับคำใช้เรียก “น้ำ” หยิบไปใช้ในเรื่องใด ก็เลือกให้ตรงกับความหมายที่เราจะถ่ายทอด ให้ตรงอารมณ์งาน คำต่างๆ มันจะไหลไปได้ ดั่งความหมายของ “สายน้ำ”