บทที่ 51 “พวกเรา” ดับไฟลามทุ่งกัน หากวันนี้มีเพียงผู้อาวุโส จะแน่ใจหรือ อะไรจะเกิด (ในครั้งต่อไป)
รับรู้ได้ถึงความ "เมินเฉย" เหมือนรอใคร ก่อนพวกเขาเหล่านั้นจะคิดได้ว่า “ปัญหาเร่งด่วน” คืออะไรในความร้อน และร้ายของไฟ
โดย ไอ้หัวเป็ด โคราช
วอนหน่วยงานรัฐจัดตั้ง ผู้ทำหน้าที่ดูแลทุกข์ของคนใน “ชุมชน” ผู้รับผิดชอบ เข้ามาสนใจกับปัญหา “การเผาพื้นที่นา ในเขตปลูกสร้างบ้านเรือนของชุมชน” ให้จริงจังกันหน่อย ให้สมกับนโยบาย ชูป้ายปณิธาน “บรรเทาทุกข์คนในชุมชน” ที่เกินกว่าร้อยเมตร รอบๆ บ้าน “ญาติ พี่น้องตน”
ทุกวันนี้ คนท้องถิ่น เริ่มหันมาใช้ “นิสัย ศิวิไลซ์” ทดแทนความมีน้ำใจต่อคนด้วยกัน ไม่ค่อยสำเหนียกตัวเองในเรื่องความเดือดร้อนผู้อื่น สิ่งใดไกลตัวไม่ใช่เรื่องของตน เราไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่ต้องนึกถึงว่าการกระทำด้วยเหตุ “เผอเรอ” หรือมักง่าย ด้วยไม่คาดคิดว่าใครเขาจะเดือดร้อน ยึดในหลักการ “กูก็ทำแบบนี้ของกู” มานานแล้ว ไม่เห็นว่าใครจะเป็นอะไร (ใช่ครับ) เมื่อก่อน คุณอาจอาศัยอยู่เพียงครัวเรือนเดียว เดี๋ยวนี้ชุมชนขยายตัว สิ่งปลูกสร้างอาคาร บ้านเรือน เพิ่มมากขึ้น
อสังหาริมทรัพย์ อันเป็นหยาดเหงื่อแรงกาย สั่งสม เก็บงำมาทั้งชีวิตของแต่ละคน กว่าจะมีปัญญา เพียงพอในกำลังทรัพย์ “เพื่อที่ดินสักผืน” บนผืนแผ่นดินไทย ที่ซื้อหามาได้ด้วยความสามารถ และความชอบทำ ของๆ ใคร ใครก็รัก ห่วงแหน ไม่อยากให้เกิดความเสียหาย ในภาวะเศรษฐกิจในยุคที่คนได้ยาก ลำบาก กับผลกระทบของธรรมชาติ อันไม่เอื้อต่อการทำการเกษตร ก็พอที่จะเข้าใจว่าใครประสบทุกข์ ได้ยาก จำเป็นจริงๆ หรือกับความต้องทำการ “เผานา” ในช่วงหน้าแล้งอย่างนี้ด้วย
กว่าที่ใคร เขา แม้แต่พวกคุณทั้งหลาย ให้ลองสำเหนียกคิดดูให้ดีๆ ว่าใน “ชีวิตของคนๆ หนึ่งพึงจะมี” ที่ทำกิน ไม่ง่ายนะครับ ไม่เหมือนคนพื้นที่อย่างพวกคุณ “มีจนเคย” กับสิ่งที่บรรพบุรุษทิ้งไว้ให้ สิ่งใดไม่ได้ดั่งใจ ไม่เห็นสมควร คุณต้องคิดให้ดีก่อนทำการอันเป็นโทษ มีสำนึกกันบ้าง วันนี้คุณอาจหนีความผิดได้ แต่ความทุกข์ที่ใจ มันตามเล่นคุณแน่ๆ ลองถามหลวงพ่อ ที่วัดแถวบ้านดูก็ได้ ถ้ายังไม่เชื่อผม (พวกผู้ใหญ่ในชุมชน มีโอกาสได้แม้นซักครั้งได้อ่านบทความนี้ หรือใครที่พึงได้อ่าน ขอความกรุณา พูดต่อๆ กันไป สักวันอาจถึงหูผู้รับผิดชอบ (หากพวกเราคนโคราช ผู้มีจิตอาสา) ให้ผู้ใหญ่ได้สำเหนียกถึงปัญหา และตันหาชองลูกบ้านตัว ว่ามันจะแนะนำ หรือสั่งสอนให้คนในชุมชนสามารถหยุดเผานา ได้หรือไม่ในปัญญาผู้นำ เพียงช่วยกันระวัง เรื่อง ฟืนไฟ ในหน้าแล้ง พวกคุณท่านทั้งหลาย อย่ามัวแต่นอนเกาไข่กันอยู่ภายในมุ้ง ออกมาดู ออกมาแล ให้เห็นปัญหา แก้กันจริงๆ จังๆ ให้ตรงจุด รถดับเพลิงมีไว้ทำเท่ เปิดไซเรนเสียงลั่น ไฟฉุกเฉินแวววับระราญตา ไม่ใช่ความหมายของไฟปีใหม่ หรือใช้ในเทศกาลรื่นเริงนะครับ ทำเพียงเสียงดัง ข่มขู่ถนนเล่นเพียงเท่านั้น มองให้ออก คบปัญหาให้ถูก คิดเองไม่ได้ กับปัญหาจุดไหนสมควรจะดำเนินการก่อนหลัง มองให้ถึงเหตุหน่อยครับ (คิดไม่ได้) ก็น่าจะถามชาวบ้านผู้ที่เขาเดือดร้อน หรือไม่พวกคุณทั้งคณะ ควรตั้งงบประมาณเฉพาะกิจขึ้นมา แล้วพากันไปลงทะเบียน เรียนการดับเพลิง ผจญไฟ เพิ่มเติมกันใหม่ ที่ (ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย ที่เขาเปิดฝึกอบรม) เอามันไปกันทั้งทีมเลยก็ดีนะ ผมว่า เผื่ออะไรๆ จะดีขึ้น อย่างน้อยก็จิตสำนึกรับผิดชอบต่อหน้าที่ และคนด้วยกัน (ถ้าชาวบ้านเขาทำกันได้ดี ไม่เกิดความเสี่ยง) คงไม่คิดพึ่งพาพวกคุณหรอก