เทมเป้ (Tempae) คืออะไร เทมเป้ดียังไง เทมเป้รสชาติเป็นอย่างไร เทมเป้เอาไปทำเมนูอะไรได้บ้าง มีเทมเป้แบบไหนบ้าง
เทมเป้คืออะไร
เทมเป้/ เตมเป/ tempeh/ tempe คือ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองหมักกับเชื้อราสายพันธุ์ 𝘙𝘩𝘪𝘻𝘰𝘱𝘶𝘴 𝘰𝘭𝘪𝘨𝘰𝘴𝘱𝘰𝘳𝘶𝘴 ซึ่งมีต้นกำเนิดจากประเทศอินโดนีเซียและเป็นแหล่งโปรตีนจากพืชที่ถือว่าเป็น Whole Food มากที่สุด
ให้นึกภาพง่ายๆ ว่าเทมเป้มีลักษณะคล้ายเต้าหู้ แต่เต้าหู้นั้นทำมาจากน้ำนมถั่วเหลือง คือเอาถั่วเหลืองไปต้มและคั้นเป็นน้ำออกมาก่อนนำไปขึ้นรูปให้เป็นก้อนเต้าหู้ แต่เทมเป้นั้นทำมาจากถั่วเหลืองทั้งเมล็ดนำไปต้มและบ่มหมักกับเชื้อราที่ช่วยย่อยโปรตีนในถั่ว เกิดเป็นเส้นใยสีขาวถักทอหุ้มรอบถั่วแต่ละเม็ดให้เกาะตัวกันจนเป็นก้อนเทมเป้
เทมเป้ดียังไง
เทมเป้ถือว่าเป็นการทานอาหารจากพืชเต็มส่วน (Whole Food & Plant-based) โดยการทานเทมเป้นั้นถือว่าเป็นการทานถั่วเพื่อให้ได้รับ สารอาหารสูงสุด โทษต่ำสุด และได้ประโยชน์ต่อสุขภาพอื่นๆ นอกเหนือจากสารอาหารหลักที่ได้ (Functional Food)
เทมเป้นั้นทำมาจากการนำถั่วเหลืองไปหมักกับรา 𝘙𝘩𝘪𝘻𝘰𝘱𝘶𝘴 𝘰𝘭𝘪𝘨𝘰𝘴𝘱𝘰𝘳𝘶𝘴 ที่เป็นมิตร โดยราตัวนี้จะผลิตเอนไซม์หลายชนิดที่มีคุณสมบัติช่วยย่อยโปรตีนทำให้ง่ายต่อการดูดซึม ช่วยย่อยคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยยากจึงช่วยลดอาการท้องอืด และช่วยย่อยกรดไฟติก (phytic acid) ซึ่งเป็นสารที่ขัดขวางการดูดซึมแคลเซียม สังกะสี และเหล็กเข้าสู่ร่างกาย
นอกจากนี้กระบวนการผลิตเทมเป้ขั้นตอนอื่นยังช่วยลดปริมาณสารต้านโภชนาการหรือ anti-nutritional factors อีกหลายชนิดอีกด้วย
เทมเป้ คืออะไร ?
– เทมเป้นั้นทำมาจากถั่วเหลืองทั้งเมล็ดนำไปต้มและบ่มหมักกับเชื้อรา 𝘙𝘩𝘪𝘻𝘰𝘱𝘶𝘴 𝘰𝘭𝘪𝘨𝘰𝘴𝘱𝘰𝘳𝘶𝘴 ที่ช่วยย่อยโปรตีนในถั่ว เกิดเป็นเส้นใยสีขาวถักทอหุ้มรอบถั่วแต่ละเม็ดให้เกาะตัวกันจนเป็นก้อนเทมเป้ 💓
#เลกูมี่เทมเป้ ได้ใช้ประสบการณ์และความชำนาญในการทำเทมเป้ถั่วต่างๆ ออกมามากถึง 11 แบบ เพื่อให้ประโยชน์และวิตามินจากถั่วที่หลากหลาย รสชาติและเนื้อสัมผัสที่ไม่จำเจ
– ข้อดีหลักๆ ของเทมเป้ 🌱
✔ โปรตีนสูง เทมเป้ถั่วเหลืองให้โปรตีนสูงเทียบเท่ากับอกไก่ในปริมาณที่เท่ากัน และเป็นโปรตีนที่ผ่านการย่อยจากกระบวนการทำเทมเป้แล้ว ทำให้กลายเป็นโปรตีนสายสั้น ร่างกายสามารถดูดซึมนำไปใช้ได้ทันที
✔ คาร์บต่ำ และเป็นคาร์บที่มีเส้นใยอาหารสูง ช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่ร่างกายได้ดี (กระบวนการทำเทมเป้ ทำให้เกิด Resistant Starch อย่างดีเลยค่ะ)
✔ ย่อยง่าย กระบวนการทำเทมเป้ช่วยลดทอนเซลล์ผนังของถั่วต่างๆ ทำให้ไม่เกิดอาการท้องอืด
✔ มีทั้งโพรไบโอติกส์ (เชื้อดี) และพรีไบโอติกส์ (อาหารเลี้ยงเชื้อดี) ต่อให้ทานแบบปรุงสุกก็ยังมีผลเสริมสร้างภูมิคุ้มกันร่างกาย
✔ มีเส้นใยอาหารสูง อิ่มท้อง ช่วยเรื่องระบบขับถ่าย
✔ จากกระบวนการหมักเทมเป้ ทำให้เกิดวิตามิน B12 ขึ้น ซึ่งมักจะเป็นสิ่งที่ผู้ทานมังสวิรัติเป็นประจำต้องทานวิตามิน B12 เสริม เพราะหาพบยากในผักผลไม้ทั่วไป
✔ มี Isoflavones ช่วยทำให้ผิวพรรณสดใส 💓
เทมเป้รสชาติเป็นอย่างไร
เทมเป้มีรสชาติจืดๆ คล้ายเต้าหู้หรือการกินถั่วต้มเป็นหลัก หากแต่เทมเป้จะผ่านกระบวนการบ่มด้วยเชื้อ 𝘙𝘩𝘪𝘻𝘰𝘱𝘶𝘴 𝘰𝘭𝘪𝘨𝘰𝘴𝘱𝘰𝘳𝘶𝘴 เป็นเวลา 1-2 คืน ผลที่ได้คือเทมเป้อาจจะมีรสชาติและกลิ่นคล้ายเห็ดเข็มทอง เทมเป้ที่บ่มไม่นานจะมีสีอ่อน มีกลิ่นและรสชาติที่อ่อนคล้ายผลไม้ที่ยังไม่สุกเต็มที่ หากเทมเป้ที่บ่มนานขึ้นจะมีสีเหลืองที่เข้มขึ้น กลิ่นและรสชาติก็จะเข้มขึ้นตามไปด้วย สามารถนำเทมเป้ไปประกอบอาหารได้ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็น ทอด ผัด สลัด แกง ของหวาน สมู้ตตี้ หรือแม้กระทั่งทานสดแนวสายคลีนเพื่อให้ได้รับโพรไบโอติกส์สูงสุด
LEGUMI TEMPEH (เลกูมี่ เทมเป้) มีวัตถุประสงค์การดำเนินงานเพื่อผลิตและจัดจำหน่ายเทมเป้ที่ครบวงจรที่สุด เข้าถึงได้ง่ายในทุกครัวเรือน อีกทั้งยังมุ่งมั่นที่จะพัฒนาและต่อยอดสินค้าเทมเป้ให้หลากหลายและมีคุณภาพที่ดี ด้วยการนำเอาเทคโนโลยีและองค์ความรู้เรื่อง FOOD SCIENCE มาประยุกต์เข้ากับภูมิปัญญาไทย อีกทั้งยังมีผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษาอีกมากมาย
ที่เลกูมี่เทมเป้ เราผลิตเทมเป้กันบนมาตรฐานโรงงาน พนักงานทุกคนมีประสบการณ์การผลิตเทมเป้มากว่าแสนก้อน ฝ่าฟันปัญหาอุปสรรคหลากหลาย จนมีความเข้าใจในขั้นตอนการผลิตที่ลึกซึ้งและสามารถผลิตเทมเป้ได้อย่างมีคุณภาพ มีการใช้อุปกรณ์ที่ทันสมัยไม่ว่าจะเป็น อุปกรณ์ที่ช่วยวัดค่าความร้อน, ความชื้น, ห้องบ่มเทมเป้ระบบปิดที่มีความสะอาดและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม, มีการใช้หม้อทอด AIR FRYER, DEHYDRATOR, และอื่นๆ อีกมากมาย เราลงทุนในอุปกรณ์การผลิตเพื่อให้ได้เทมเป้ที่ดีที่สุด และในแต่ละขั้นตอนการผลิตเราใส่ใจ ❤ ลงไปในงานกันแบบโฮมเมด เหมือนทำให้คนที่เรารักในครอบครัวได้ทาน เทมเป้ทุกก้อนของเราผ่านขั้นตอนการผลิตที่ละเอียดอ่อน เก็บบ่มในระยะเวลาที่พอเหมาะเพื่อให้ได้กลิ่น สี และรสชาติที่ดีที่สุดในแต่ละรอบการผลิต และนี่คือข้อแตกต่างระหว่าง
ขอขอบคุณบทความจาก: https://legumitempeh.com/2020/06/22/introducingtempeh/