แพทย์แผนไทย โคราช รักษาโรค SLE ไขความลับวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคพุ่มพวง ( SLE)
รถตู้ให้เช่า ร้อยเอ็ด
หมอเอ ณัฐปราชญ์ คลินิก
a  ตลอดระยะเวลา 200 กว่าปีที่ผ่านของกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีวรรณกรรม, วรรณคดี และบทพระราชนิพนธ์ที่กล่าวถึงอาหารการกินของในแต่ละยุคสมัยอยู่มากมาย

 แต่มีผลงานเพียงแค่ไม่กี่ชิ้นเท่านั้นที่เต็มไปด้วยคุณค่าและสามารถบอกเล่า เมนูอาหารคาว-หวาน, กรรมวิธีการปรุง, ความนิยมในยุคนั้นได้ดีเท่ากับบทพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 2 อย่าง "กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน", ในรัชกาลที่ 5 อย่าง "บันทึกความหิว" และ "กาพย์เห่ชมเครื่องว่าง" ในรัชกาลที่ 6

สำหรับ "กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน" บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ที่พระราชนิพนธ์ขึ้นมาโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อชมสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรม ราชินี ถึงความสามารถในการแต่งเครื่องเสวยที่ยอดเยี่ยม จนไม่สามารถหาผู้ใดมาเทียบเทียมได้ในยุคสมัยนั้น

aนอกจากจะเต็มไป ด้วยความสละสลวยสวยงาม ในแง่ของวรรณกรรมแล้ว กาพย์บทนี้ยังได้บรรยายกรรมวิธีการปรุงและเมนูอาหารชาววังในสมัยนั้น หรือเมื่อหลายร้อยปีก่อนเอาไว้อย่างมากมาย ทั้งเมนูที่ยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน ยกตัวอย่าง เช่น มัสมั่น, ยำใหญ่, ข้าวเหนียวสังขยา, ขนมบัวลอย, ขนมผิง หรือฝอยทอง เป็นต้น

และเมนูที่คนในยุคปัจจุบันไม่เคยได้ยินหรือหายไปจากโลกใบนี้แล้ว อย่าง ล่าเตียง, ลุดตี่, หรุ่ม, มัศกอด หรือเรไร เป็นต้น

ส่วน "บันทึกความหิว" ผลงานจากพระราชหัตถเลขา ฉบับที่ 42 เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรปเมื่อ พ.ศ. 2440 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)

เป็นพระ ราชหัตถเลขาที่ทรงส่งถึงสมเด็จพระบรมราชินีนาถ หรือแม่เล็ก ในขณะที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรป เพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน และบอกเล่าความคิดถึงอาหารไทยที่พระองค์ทรงโปรด

ไม่ว่าจะเป็น ปลากุเลาทรงเครื่อง, ยำไข่เค็ม, ปลากระบอกแดดเดียว, หอยหลอดผัดฉ่า, แกงผัดเนื้อ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ข้าวคลุกกะปิ" ที่รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดมากที่สุด และมักจะทรงทำเสวยด้วยพระองค์เองอยู่บ่อย ๆ ในระหว่างประพาสยุโรป
a

ด้าน "กาพย์เห่ชมเครื่องว่าง" บทพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ที่พระราชนิพนธ์เอาไว้เพื่อบอกเล่าถึงตำรับอาหารคาว-หวานในยุคนั้น และสอนให้ผู้หญิงได้เห็น

ความสำคัญของการเป็นแม่ศรีเรือน ไม่ใช่มุ่งแต่จะหาความรู้จากการเล่าเรียนเพียงอย่างเดียว

โดย อาหารคาว-หวานที่รัชกาลที่ 6 ทรงใส่ลงไปในพระราชนิพนธ์บทนี้ก็ได้แก่ ข้าวต้มเนื้อนก, ข้าวต้มเนื้อวัว, ข้าวต้มสาคู, น้ำพริกลูกมะมาด หรือระมาศ, ขนมเบื้องญวน, หมูแนมสด, เมี่ยงคำ, เมี่ยงสมอ, เมี่ยงปลาทู, ข้าวคลุกน้ำพริก หรือข้าวตังหน้าตั้ง เป็นต้น
q

จากบทพระราชนิพนธ์ เหล่านี้ นอกจากจะทำให้เราเห็นถึงความสวยงามของภาษาและผลงานที่ทรงคุณค่าแล้ว ยังทำให้เราได้รู้จักและรู้ซึ้งถึงคุณค่าของอาหารไทยที่ได้รับการสืบทอดกัน มาเป็นเวลา 200 กว่าปีของกรุงรัตนโกสินทร์

ใน งานเปิดตัวหนังสือ "ตำนานอาหารสามกษัตริย์" ที่อาคารจามจุรีสแควร์ อาจารย์วันดี ณ สงขลา ผู้อำนวยการโรงเรียนครัววันดี และอาจารย์ประจำวิทยาลัยในวังหญิง ผู้เขียนหนังสือเล่มดังกล่าว

นอกจากจะบอกเล่าถึงเรื่องราวการรวบรวม ข้อมูล ของพระมหากษัตริย์ทั้ง 3 พระองค์ เพื่อเขียนหนังสือเล่มนี้แล้ว ยังได้บอกเล่าถึงอาหารทรงโปรดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ว่า

"อาหารทรงโปรดของในหลวงก็เป็นเมนูง่าย ๆ อย่างเช่น หลนปูเค็ม, ผัดพริกขิงปลาทอดกรอบ, ผัดผักทั่วไป และอาหารประเภทผักต่าง ๆ อีกทั้งยังเสวยข้าวกล้องเป็นพระกระยาหารหลัก
w

แต่พระองค์ท่านจะไม่เสวยปลานิล เพราะทรงเป็นผู้เลี้ยงปลานิลคนแรกในประเทศไทย โดยใช้สระว่ายน้ำในพระตำหนักสวนจิตรลดาเป็นบ่อเลี้ยง"

z

ขอบคุณ ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

Go to top