แพทย์แผนไทย โคราช รักษาโรค SLE ไขความลับวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคพุ่มพวง ( SLE)
รถตู้ให้เช่า ร้อยเอ็ด
หมอเอ ณัฐปราชญ์ คลินิก

thi     ที่ตั้ง - เมืองลาซา (Lhasa) เขตปกครองตนเองทิเบต      การก่อสร้าง - ในราวศตวรรษที่ 7     อาณาเขต - 360,000 ตารางเมตร
    พระราชวังโปตะลา ตั้งอยู่ใจกลางเมืองลาซาบนเขาแดงมีความสูงกว่าระดับน้ำทะเล 3,700 เมตร คำว่า ‘โปตะลา’มาจากภาษาอินเดียโบราณหมายถึง‘ดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ของพระโพธิสัตว์’ 

   เป็นพระราขวังที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งเพราะเป็นการรวมเอา พระราชวัง และวัดหลวง มาอยู่ในที่เดียวกัน

 

th


ความยิ่งใหญ่ของพระราชวังโปตะลานี้ เกิดขึ้นได้เพราะชนชาวธิเบต
เป็นผู้ที่มีศรัทธาปสาทะในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง มีจิตใจสูง มีความอดทน
ไม่มีความทุกข์ร้อนเรื่องความยากลำบาก มีความกล้าเผชิญต่อความจริง มีความเมตตาอารี
ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ให้ถือว่าคนทุกคนที่ท่านพบเป็นเสมือนพระพุทธเจ้า
เขาคนนั้นอาจยังไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้าในปัจจุบัน แต่เพราะเขามีความเป็นพุทธะในตัวเอง
สักวันหนึ่ง เขาอาจเป็นพระพุทธเจ้าได้ การก่อสร้างสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่
จึงเกิดจากศรัทธาอันแก่กล้า นี่เอง



พระราชวังโปตะลา สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าซองซันคัมโป (Songtsan-Gampo)
กษัตริย์องค์ที่ 32 แห่งราชวงศ์ถู่ฟาน โดยมีชื่อว่า ‘พระราชวังแดง’
ต่อมาราชวงศ์ถู่ฟานล่มสลาย พระราชวังแห่งนี้จึงถูกทิ้งให้รกร้างทรุดโทรมลง
จวบจนเมื่อศตวรรษที่17 พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองขึ้นในดินแดนแห่งนี้



ใน ปีค.ศ.1642 องค์ดาไล ลามะที่ 5 ได้รวมอำนาจของศาสนจักรและอาณาจักรเข้าไว้ด้วยกัน ลาซากลับเป็นศูนย์กลางของทิเบตอีกครั้ง พระองค์ได้ทำการซ่อมแซมพระราชวังแดงแห่งนี้เสียใหม่ เพื่อใช้เป็นสถานที่ว่าราชการและที่ประทับ แล้วเปลี่ยนคำเรียกมาเป็น ‘พระราชวังโปตะลา’ นับจากนั้นมา สถานที่แห่งนี้ก็ได้กลายเป็นศูนย์รวมอำนาจทางการเมืองและศาสนาของทิเบตใน เวลาต่อมา


ดาไล ลามะ กับการปกครอง
 การปกครองในประเทศธิเบต ตั้งแต่พระมหากษัตริย์ลงมาเป็นลามะทั้งสิ้น ฐานันดรสูงสุดในธิเบต มีอยู่ ๒ ตำแหน่ง คือ ดาไล ลามะ และ ตาชิ ลามะ ดาไล ลามะ ถืออำนาจทางอาณาจักร คือเป็นพระมหากษตริย์ ส่วนตาชิ ลามะ ถืออำนาจทางศาสนาปกครองเน้นหนักทางศาสนจักร ชาวธิเบตเชื่อระบบอวตาร โดยถือกันว่า ดาไล ลามะ อวตารมาจากพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ และตาชิ ลามะ อวตารมาจากอาทิพุทธะ ดังนั้น การสรรหาบุคคลเข้ารับตำแหน่งทั้ง ๒ นี้ จึงมีวิธีการที่แปลกประหลาดมาก เมื่อดาไล ลามะ และตาชิ ลามะ สิ้นชีพลง ก็ต้องแสวงหาเด็กที่เชื่อว่าอวตารลงมา พวกเราจึงรู้กันว่า ผู้ที่รับตำแหน่ง ดาไล ลามะ ในธิเบตนั้น เป็นเด็กๆทั้งสิ้น
 วิธีการสรรหาเด็ก ก็ใช้วิธีการสืบสวนและสดับตรับฟังว่า มีเด็กคนไหนบ้างที่รู้ความลับของลามะทั้งสอง โดยมีการตรวจสอบการระลึกชาติ เช่น นำสิ่งของเครื่องใช้ของดาไล ลามะองค์ก่อน มาให้เด็กเลือก เป็นต้นว่า สมุดคัมภีร์บ้าง พวงประคำ หรือไม้เท้า นำมาปะปนกับของบุคคลอื่น ถ้าเด็กสามารถหยิบเครื่องใช้ของดาไล ลามะองค์เก่าได้ถูกต้อง ก็เลือกเด็กคนนั้น


นี่ เป็นหลักการ แต่โดยความเป็นจริงการเลือกนั้น ก็พยายามเลือกสรรหาเด็กที่มีลักษณะดี มีแววแห่งความเฉลียวฉลาดอย่างมาก เมื่อเอามาตั้งขึ้นเป็นลามะสูงสุดแล้ว ก็มีคณะผู้สำเร็จราชการแทนลามะว่าราชการ การบ้านการเมืองแทนไปก่อน จนกว่าเด็กนั้นจะบรรลุนิติภาวะ ในระหว่างนี้ คณะผู้ทำงานแทนก็จะให้การฝึกอบรมให้การศึกษาอย่างดีที่สุด แก่เด็กคนนั้น ดังนั้น เราจะเห็นได้ว่าดาไล ลามะ เป็นผู้ที่มีจรรยามารยาท มีความสง่างาม มีวิสัยทรรศน์อย่างดีมากทีเดียว ตำแหน่งสูงสุด ๒ ตำแหน่ง คือดาไล ลามะ ว่าการทางอาณาจักร และตาชิ ลามะ ว่าการทางศาสนจักรนี้ ต่อมาในภายหลังเหลือเพียงตำแหน่งเดียว คือ ดาไล ลามะ ซึ่งต้องรับผิดชอบในการปกครองทั้งอาณาจักรและศาสนจักร คือเป็นทั้งพระมหากษัตริย์และพระสังฆราชพร้อมกันไปด้วย ก็เป็นอันว่าการปกครองประเทศ ธิเบตเป็นการปกครองโดยพุทธจักรโดยแท้


พระราชวังโปตะลาเป็นหมู่สถาปัตยกรรมขนาดใหญ่โตโอฬาร สร้างขึ้นตามลักษณะของขุนเขา เป็นอาคาร 13 ชั้น สูง 117 เมตร มีลักษณะเหมือนป้อมปราการแบบทิเบต เป็นการผสมผสานศิลปะทางสถาปัตยกรรมของทิเบตและจีนโบราณ โดยได้ชื่อว่าเป็น ‘ไข่มุกราตรีแห่งหลังคาโลก"


สิ่งปลูกสร้างที่สำคัญของพระราชวังโปตะลาได้แก่ วังขาวและวังแดง (ตามสีที่ใช้) รวมถึงสิ่งปลูกสร้างบริเวณเชิงเขาในละแวกใกล้เคียง
วัง ขาว สร้างขึ้นในปี 1648 เป็นสถานที่ซึ่งองค์ดาไล ลามะ ใช้ในการดูแลบริหารบ้านเมืองและพระศาสนา เป็นอาคารสูง 7 ชั้น ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ
ส่วนวัง แดง ตั้งอยู่กึ่งกลางพระราชวังโปตะลา สิ่งปลูกสร้างหลักสร้างเสร็จในปี 1964 แบ่งออกเป็น 6 ชั้น เป็นที่ประดิษฐานองค์สถูปของดาไลลามะ และเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา


โดย รอบของพระราชวังโปตะลายังประกอบไปด้วย โรงเรียนสอนศาสนา กุฏิพระ และห้องหับต่าง ๆ ทางปีกตะวันออกและตก นอกจากนี้ ยังมีเขตเมืองเก่า เทศบาลท้องถิ่น โรงพิมพ์พระคัมภีร์ คุกคุมขัง สระน้ำและสวน เป็นต้น
จาก ช่วงกลางศตวรรษที่ 17 จนถึงก่อนหน้า ที่กองทัพแดงของจีนจะเข้ายึดครองทิเบตในปี 1959 พระราชวังโปตะลามีสถานะเป็นพระราชวังฤดูหนาวขององค์ดาไลลามะ และเป็นที่ประกอบกิจกรรมทางการเมือง การปกครอง และศาสนกิจมาโดยตลอด ถือเป็นศูนย์กลางอำนาจทั้งในทางอาณาจักรและศาสนจักรของทิเบต และยังเป็นตัวแทนชิ้นเอกของผลงานทางศิลปวัฒนธรรมและศาสนาของชนชาติทิเบตอีก ด้วย


พระราชวังโปตะลา เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ปีค.ศ. 1994
ราคาบัตรผ่านประตู
พระราชวังโปตะลา 100 หยวน
ขึ้นหลังคาทองคำ 10 หยวน
เข้าชมนิทรรศการอัญมณีและเครื่องประดับ 10 หยวน
เปิดให้เข้าชมทุกวัน 2 เวลา เช้า 9:00—12:00 น. บ่าย 15:00—17:00 น. เว้นวันเทศกาลประจำปีหรือวันที่มีกิจกรรมสำคัญ
นอกจากนี้ สระหลงหวังถัน(龙王滩) รอบวัง ยังเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ เปิดทุกวันเวลา 9:00—17:30 น.
การ เดินทางขึ้นวังโปตะลา จะเดินขึ้นเขาทางประตูหน้า หรือ นั่งรถแท็กซี่ที่ด้านหลังเขาราคาประมาณ 10 หยวน ให้ขึ้นไปส่งบนยอดเขาและเดินเท้าลงมาก็ได้
    ฤดู ร้อนเป็นช่วงท่องเที่ยวลาซาที่ดีที่สุด อากาศไม่หนาวเกินไป ในระหว่างเดือนมิถุนายน-สิงหาคม อากาศในตอนกลางวันสูงสุดเฉลี่ย 28 องศา ต่ำสุด 14 องศา แต่ในฤดูร้อนกลางวันแดดจัดมาก ควรเตรียมเครื่องป้องกันแสงแดดให้ดี และที่สำคัญ ลาซาเป็นที่สูงอากาศเบาบาง เพราะทิเบตตั้งอยู่เหนือระดับน้ำทะเลกว่า 3,500 เมตร จึงควรระวัง ไม่ว่าท่านจะเลือกเดินทางสู่เมืองลาซาด้วยเส้นทางใด เมื่อถึงเมืองลาซาแล้ว ท่านจะต้องพบกับอาการโรคแพ้ที่สูง ซึ่งลักษณะอาการที่เกิดขึ้น จะมากน้อยตามสภาพร่างกายแต่ละคน บางท่านอาจมาแสดงอาการเมื่อกลับถึงบ้านแล้ว และแม้แต่คนที่สุขภาพแข็งแรงดีก็อาจแพ้ได้ เพราะพื้นที่สูงนั้น แตกต่างจากสภาพพื้นราบที่ร่างกายเราเคยชินอย่างมาก


อาการ โดยทั่วไป คือ หายใจลำบาก เหมือนหายใจไม่ออก (เพราะออกซิเจนเบาบาง และร่างกายเราไม่เคยชิน ต่อการหายใจในสภาวะอากาศแบบนี้) จะเหนื่อยหอบง่ายแม้ไม่ได้ออกแรง หรือไม่มีเรี่ยวแรง แล้วจะปวดศีรษะอย่างรุนแรง บางท่านอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน สามารถซื้อหายาระงับอาการแก้โรคความสูง และเพิ่มออกซิเจนในสมอง ได้ตามร้านขายยาในเมืองเฉิงตูหรือในกรุงปักกิ่ง นอกจากนี้เมื่อถึงเมืองลาซาแล้ว ควรพักผ่อน 1-2 วัน ก่อนออกเที่ยวชมสถานที่ต่างๆในเมือง ให้เดินช้าๆ และอย่าออกแรงมาก เพราะร่างกายจะต้องการออกซิเจนมากขึ้น เกินไป สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจไม่แนะนำให้ไปเที่ยว ถ้าอยากไปจริงๆโปรดปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนออกเดินทาง เพราะอันตรายถึงชีวิตเลยครับ

 

 

ที่มา: http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=newyorknurse&month=19-09-2012&group=14&gblog=23

 

 

Go to top