บทสัมภาษณ์ฟังเป็นไฟล์เสียงได้เลยนะครับ มีประโยชน์มากๆ สำหรับ ผู้ที่จะซื้อประกันภัย ที่เกิดจากภัยธรรมชาติต่างๆครับ
บทสรุปเนื้อหาโดยย่อ ครับ
การประกันภัยทรัพย์สินทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น ที่อยู่อาศัย อาคาร สำนักงาน ร้านค้า โรงงาน รวมถึง ฟอนิเจอร์ สต๊อกสินค้าต่างๆ รวมทั้งเครื่องใช้ในสำนักงาน เครื่องจักร ที่ได้รับผลกระทบจาก ไฟไหม้ ฟ้าผ่า ภัยระเบิด ลมภายุ แผ่นดินไหว ภัยจากน้ำ ซึ่งการกระกันภัยนี้จะช่วยบรรเทาให้ผู้ทำประกันภัยได้ ตั้งแต่กฎหมายเรื่องการประกันภัย พ.ศ.2535 มีเบี้ยประกันภัยนี้ถูกมากและยังมีความคุ้มครองที่ครบถ้วน ถ้ามีเบี้ยประกันวงเงิน 1,000,000 บาท โดยเฉลี่ยจะต้องส่ง 1650 บาท/เดือน(โดยประมาณ)
{youtube width="550"}3CoI1LfERQ8{/youtube}
happykorat : ประกันภัยต่อบ้านเรือนและทรัพย์สินตอนนี้มีแบบไหนบ้าง?
พี่พงษ์ : การประกันภัยทรัพย์สินทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น ที่อยู่อาศัย อาคาร สำนักงาน ร้านค้า โรงงาน รวมถึง ฟอนิเจอร์ สต๊อกสินค้าต่างๆ รวมทั้งเครื่องใช้ในสำนักงาน เครื่องจักร ที่ได้รับผลกระทบจาก ไฟไหม้ ฟ้าผ่า ภัยระเบิด ลมภายุ แผ่นดินไหว ภัยจากน้ำ ซึ่งการกระกันภัยนี้จะช่วยบรรเทาให้ผู้ทำประกันภัยได้ ตั้งแต่กฎหมายเรื่องการประกันภัย พ.ศ.2535 มีเบี้ยประกันภัยนี้ถูกมากและยังมีความคุ้มครองที่ครบถ้วน ถ้ามีเบี้ยประกันวงเงิน 1,000,000 บาท โดยเฉลี่ยจะต้องส่ง 1650 บาท/เดือน(โดยประมาณ) สำหรับบ้านที่ไม่ใช้บ้านไม้มีความคุ้มครองรวมไปถึงด้านจลกรรมงัดแงะ ไฟฟ้าลัดวงจร ขโมย รวมทั้งที่พักอาศัยที่ศูนย์เสียการค้าต่างๆถือว่าเป็นเบี้ยประกันที่คุ้มค่า
การประกันภัยสามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วน
1. การประกันภัยตัวอาคาร
2. เฟอนิเจอร์และเครื่องตกแต่งที่อยู่ภายในบ้าน
3. สต๊อกสินค้า
ซึ่งการประกันภัยส่วนใหญ่ ถ้าวงเงินไม่ถึง 30,000,000 บาท จะไม่ประกันภัยน้ำท่วมหรือถ้าให้ก็จะมีวงเงินจำกัด แต่สิ่งสำคัญของการประกันภัย
ก่อนการทำประกันภัยทุกครั้งจะมีการสำรวจพื้นที่นั้นๆก่อนทุกครั้ง ว่าพื้นที่ที่จะทำประกันภัยนั้นมีพื้นที่มากน้อยเพียงใด ซึ่งจะหาได้โดยใช้พื้นที่ กว้าง ยาว โดยจากโครงสร้างของบ้านเป็นหลัก สำหรับการคำนวณหาพื้นที่ 5-6 ปีที่แล้วจะใช้สูตร กว้าง ยาว จำนวนชั้น ตารางเมตร ตารางเมตร ละ 7,000 บาทขั้นต่ำ
จนถึง 12,000 บาท ได้ผลลัพธ์เป็น “ทุนประกัน” ซึ่งจะทำประกันภัยเพียง 80 % ของทุนประกันภัย แต่ถ้าวงเงินไม่ถึง 10,000,000 บาท บริษัทประกันจะไม่เข้าไปสำรวจพื้นที่บ้านหรืออาคารนั้นๆ ในการประกันแต่ละครั้งบริษัทก็จะดูองค์ประกอบโดยรวมของเครื่องตกแต่งภายในบ้านด้วย
ส่วนทรัพย์สินที่ไม่คุ้มครอง คือ เพชรมณีต่างๆ ธนบัตร ทอง วัตถุโบราณ แต่จะมีกรมทันเฉพาะในแบบที่คุ้มครองทรัพย์สินจำพวกนี้อีกต่างหาก แต่สำหรับภาพรวมของการประกันภัยแล้วจะไม่คุ้มครอง ทรัพย์สินประเภท เพชร นิล จินดา และวัตถุโบราณต่างๆ รวมทั้ง ธนบัตร องค์พระ ด้วย อีกประการหนึ่งคือสิ่งปลูกสร้างแบบใดบ้างที่บริษัทไม่รับประกันภัย เช่น บ้านที่เป็นไม้ บริษัทประกันภัยจะปฏิเสธเป็นส่วนใหญ่ ถ้าจะรับจะต้องมีความปลอดภัยเช่น มีถังดับเพลิง มียามเฝ้า หรือมีองค์ประกอบต่างๆที่ทำให้เกิดความปลอดภัยของบ้าน
สำหรับร้านค้าที่บริษัททำประกันภัยไม่รับทำประกันเลยคือ ร้านทำพุ เชื้อเพลิง ประทัด บริษัทประกันจะไม่รับทำกันเลย
*** ซึ่งสามารถโทร.ถามเพิ่มเติมได้ที่ 1186 สายด่วนประกันภัย
บทสัมภาษณ์ ทางโทรศัพท์นี้ ขอขอบคุณพี่พงษ์มากนะครับ สำหรับความรู้ดีๆ ทางด้านการประกันภัย ..Editor