แพทย์แผนไทย โคราช รักษาโรค SLE ไขความลับวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคพุ่มพวง ( SLE)
รถตู้ให้เช่า ร้อยเอ็ด
หมอเอ ณัฐปราชญ์ คลินิก

korat_news

 

 นายสุรสีห์ แห่งศรีสุวรรณ ผู้อำนวยการโครงการเขตประกอบการอุตสาหกรรมนวนคร (นครราชสีมา) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2555 เป็นต้นมาทำให้เกิดปัญหาแรงงานบางส่วนตกงานและบริษัทปิดตัวลงรายวันนั้น ในส่วนของพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาพบว่าหลายโรงงานยังมีการขึ้นป้ายประกาศ รับสมัครพนักงานจำนวนมาก ซึ่งเสนอค่าแรงขั้นต่ำเกินกว่า 300 บาท โดยเฉพาะโรงงานภายในเขตประกอบการอุตสาหกรรมนวนคร นครราชสีมา อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา ยังคงมีความต้องการพนักงานฝ่ายผลิตมากกว่า 5,000 คน

"การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อโรงงานและสถานประกอบการภายในนวนครโคราช เนื่องจากโรงงานทั้ง 10 แห่งมีการปรับแผนรองรับและปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำให้กับพนักงานตั้งแต่ช่วง ปลายปี 2555 ที่ผ่านมาแล้ว โรงงานสามารถขยับค่าแรงได้โดยไม่มีผลกระทบ และยังคงมีการจ้างงานพนักงานกว่า 10,000 คนต่อไปได้โดยไม่มีปัญหา"

 

 


นอกจากนี้โรงงานภายในนวนครโคราชอีกหลายแห่งก็ ยังคงมีความต้องการแรงงานอีกเป็นจำนวนมาก หรืออีกประมาณ 5,000 อัตรา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานฝ่ายผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ อีกทั้งขณะนี้ยังมีโรงงานที่อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้างอีก 8 แห่ง ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณกลางปีนี้ ซึ่งมีความต้องการแรงงานอีกกว่า 10,000 อัตรา พร้อมกันนี้ยังมีโรงงานที่เซ็นสัญญาเข้ามาลงทุนในนวนครเพิ่มเติมอีก 3 แห่ง คาดว่าจะเดินหน้าก่อสร้างได้ในเร็ว ๆ นี้

นายสุรสีห์เปิดเผยอีกว่า ตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา มีแรงงานเข้ามาสมัครงานในนวนครโคราชมากผิดปกติ ส่วนใหญ่เป็นแรงงานคืนถิ่น มีภูมิลำเนาอยู่ในโคราชและจังหวัดใกล้เคียง โดยส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่าต่อไปไม่ต้องเข้าไปทำงานที่กรุงเทพฯ หรือปริมณฑลแล้ว เพราะได้รับค่าจ้างเท่ากัน แต่ค่าครองชีพที่กรุงเทพฯสูงกว่า

ดังนั้นการขึ้นค่าแรง 300 บาทจึงไม่เกิดผลกระทบต่อผู้ประกอบการโรงงานขนาดใหญ่ในจังหวัดนครราชสีมา แต่กลับเป็นผลดีที่มีแรงงานมากขึ้น ซึ่งเดิมปัญหาการขาดแคลนแรงงานเป็นปัญหาหนักที่แก้ไขกันมานาน บางแห่งต้องใช้แรงงานต่างด้าวแทน ซึ่งนวนครโคราชไม่มีนโยบายให้ใช้แรงงานต่างด้าว

ทั้งนี้โรงงานต่าง ๆ ในนวนครโคราชได้นำร่องและเตรียมตัวรับการปรับขึ้นค่าแรงไว้แล้ว โดยเฉพาะเรื่องสวัสดิการ โบนัส แรงงานมีรายได้เฉลี่ยวันละ 450-550 บาท ทุกคนได้รับค่าจ้างมากกว่า 300 บาทแน่นอน ซึ่งแต่ละโรงงานมีการแข่งขันเรื่องสวัสดิการ เบี้ยขยัน ค่ารถ และรายได้อื่น ๆ รวมทั้งโบนัสที่แต่ละโรงงานให้ 4-5 เท่า ขณะนี้ทุกโรงงานจ่ายค่าแรงใกล้เคียงกันหมด เพื่อดึงพนักงานไว้

สอด คล้องกับนายวิทยา โยธารินทร์ รองประธานชมรมบริหารแรงงานและพัฒนาอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า หลังจากมีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาท ทำให้มีแรงงานจากกรุงเทพฯ และปริมณฑลเริ่มย้ายกลับเข้ามาสมัครงานในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมามากขึ้นพอ สมควร เพราะได้รับค่าแรงไม่ต่างจากกรุงเทพฯและปริมณฑล ซึ่งจะเกิดการขาดแคลนแรงงานในส่วนกลาง เพราะแรงงานไหลออกต่างจังหวัด โรงงานส่วนกลางต้องเพิ่มสวัสดิการและจ่ายโบนัสให้พนักงาน 4-5 เดือน เพื่อดึงดูดพนักงานไว้

"สินค้ากลุ่มสมาร์ทโฟนเริ่มตีตลาดโลก ทำให้โรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์บางแห่งปิดกิจการไป เนื่องจากไม่มีการสั่งซื้อ บริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกที่ตั้งอยู่ในโคราช คำสั่งซื้อหายไปแล้วประมาณ 50% เพราะคนหันมาใช้สมาร์ทโฟน หรือไอโฟน ไอแพด มากกว่าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ"

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีการปลดพนักงานในกลุ่มโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ แต่ในจังหวัดนครราชสีมาก็ยังขาดแคลนแรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยาน ยนต์ สิ่งทอ แปรรูปเกษตรอีกมากกว่า 5,000 อัตรา

ที่มา:http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1358832463&grpid=02&catid=19&subcatid=1901

 

 
Go to top