แพทย์แผนไทย โคราช รักษาโรค SLE ไขความลับวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคพุ่มพวง ( SLE)
รถตู้ให้เช่า ร้อยเอ็ด
หมอเอ ณัฐปราชญ์ คลินิก

korat_news

 

เมื่อวันที่ 25 ก.พ. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ ต.ตะแบกบานและ ต.มาบตะโกเอน อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา ที่เริ่มทำการปักชำท่อนมันสำปะหลังลงแปลงเพาะปลูก กำลังประสบกับปัญหาภัยแล้งอย่างหนัก ท่อนมันสำปะหลังไม่เจริญเติบโตเนื่องจากพื้นดินขาดความชื้น และต้นมันกำลังจะยืนแห้งตาย  เกษตรกรส่วนหนึ่งจึงตัดสินใจลงทุนจ้างชุดขุดเจาะน้ำบาดาล เข้ามาเจาะบ่อน้ำบาดาลกลางไร่ เพื่อหวังจะดึงน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้รดแปลงมันสำปะหลัง รักษาท่อนพันธุ์ไม่ให้แห้งเหี่ยวตายจากภัยแล้งที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้น อย่างต่อเนื่อง

 {youtube width="550"}sCTm5GKouHs{/youtube}

นายสวัสดิ์ ทองศรี อายุ 35 ปี เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ต.ตะแบกบาน อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา หนึ่งในเกษตรกรที่ตัดสินใจว่าจ้างชุดขุดเจาะน้ำบาดาลมาขุดหาน้ำเพื่อใช้ใน การเพาะปลูกมันสำปะหลัง กล่าวว่า ปัจจุบันสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่อำเภอครบุรี รุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วงต้นปีที่ผ่านมามีฝนตกลงมาประมาณ 2 – 3 วัน เกษตรกรทั่วไปจึงเริ่มทำการเพาะปลูกมันสำปะหลัง  แต่หลังจากนั้นสภาพอากาศก็แห้งแล้งรวมถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน ส่งผลให้ความชื้นในดินระเหยไปอย่างรวดเร็ว มันสำปะหลังที่เริ่มลงแปลงเพาะปลูก ก็เจริญเติบโตไม่เต็มที่ และกำลังจะเหี่ยวเฉาตายจากความแห้งแล้ง จึงจำเป็นที่จะต้องจ้างชุดขุดเจาะน้ำบาดาลมาขุดหาน้ำใต้ดิน เพื่อนำมาใช้สร้างความชุ่มชื้นในดิน รักษาท่อนพันธุ์มันสำปะหลังให้เติบโตได้ต่อไป เพราะหากท่อนพันธุ์ชุดนี้ตายไปก็ต้องลงทุนหาซื้อท่อนพันธุ์ชุดใหม่และเสีย ค่าใช้จ่ายทั้งค่าไถแปร ค่าแรงงานปลูก

 korat_news

โดยในการขุดเจาะน้ำบาดาลนั้นจะต้องใช้เงินตั้งแต่ 25,000 – 35,000 บาท แล้วแต่ความยากง่ายและระดับที่จะเจาะพบน้ำของที่แต่ละแปลง รวมถึงจะต้องใช้เงินในการวางระบบท่อนน้ำอีกไม่ต่ำกว่า 20,000 บาท เพื่อกระจายน้ำให้ทั่วพื้นที่แปลงเพาะปลูก ถึงแม้ว่าจะเป็นจำนวนเงินที่สูงมาก แต่ก็จำเป็นต้องทำ เพราะรู้ดีว่าหลังจากนี้ต่อไปสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่จะรุนแรงขึ้นทุกปี ดังนั้นการมีแหล่งน้ำไว้ใช้จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำการเกษตรกรใน พื้นที่ ต.ตะแบกบานแห่งนี้ เนื่องจากเป็นพื้นที่ดอน ไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติให้ได้ใช้ และจะต้องประสบปัญหาภัยแล้งรุนแรงเป็นประจำทุกปี  โดยเกษตรกรส่วนใหญ่ในพื้นที่ ต.ตะแบกบาน และตำบลใกล้เคียงอีกประมาณ 3 – 4 ตำบล มีเกษตรกรไม่น้ำกว่า 2,000 รายที่ตัดสินใจใช้วิธีขุดเจาะน้ำบาดาลเพื่อดึงน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้ทำการ เกษตรกรแก้ไขปัญหาภัยแล้งแล้ว

 

ที่มา:http://www.dailynews.co.th/thailand/186793

 

Go to top