แพทย์แผนไทย โคราช รักษาโรค SLE ไขความลับวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคพุ่มพวง ( SLE)
รถตู้ให้เช่า ร้อยเอ็ด
หมอเอ ณัฐปราชญ์ คลินิก

วันที่ 4 ส.ค. นางปิยะฉัตร อินสว่าง รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานประชุมคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัด (ก.ช.ภ.จ.) ที่ห้องประชุมนางสาวบุญเหลือ ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา เพื่อพิจารณาประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ฝนแล้ง ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา

ขอขอบคุณข่าวจาก : https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_2761769

นางปิยะฉัตร เปิดเผยว่า จังหวัดนครราชสีมาได้ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ฝนแล้ง จำนวน 2 อำเภอ จากทั้งหมด 32 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอครบุรี จำนวน 3 ตำบล 19 หมู่บ้าน มีราษฎรได้รับความเดือดร้อน 1,020 ราย พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย 7,770 ไร่ และอำเภอพระทองคำ จำนวน 5 ตำบล 74 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 13,568 ราย

“พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย 112,087 ไร่ รวม 2 อำเภอพื้นที่การเกษตรเสียหายสิ้นเชิง 119,851 ไร่ ส่วนอำเภอที่เหลือได้สั่งการให้ทางเกษตรจังหวัดสำรวจความเสียหายเพื่อประกาศให้ความช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรต่อไป” นางปิยะฉัตร กล่าว

 

ข่าวก่อนหน้านี้:

น้ำลดต่อเนื่อง! พิษฝนทิ้งช่วงเล่นงานหนัก เขื่อนลำปลายมาศ น้ำต่ำสุดในรอบกว่า 30 ปี ด้าน หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำฯ ยังมั่นใจไม่กระทบแผนส่งน้ำ
วันที่ 1 ส.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์ฝนทิ้งช่วงยาวนาน ส่งผลให้ปริมาณน้ำภายใน เขื่อนลำปลายมาศ ต.บ้านราษฎร์ อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา ลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดปริมาณน้ำดิบในเขื่อน เหลืออยู่เพียง 26.5 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น หรือคิดเป็นร้อยละ 27 ของความจุทั้งหมดที่ 98 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริงแค่ 17.2 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 19 ของความจุกักเก็บ ซึ่งถือเป็นปริมาณน้ำต่ำสุดในรอบกว่า 30 ปี ตั้งแต่สร้างเขื่อนมา

ส่งผลให้เห็นเนินดินใต้น้ำและตอไม้โผล่ขึ้นมาให้ได้เห็นเป็นครั้งแรก ทั้งนี้ ยังจำเป็นต้องส่งน้ำทั้งระบบ เพื่อการอุปโภคบริโภค, รักษาระบบนิเวศน์, อุตสาหกรรม และการเกษตร วันละกว่า 3 แสนล้านลูกบาศก์เมตร เนื่องจากสภาพพื้นที่ในเขตชลประทานท้ายเขื่อน ทั้งในเขตอ.เสิงสาง และจ.บุรีรัมย์ กำลังประสบกับปัญหาฝนทิ้งช่วงและต้องการน้ำอย่างมาก

1 แลงเลนงาน

นายสุภัทรชัย สนหอม หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปลายมาศ กล่าวว่า ในปีนี้มีปริมาณฝนตกลงมาในพื้นที่ค่อนข้างต่ำกว่าเกณฑ์ที่คาดการณ์ไว้ ล่าสุดมีปริมาณฝนตกอยู่ที่ประมาณ 300 มิลลิเมตร จากค่าเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 1,100 มิลลิเมตรต่อปี ซึ่งช่วงหน้าแล้งปีที่ผ่านมา ทางเขื่อนต้องรับภาระการปล่อยน้ำให้กับพื้นที่เรื่อยมา ประกอบกับเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงยาวนาน ทำให้น้ำภายในเขื่อนเหลือน้ำอยู่น้อยกว่าทุก ๆ ปี หรือน้อยที่สุดตั้งแต่ที่ได้ทำการก่อสร้างเขื่อนมาตั้งแต่ปี 2529

“อย่างไรก็ตาม ยังมั่นใจว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อแผนการส่งน้ำในปีนี้ และยืนยันว่า จะมีน้ำเพียงพอให้ความช่วยเหลือประชาชนในเขตชลประทาน ทั้งการส่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศน์ การอุตสาหกรรม และการเกษตร พื้นที่กว่า 57,000 ไร่ อย่างแน่นอน เพราะการส่งน้ำขณะนี้ยังอยู่ในแผน ที่จัดเตรียมไว้แม้จะมีฝนตกลงมาน้อยกว่าที่คาดไว้ก็ตาม ส่วนฤดูกาลเพาะปลูกช่วงหน้าแล้งปีหน้า อาจจะต้องขอให้งดทำการปลูกข้าวนาปรัง เนื่องจากปริมาณน้ำจะเหลืออยู่ภายในเขื่อนน้อยกว่าทุก ๆ ปี” นายสุภัทรชัย กล่าว

Go to top