ศาลในเมืองแคลิฟอร์เนีย ประกาศคำตัดสินคดีความที่สุดแสนยืดเยื้อเป็นเวลากว่า 1 ปี ในกรณีการละเมิดสิทธิบัตรในหลายรายการ ระหว่าง 2 บริษัทยักษ์ใหญ่แห่งวงการไอที ซัมซุง และแอปเปิลแล้ว โดยศาลได้มีคำตัดสินให้แอปเปิลเป็นฝ่ายชนะคดีความดังกล่าว พร้อมกับมีคำสั่งให้ซัมซุงต้องจ่ายค่าเสียหายเป็นเงินถึง 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
โดยคดีความนี้เกิดขึ้นเมื่อ แอปเปิล ได้ยื่นคำร้องต่อศาลว่า ซัมซุง ผู้ผลิตอุปกรณ์จำพวกสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตจากเกาหลีใต้ ได้มีการละเมิดสิทธิบัตรในการออกแบบของแอปเปิลไปเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น อินเตอร์เฟส, การออกแบบตัวเครื่อง, รูปไอคอน รวมไปถึงฟังก์ชันในการขยายข้อความ เช่น pinch-to-zoom, tap-to-zoom เป็นต้น ซึ่งรุ่นที่มีปัญหามากที่สุดคือสมาร์ทโฟนเรือธงของซัมซุง อย่าง Galaxy S, Galaxy S II และ Galaxy Tabจากนั้นซัมซุงก็ไม่ได้ อยู่นิ่งเฉย หลังจากที่ถูกแอปเปิลฟ้องเป็นหางว่าว ยักษ์ใหญ่จากแดนกิมจิ จึงได้ทำเรื่องฟ้องกลับว่า แอปเปิลก็ละเมิดสิทธิบัตรของซัมซุงในด้านการใช้งานเครือข่ายเช่นกัน
{youtube width="350" height="250"}2PELNiXE6UU{/youtube}
ล่า สุดจากคำตัดสินของศาลที่ออกมาในวันนี้ (24 สิงหาคม) ตามเวลาท้องถิ่นในสหรัฐอเมริกา ตัดสินว่า ซัมซุงได้ละเมิดสิทธิบัตรของแอปเปิล ด้านฟังก์ชัน pinch-to-zoom, tap-to-zoom จริง รวมถึงศาลยังได้กล่าวอีกว่า การที่ซัมซุงละเมิดสิทธิบัตรของแอปเปิลในครั้งนั้น ส่งผลต่อยอดขายไอโฟน (iPhone) อีกด้วย อย่างไรก็ตามในกรณีของ Galaxy Tab ที่แอปเปิลได้ยื่นต่อศาลว่า ลอกเลียน iPad นั้น ศาลเห็นว่า Galaxy Tab ไม่ได้ลอกเลียนการออกแบบของ iPad แต่อย่างใด
ทั้ง นี้มูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้น ซัมซุงต้องจ่ายเงินให้แก่แอปเปิล เป็นจำนวนเงิน 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนประเด็นในการฟ้องกลับของซัมซุงว่าแอปเปิลได้ละเมิดสิทธิบัตรการใช้งาน เครือข่าย ศาลได้ตัดสินว่า แอปเปิลเป็นฝ่ายรอดพ้นทุกข้อกล่าวหา
แอนดรอยด์เดือดร้อน
เสียงวิจารณ์ที่มีต่อชัยชนะของแอปเปิลนั้นถูกสะท้อนออกมาหลากหลายมุมมองหนึ่งในมุมที่น่าสนใจคือความเชื่อว่าผลของคดีนี้จะสร้างผลกระทบในระยะยาวกับอุตสาหกรรมอุปกรณ์แอนดรอยด์ (Android)
แอ นดรอยด์นั้นเป็นระบบปฏิบัติการที่กูเกิลพัฒนาขึ้นเพื่อให้ผู้ผลิตรายอื่นนำ ไปติดตั้งในสินค้าของตัวเอง การเชือดซัมซุงให้โลกเห็นนั้นจะทำให้มาตรฐานการออกแบบสินค้าแอนดรอยด์นับจาก นี้เปลี่ยนแปลงไป ท่ามกลางข้อจำกัดในการพัฒนาสินค้าที่จะต้องระมัดระวังมากขึ้น เพื่อเลี่ยงข้อหาลอกเลียนแบบสินค้าที่ซัมซุงเพิ่งพ่ายแพ้คดี
เรื่องนี้เป็นไปตามความเห็นของซัมซุง ซึ่งมองว่าคำสั่งศาลจะเป็นผลเสียต่อผู้บริโภคอเมริกันแน่นอน เพราะผู้บริโภคจะมีตัวเลือกในการซื้อสินค้าที่จำกัด แถมการตัดสินครั้งนี้ยังทำให้แอปเปิลสามารถเป็นเจ้าของอการออกแบบ"สี่ เหลี่ยมผืนผ้ามุมโค้ง"ได้ รวมถึงเทคโนโลยีที่ซัมซุงและผู้ผลิตรายอื่นมีการพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่องใน ปัจจุบัน
นอกจากนี้ การตัดสินคดีครั้งนี้ยังถูกวิจารณ์ว่าเกิดขึ้นในเวลาที่สั้นเกินไป การใช้เวลา 3 วันเพื่อพิจารณาคำถามกว่า 700 คำถามที่ถูกตั้งเพื่อตรวจสอบอุปกรณ์หลายรุ่นและคุณสมบัติมากมายนั้นอาจเป็น เวลาที่เร็วเกินไปที่จะสรุปว่าซัมซุงละเมิด 6 สิทธิบัตรของแอปเปิล จาก 7 สิทธิบัตรที่แอปเปิลร้องเรียน
ส่วนหนึ่งของ 6 สิทธิบัตรที่ซัมซุงถูกศาลสหรัฐตัดสินว่าละเมิดนั้นได้แก่ คุณสมบัติ Bounce-back เอฟเฟ็กต์ที่ผู้ใช้ไอโฟนและไอแพดจะได้เห็นเมื่อเลื่อนหน้าจอจนสุดปลายรายการบนหน้าจอ, Multi-touch เทคโนโลยีที่ผู้ใช้จะสามารถสัมผัสหน้าจอหลายจุดได้พร้อมกัน, Pinch-to-Zoom ท่าจีบถ่างนิ้วที่ผู้ใช้มักทำเพื่อขยายภาพ รวมถึงคุณสมบัติแตะเพื่อขยายหรือ Tap-to-Zoom
นัก วิเคราะห์มองผลการตัดสินครั้งนี้ว่า ชัยชนะที่ชัดเจนของแอปเปิลจากคดีนี้มีเพียงในแง่การเงิน และมูลค่าเงินค่าปรับจะเป็นสิ่งย้ำเตือนให้ผู้ผลิตรายอื่นระวังตัวในการผลิต สินค้าให้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม คำตัดสินของคดีนี้สามารถเพิ่มคุณค่าสิทธิบัตรที่บริษัทยักษ์ใหญ่รายอื่นถือ อยู่ เช่น ไมโครซอฟท์ และริม (Research In Motion) ผู้ผลิตอุปกรณ์แบล็กเบอรี่
คดียังไม่จบ
สำหรับ ค่าปรับที่ซัมซุงได้รับคำสั่งจากศาลมูลค่า 1.05 พันล้านเหรียญนั้นเป็นค่าปรับที่ลดลงครึ่งหนึ่งจาก 2.5 พันล้านเหรียญที่แอปเปิลเรียกร้องไป จุดนี้ไม่ได้เป็นเครื่องการันตีว่าเงินค่าปรับจะเป็นรายได้ของแอปเปิล เนื่องจากยังมีคดีความอีกมากที่ซัมซุงยังลุ้นว่าจะได้ชัยชนะบ้าง
ความคืบหน้าในขณะนี้คือศาลเกาหลีใต้ตัดสินให้ซัมซุงเป็นฝ่ายได้เปรียบ โดยระบุว่าแอปเปิลละเมิด 2 สิทธิบัตรของซัมซุงขณะที่ซัมซุงละเมิดเพียงสิทธิบัตรเดียว อย่างไรก็ตาม คำตัดสินของศาลเกาหลีใต้สร้างผลกระทบน้อยมากกับทั้ง 2 บริษัท โดยออกคำสั่งระงับการจำหน่ายสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตพีซีเพียงไม่กี่รุ่นที่มี ปัญหา ซึ่งสินค้าเหล่านี้วางจำหน่ายไม่แพร่หลายในแดนกิมจิ
ที่มา http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=technologytoday&month=26-08-2012&group=3&gblog=164