แพทย์แผนไทย โคราช รักษาโรค SLE ไขความลับวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคพุ่มพวง ( SLE)
รถตู้ให้เช่า ร้อยเอ็ด
หมอเอ ณัฐปราชญ์ คลินิก

song เมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้ไปร่วมงานคอนเสิร์ตวงดนตรีจากเกาะอังกฤษในตำนานอีกวงหนึ่งคือวง Suede มาครับ การจัดครั้งนี้พิเศษกว่าหน่อยคือมีวงดนตรีไทยในช่วงปี 90 ซึ่งเป็นยุคใกล้ๆ กันมาร่วมด้วยอีก 7-8 วง อาทิ Modern dog, พราว, สี่เต่าเธอ, ซีเปีย, Blackhead, มาโนช พุฒตาล แอนด์ เดอะแลมป์ และ อรอรีย์(เท่าที่ผมจะไปดูทันนะครับ)

 ช่วงที่มีเวลาว่างในการฟังเพลงเยอะๆ ของผมก็เป็นยุคสมัยนี้นี่แหละครับ เพลงในยุคสมัยนี้น่าสนใจอย่างไร และทำไมผมถึงรักวงอย่างSuede เป็นคอนเสิรต์ที่ทำให้เกิดความรู้สึกระลึกความหลังของเด็กแนวเมื่อ 20 ปีที่แล้วได้เป็นอย่างดีทีเดียวครับ
{youtube width="550"}Sej8N-AhLcE{/youtube}
  ดนตรีประมาณยุค 90 และก่อนหน้านั้นเล็กน้อย มีกระแสหนึ่งที่เกิดขึ้นและส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงการดนตต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน คือกระแสที่เรียกว่าAlternative (ดนตรีทางเลือก) หรือในยุคแรกๆ ที่่ยังอิงอยู่กับดนตรีแนวร็อคอยู่ จึงถูกเรียกว่า Modern Rock ในยุคนั้นเพลงและวงการดนตรีกระแสหลัก (main stream) ถูกครอบงำด้วยระบบธุรกิจขนาดใหญ่แบบเบ็ดเสร็จ เราจะได้ฟังเพลงหรือดูอะไร จะเป็นดนตรีแบบไหน ก็ขึ้นอยู่กับธุรกิจใหญ่ๆ เหล่านี้จัดมาให้เราฟังและดูเท่านั้นครับ กระแสที่เรียกว่า Alternative เกิดขึ้นในยุคนั้น โดยมีวงที่นำร่องมาก่อนหน้า อาทิ R.E.M., The Stone Roses ฯลฯ ในประเทศไทยก็เป็นยุคที่วงการเพลงไทยถูกผูกขาดแบบเบ็ดเสร็จโดยขาใหญ่อย่าง Grammy และ RS ดนตรี Alternative จึงเป็นแนวทางใหม่ๆ ที่ปฏิเสธดนตรีกระสหลัก ไปสู่ยุคที่ดนตรีเป็นเรื่องของการทดลอง ผสมผสาน และนำเสนอด้วยวิธีการใหม่ๆ อย่างเสรีครับ

 

{youtube width="550"}hTWKbfoikeg{/youtube}

 ในช่วงเวลานั้นมีวงดนตรีเล็กๆ เกิดใหม่จำนวนมากๆ ครับ เพราะไม่จำเป็นต้องพึ่งพาบริษัทใหญ่ๆ ในการสนับสนุนอีกแล้ว เขาเหล่านั้นผลิตงานในแบบอิสระหรือที่เรียกว่า Indy หรือ Independence แต่งเพลงเอง เล่นเอง ร้องเอง ขายเอง จัดคอนเสิร์ตเล็กๆ เองตามมหาวิทยาลัย หรือบางวงเกิดโด่งดังขึ้นมาก็อาจมีการจัดการทางธุรกิจมากขึ้นแต่ระดับของการจัดการก็เป็นเหมือนกับ SME แล้วค่อยเชื่อมโยงกับค่ายใหญ่มากกว่า เมื่อเกิดเป็นกระแสมีคนสนใจมากขึ้น สื่อก็เริ่มหันมาให้ความสนใจมากขึ้น ในอังกฤษก็มีนิตยสารดนตรีที่นำเสนอข่าวสารเกี่ยวกับวงดนตรีรูปแบบนี้ เช่น NME และ Melody Maker และในไทยก็มีวารสารเพลงหัวใหม่เกิดขึ้น อาทิ Generation Terrorist (GT) และมีรายการวิทยุที่เปิดเพลงอินดี้เหล่านี้ อาทิ Radio active โดยป้าแต๋ว วาสนา วีรชาติพลี หรือในคลื่นหลักก็จัดช่วงรายการที่เปิดเพลงอินดี้ไทย โดยเฉพาะเกิดขึ้น

วงดนตรีในฝั่งอเมริกันที่อยู่ในกระแสอัลเทอร์เนทีฟที่เป็นหัวหอกจริงๆ ก็คงจะเป็น Nirvana และ Pearl Jam และวงอื่นๆ อาทิ Smashing Pumpkin, Soundgarden และ Greenday เป็นต้น ดนตรีในยุคนี้ฟังอเมริกาก็เกิด Sound แปลกในแบบที่เรียกว่า ดนตรีกรั๊นซ์ (Grunge) (แบบ Nirvana หรือ Pearl Jam ) เกิดชื่อ Sound ดนตรีใหม่ อาทิ post rock , post punk, glam rock, glam punk, glam metal ฯลฯ (สารพัดจะสรรหากันมาเรียก) ส่วนในฝั่งอังกฤษก็จะเต็มไปด้วยสารพัดวงเล็กวงน้อยเกิดใหม่ขึ้นทุกๆ วันจนจำกันไม่หวัดไม่ไหว เกิดเป็นกระแสที่เรียกกันว่า Brit-pop ขึ้นในการเรียกวงดนตรีอย่างเช่น Blur, Oasis, Suede, and Plup ฯลฯ ในประเทศก็มีวงดังๆ เหล่านี้มาแสดงคอนเสิร์ตด้วย อาทิ The Manic Street Peacher, Suede, Radiohead, Shed Seven และ Blue tone ก็ต้องถือว่าเป็นการระเบิดออกครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในแวดวงดนตรีโลกเลยก็ว่าได้ครับ

{youtube width="550"}wcDRHDG8CI4{/youtube}

 ส่วนวงของไทยในยุคนี้ก็น่าสนใจมากไม่แพ้กัน วงส่วนใหญ่ก็จะได้รับอิทธิพลจากเพลงจากอังกฤษ อาทิ พราว, สี่เต่าเธอ, ครับ, ป้าง นครินทร์ กิ่งศักดิ์ หรือวงที่ได้รับอิทธิพลจากกรั๊นซ์หน่อยๆ อาทิ Modern dog , อรอรีย์, โยคีเพลย์บอย และที่แหวกแตกต่างไปเลยก็มีอย่างเช่น วงซีเปีย ที่เล่นดนตรีที่เป็นแบบพั๊งค์ๆ หน่อย มีเพลงดังๆ อย่าง "เกลียดตุ๊ด", "ไข่เหี้ย" (555) และ "อกหักเพราะแป๋ว" เป็นต้น หรือพี่ซัน มาโนช พุฒตาล พิธีกรและนักจัดรายการเพลงคนสำคัญก็เลือกที่จะปล่อยฝีมือในยุคนี้ในแบบโปรเกรสสีฟร็อค (Progressive Rock) ในอัลบั้มที่ชื่อว่า "ไตรภาค" และ "ในทัศนะของข้าพเจ้า" ทำเอาค่ายใหญ่อย่างGrammy ปรับตัวแทบไม่ทัน ต้องรีบแตกบริษัทย่อยออกมาเพื่อให้นักดนตรีได้ทำเพลงในรูปแบบอิสระสู้กับเขาบ้าง เกิดวงดนตรีอย่าง Black head และ Losoเป็นต้นครับ

 ดนตรีในยุค 90 จึงเป็นยุคของความแปลกใหม่และท้าทายครับ นักดนตรีได้มีโอกาสนำเสนอเพลงอย่างเป็นอิสระในแบบที่อยากทำโดยไม่ต้องอาศัยค่ายใหญ่ จนกระทั่งถึงยุคปัจจุบันแนวทางการนำเสนอผลงานเพลงที่เป็นคุณูปการจากยุค 90 ก็ยังคงเป็นมรดกตกทอดมาถึงยุคสมัยนี้ ในการกล้าที่จะทำอะไรแปลกแตกต่าง สร้างสรรค์ ไม่ยึดติดกับกรอบมาตรฐานทางดนตรีอย่างเคร่งครัด นักร้องนักดนตรีอาจจะไม่ต้องหล่อสวย (แต่ต้องเท่) หรือแต่งตัวเลิศหรูอลังการแบบกระแสหลัก แต่ให้ความสำคัญกับฝีมือและความสร้างสรรค์ในการนำเสนอผลงานเพลง จึงนับได้ว่ายุค 90 เป็นยุคสมัยที่สนุกสนานมากที่สุดยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์วงการเพลงไทยและวงการเพลงโลกเลยทีเดียวครับ

{youtube width="550"}gavcjNniIvk{/youtube}

 ทั้งหมดเขียนขึ้นจากความทรงจำและด้วยความรักในดนตรียุคนี้ครับ อาจมีข้อผิดพลาดใดๆ เกิดขึ้นได้ ก็ต้องขออภัยด้วยนะครับ ตั้งใจว่าจะเขียนถึงงานคอนเสิร์ตSuede สั้นๆ แต่เขียนไปเขียนมาติดลมเขียนซะยาวเลย แถมยังไปไม่ถึงคอนเสิร์ตด้วยซ้ำ เดี๋ยวสัปดาห์หน้ามาเขียนต่อก็แล้วกันนะครับ

 

ที่มา:http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=easywandering&month=12-08-2012&group=16&gblog=80

 

Go to top