แพทย์แผนไทย โคราช รักษาโรค SLE ไขความลับวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคพุ่มพวง ( SLE)
รถตู้ให้เช่า ร้อยเอ็ด
หมอเอ ณัฐปราชญ์ คลินิก

c  ในครั้งหนึ่งนานมาแล้วกษัตริย์ขอมพระองค์หนึ่งมีราชโอรสชื่อท้าวปาจิตต์ เมื่ออายุได้ 6 พรรษา พระราชบิดาจะจัดการอภิเษกให้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ ถึงจะหาราชธิดาเมืองใดมาให้เลือก พระราชโอรสก็ไม่ต้องพระประสงค์ โหรหลวงทำนายว่า เนื้อคู่ของพระองค์ยังอยู่ในครรภ์ของหญิงหม้ายอนาถา ให้ท้าวปาจิตต์เดินทางไปทิศตะวันออกแล้วจะพบหญิงหม้ายผู้นั้น โดยมีลักษณะที่สังเกตได้คือแสงอาทิตย์จะทรงกลดเป็นเงากั้นเบื้องบนศรีษะ

 

  ท้าวปาจิตต์ก็ออกเดินหาหญิงหม้ายผู้นั้น จนไปพบนางบัว ชาวบ้านสัมฤทธิ์ยังมีครรภ์อยู่มีลักษณะตามที่โหรได้ทายไว้ จึงอาสาฝากตัวเป็นคนใช้ ครั้นนางบัวคลอดบุตรเป็นหญิงมีลักษณะดีก็ช่วยนางบัวเาว ให้ชื่อว่า นางอรพิมพ์ รูปโฉมงดงามมาก ท้าวปาจิตต์ลากลับบ้านเมืองเพื่อจัดขันหมากมาสู่ขอตามประเพณี พอขันหมากมาถึงบ้านกงรถก็ทราบว่า ท้าวพรหมทัต มาลักตัวนางอรพิมพ์ไปเสียแล้ว ก็เสียพระทัยเลยโยนขันหมากทิ้งน้ำเสียหมด ลำน้ำนั้นต่อมาคือ ลำปลายมาศ และในที่สุดก็เกิดสงครามภายในชิงนางอรพิมพ์ระหว่างท้าวพรหมทัตแห่งเมืองวิ มายปุระและท้าวปานจิตต์แห่งเมืองวนำรุ้ง และดูเหมือนว่าเมื่องทั้งสองนี้น่าเป็นเครือญาติกันอีกด้วย

  ตำนานและนิทานพื้นบ้านที่เล่าต่อกันมาน่าจะมีเค้าความจริงเช่นเดียวกับเรื่องราม เกียรติ สงครามแย่งนางสีดา ที่น่าจะสวยที่สุดในยุคนั้น ระหว่างชาวอารยันและทราวิษ ในอินเดีย และสงครามกรุงทรอย ทีเจ้าชายปารีสไปแย่งพระนางเฮเลน  ราชินีชาวกรีกที่สวยที่สุดมาครอบครอง ก่อให้เกิดสงครามแย่งชิงผู้หญิงที่ได้ชื่อว่าสวยทีสุดในยุคนั้นจนเมืองทรอย ต้องล่มสลาย  สำหรับนางอรพิมพ์น่าจะเป็นสาวงามทีสวยที่สุดแห่งเมืองพิมาย โคราช จึงอาศัยภาพจากปราสาทศรีขรภูมิ จ.สุรินทร์ น่าจะเป็นตัวแทนความงามของนางอรพิมพ์ได้ สงครามแย่งชิงนางงามในแผ่นดินอีสานโบราณที่เกิดขึ้นนี้น่าจะเป็นการรบ ระหว่าง อาณาจักรพิมาย และอาณาจักรพนมรุ้ง ซึ่งในอดีตเคยเป็นเมืองใหญ่ทั้งคู่ (บางตำนานอ้างว่าคือพระนางชัยเทวี พระมเหสีของพระเจ้าชัยวรมันที่7 )

 

  เรื่องราวในตำนาน “ท้าวพรหมทัตนางอรพิม และเจ้าชายปาจิต” อาจจะเรียกว่าเป็น “ตำนานราชมรรคา” ก็คงไม่ผิดนักเพราะเนื้อหาเป็นเรื่องราวการ "ชิงรักหักสวาท" ของบุคคลจากสองเมืองใหญ่คือ เมืองพิมายและเมืองพระนครธม ที่ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีแล้วทั้งสองเมืองก็คือต้นทางและปลายทางของ “เส้นทางราชมรรคา”สายเหนือที่มีอยู่จริงในยุคพุทธศตวรรษที่ 15 – 19 นั่นเอง

.

c

.

ประตูเมืองพระนครหลวง ชัยศรีปุระ หรือพระนครธมทางทิศใต้

ในตำนานคือเมืองนครธม เมืองพรหมพันธ์นคร หรือเมืองอินปัตถา

บ้านเกิดของเจ้าชายปาจิต

.

หากเรื่องราวของตำนาน “ท้าวพรหมทัต นางอรพิม และเจ้าชายปาจิต” เป็น เพียงตำนาน หรือเรื่องเล่าเก่าแก่ ก็เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่า ในช่วงเวลา 400 ปีที่อีสานใต้ซบเซาและร้างรา แต่การเดินทางของผู้คน เส้นทางการอพยพเพื่อไปหาทำเลที่ตั้งถิ่นฐาน การค้าขายสินค้าท้องถิ่นระหว่างเขมรสูงและเขมรต่ำจะต้องเกี่ยวข้องและรับรู้ ถึงการมีตัวตนของ “ถนนโบราณ” เส้นทางจากเมืองพิมายในเขตเขมรสูงไปสู่เมืองพระนครธมในเขตเขมรต่ำ ซึ่งอาจไม่ได้หยุดนิ่งไปเช่นเดียวกับอำนาจของราชวงศ์มหิธรปุระ ในยุคพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แต่ยังคงถูกใช้งานสืบต่อมาจนถึงยุคสมัยที่กลุ่มชาติพันธุ์ไท – ลาว ได้เข้ามาตั้งบ้านเรือนซ้อนทับเนินชุมชนโบราณเดิม

.

ถนนราชมรรคายังคงถูกใช้งาน อีกทั้งเรื่องราวของ “ราชวงศ์มหิธรปุระ” ที่เคยเรืองอำนาจในเขตนี้ก็ถูกนำมาดัดแปลงแก้ไข ให้กลายมาเป็นตำนานที่มีสำนวนแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นในยุคปัจจุบัน บนฉากของสถานที่ ที่เคยมีเส้นทางราชมรรคาพาดผ่านเมื่อครั้งในอดีตนั่นเอง

.

c

.

ปราสาทหินพิมาย ตามตำนานคือเมืองพาราณสีที่มีท้าวพรหมทัตปกครอง

และได้นำนางอรพิมมาขังไว้ในปราสาท

.

ตำนานเมืองพิมายที่ดูจะอิงกับเรื่องราวในพระพุทธศาสนาแบบท้องถิ่น เล่าว่า “ท้าวปาจิตต์” คือ “พระโพธิสัตว์” ที่ จุติลงมาเป็นโอรสเจ้าเมืองพรหมพันธ์นคร จนถึงวัยหนุ่มได้ออกเดินทางไปหาคู่ครองถึงเมืองพาราณสี พบหญิงหม้ายกำลังตั้งท้อง มีแสงอาทิตย์ทรงกลดเป็นเงาบังนางไว้ ท้าวปาจิตต์ก็รู้ว่า ผู้หญิงคนนี้เป็นแม่ของคู่ครองของตน คือ นางอรพิม ท้าวปาจิตต์จึงอาสาทำงานช่วยจนนางอรพิมโตเป็นสาว อายุ 16 ปี จึงได้นางเป็นภรรยา ท้าวปาจิตต์ขอลาแม่ยายไปเยี่ยมบิดา นางอรพิมจึงถูก “พรหมทัตกุมาร” แห่งกรุงพาราณสีฉุดไปขังไว้ในปราสาท ท้าวปาจิตต์จึงตามมาฆ่าพรหมทัตกุมาร พานางหลบหนีไปพักใต้ต้นไทรกลางป่า พรานมาเห็นนางอรพิมสวยมากจึงลอบฆ่าท้าวปาจิตต์และฉุดนางขึ้นหลังควายไป นางอรพิมออกอุบายเอาดาบฟันคอพรานตายแล้วกลับมาคร่ำครวญถึงท้าวปาจิตต์ พระอินทร์จึงมาชุบชีวิตท้าวปาจิตต์ แล้วให้แท่งยาวิเศษแก่นางอรพิม พอเดินทางต่อไป เณรเห็นนางอรพิมพ์รูปสวย จึงหลอกให้พรากจากสามีอีก นางเที่ยวหาสามีจนถึงจัมปานคร อธิฐานขอให้เป็นชายและชื่อปาจิตต์ นางช่วยชุบชีวิตธิดาเจ้าเมืองจัมปานคร เจ้าเมืองยกธิดาและยกเมืองให้ ปาจิตต์ขอออกบวช ให้สร้างศาลาและวาดรูปเป็นเรื่องราวที่นางพลัดพรากจากสามี สั่งให้คนแอบสังเกตคนที่มาพัก หากใครดูรูปแล้วร้องไห้ ให้รีบไปบอก ในที่สุดเมื่อท้าวปาจิตต์มาที่ศาลาดูรูปแล้วร้องไห้ นางและสามีจึงได้พบกัน และกลับไปครองเมืองพรหมทัต

.

v

.

รูป "ท้าวพรหมทัต" ตามตำนานราชมรรคา

กลางคูหาปราสาทที่เรียกว่า

"ปรางค์พรหมทัต" ภายในมณฑลในปราสาทหินพิมาย

.

ส่วนนิทานพื้นบ้านอีกสำนวนหนึ่งเล่าว่า กษัตริย์เมืองพระนครธมแห่งเขมร มีโอรสชื่อ เจ้าชายปาจิตต์ เดินทางหาคู่ผ่านมาตามลำน้ำมูล พบนางบัวมี เงาบัง (พระอาทิตย์ทรงกลด) ก็อยู่อาสาทำงานจนคลอดนางอรพิม โตเป็นสาว เจ้าชายจึงกลับนครธมนำขันหมากมาสู่ขอ ท้าวพรหมทัตผู้ครองเมืองวิมายบุรีได้ข่าวว่านางอรพิมมีรูปโฉมงดงามเป็นที่พอ พระทัย จึงบังคับให้นางเป็นภรรยา พอเข้าใกล้นางก็ตัวร้อนเป็นไฟ นางขอผัดเวลาไป 7 วัน เจ้าชายปาจิตต์มาพอดีแต่เข้าใจผิด จึงเทขันหมากทิ้งลงน้ำ ตามนางอรพิมเข้าไปในเมืองวิมายบุรี อ้างว่าเป็นพี่ชายนาง แล้วลอบฆ่าท้าวพรหมทัต พานางกลับเมืองพระนครธมด้านทิศใต้ น้ำกำลังไหลเชี่ยว เณรออกอุบายให้ทั้งสองพลัดกัน นางออกอุบายหนีเณร มาพบพราน ออกอุบายฆ่าพราน ในที่สุดก็ได้พบกัน แล้วกลับมาทำพิธีเผาศพท้าวพรหมทัต เพื่อให้ชาวเมืองวิมายบุรีหายโกรธ แล้วจึงกลับเมืองพระนครธม

.

v

.

ลำปลายมาศ ลำน้ำสำคัญในเครือข่ายชุมชนโบราณตามแนวเส้นทางราชมรรคา

ตามตำนานเล่าว่า เป็นที่เจ้าชายปาจิตทิ้งสินสอดทองหมั้นให้ไหลไปตามน้ำ

.

v

.

เขาปลายบัด ภูเขาไฟเก่าแก่ทางทิศใต้ของเทือกเขาพนมรุ้ง

ที่เล่าในตำนานว่า เป็นบ้านของ “นางบัว” มารดานางอรพิม

และเป็นเป็นสถานที่ที่นางอรพิมหนีมาซ่อนตัว

.

v

.

ปราสาทโบราณบนยอดเขาปลายบัด ที่อาจมีอายุถึงพุทธศตวรรษที่ 15

และถูกบูรณะในยุคพุทธศตวรรษที่ 17

.

อีกตำนานหนึ่งก็เล่าคล้ายคลึงกันว่า ท้าวปาจิตเป็นโอรสเจ้าเมือง “อินทปัตถา” เมื่อ ถึงวัยที่จะต้องแต่งงาน บิดาก็หาสตรีโฉมงามมาให้เลือก แต่ท้าวปาจิตก็ไม่ถูกใจ จึงขอออกเดินทางเพื่อแสวงหาคู่ครองด้วยพระองค์เอง แล้วท้าวปาจิตก็ออกเดินทางไปพร้อมกับทหารคู่ใจ ครั้นมาถึงหมู่บ้านในชนบทแห่งหนึ่ง ก็พบกับหญิงท้องแก่เดินสวนทางมากลางแดดแต่มีกลดทิพย์บังแสงแดดให้จึงรู้ว่า ในท้องของนางเป็นผู้มีบุญตามที่พราหมณ์ได้บอกเอาไว้ ท้าวปาจิตจึงขออาศัยอยู่ด้วย นางและสามีก็ยินดี ตลอดระยะเวลาที่อยู่กับชาวนาสองผัวเมีย ท้าวปาจิตก็ช่วยเหลือการงานทำไร่ไถ่นาและก็เอ่ยขอว่า ถ้าคลอดออกมาเป็นผู้หญิง จะขอไปเป็นชายา ในที่สุดก็คลอดออกมาเป็นผู้หญิงจริง ๆ ท้าวปาจิตตั้งชื่อให้ว่า “อรพิม” เวลาผ่านไปจนนางอรพิมโตเป็นสาว ท้าวปาจิตจึงขอลากลับบ้านเมืองไปแต่งขันหมากมาสู่ขอ

.

d

.

ฐานจตุรมุขศิลาแลงของพลับพลาริมน้ำเค็ม หน้าเมืองพิมายทางทิศใต้ ที่

เรียกกันตามตำนานว่า “ท่านางสระผม”

.

v

.

"บารายศรีสูรยะ" หรือ "สระเพลิง" เชิงเขาพนมรุ้ง

เป็นทั้งแนวถนนราชมรรคาในยุคโบราณ

และเป็นเส้นทางในตำนาน ที่เล่าว่า ท้าวพรหมทัตเดินทางมาตั้งค่ายพักแรม

เพื่อจะไปนำตัวนางอรพิมมาเป็นมเหสี

.

วัน หนึ่งนางอรพิมไปเล่นน้ำกับเพื่อน (ที่ท่านางสระผม) นางนึกสนุกจึงเอาเส้นผมใส่ผอบลอยน้ำไป จนถึงมือของพระเจ้าพรหมทัต กลิ่นหอมของเส้นผมนั้นทำให้ “ท้าวพรหมทัต” หลงใหลสั่งให้ทหารออกตามหาเจ้าของเส้นผม เมื่อพบนางอรพิม ทหารจึงจับตัวกลับไปเพื่อถวายท้าวพรหมทัต ระหว่างทางนางอรพิมคิดถึงท้าวปาจิตจึงร้องไห้ไม่ยอมเดินทางต่อ จึงเรียกที่นั้นว่า "บ้านนางร้อง" (อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์) ทหารก็พยายามฉุดกระชากให้นางเดินทางต่อ จนถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง นางกระโดดหนีเข้าไปหลบในป่า จึงเรียกหมู่บ้านนั้นว่า "บ้านปะเต็ล" (เป็นภาษาเขมรแปลว่า กระโดดโลดเต้น) ทหารก็รีบไล่ตามโดยพยายามปิดล้อมหมู่บ้านแห่งหนึ่ง จึงเรียกหมู่บ้านนั้นว่า "บ้านไผ่ล้อม" แต่ก็ยังไม่ได้ตัวนาง นางอรพิมหนีกระเจิดกระเจิงไปซ่อนอยู่ในถ้ำจนทหารหาไม่พบ จึงเรียกว่า "เขาปลายบัด" (บัดเป็นภาษาเขมรแปลว่า หาย) แต่แล้วในที่สุดทหารของท้าวพรหมทัตก็ตามหาตัวนางจนเจอ

.

เมื่อ นางเข้ามาอยู่กับท้าวพรหมทัตแล้ว แต่ท้าวพรหมทัตก็ไม่สามารแตะต้องตัวนางได้ เพราะถ้าเข้าใกล้นางจะรู้สึกร้อนเป็นไฟด้วยแรงอธิฐานของนาง

ฝ่าย ท้าวปาจิตก็ได้ยกขบวนขันหมากมาตามคำพูดแต่เมื่อทราบว่านางอรพิมถูกท้าวพรหม ทัตเอาตัวไปแล้วก็เสียใจมากสั่งให้เทข้าวของเงินทองของหมั้นให้หมด เรียกบริเวณนั้นว่า "เสราะแบจาน" (บ้านทุบจาน) ส่วนสินสอดทองหมั้นก็ไหลไปตามน้ำ จึงเรียกว่า "ลำมาศ" หรือ "ลำปลายมาศ" แล้วท้าวปาจิตก็สั่งให้ขบวนเดินทางกลับ แล้วพระองค์และทหารคนสนิทก็ออกเดินทางไปยังเมืองของท้าวพรหมทัต

.

v

.

สถูปสมัยทวารวดีกลางเมืองโบราณกงรถ จังหวัดนครราชสีมา

ที่ตำนานเล่าว่า เจ้าชายปาจิตได้นำรถมาทิ้งไว้

.

v

.

เทือกเขาพนมรุ้ง ฐานที่มั่นของราชวงศ์มหิธรปุระบนเส้นทางราชมรรคา

ตามท้องเรื่องเป็นบ้านของ “นางบัว” มารดานางอรพิม

.

ท้าวปาจิตเดินทางมาถึงในวันอภิเษกสมรสพอดี จึงบอกกับทหารเฝ้าประตูวังว่าเป็นพี่ชาย เมื่อนางอรพิมเห็นท้าวปาจิตจึงร้องว่า "พี่มาแล้ว" ภายหลังเพี้ยนเป็น "พิมาย" (อ.พิมาย จ.นครราชสีมา) ท้าวปาจิตและนางอรพิมจึงวางแผนมอมเหล้าเหล่าทหารและท้าวพรหมทัต พอตกค่ำนางอรพิมก็ลอบปลงพระชนม์ แล้วพากันหนีไป เมื่อทหารพากันฟื้นจึงพากันออกติดตาม เมื่อพบนางอรพิม ทหารจึงยิงธนูสกัดเอาไว้แต่ไปถูกกลางหลังของท้าวปาจิตจนท้าวปาจิตสิ้นใจ

ร้อน ถึงพระอินทร์ได้ชวนพระวิษณุแปลงกายเป็นงูกับพังพอนกัดกันอยู่ใกล้ ๆ นาง เมื่องูถูกพังพอนกัดตาย พังพอนก็ไปกัดรากไม้มาพ่นให้งู แล้วงูก็ฟื้น แล้วก็สลับกันตาย สลับกันกัดรากไม้พ่นแล้วก็ฟื้น ทำให้นางอรพิมทราบสรรพคุณวิเศษของรากไม้นั้น นางจึงรักษาท้าวปาจิตจนฟื้น ทั้งสองจึงพากันเดินทางกลับเมืองของท้าวปาจิตและนำรากไม้วิเศษไปด้วย

.

v

.

ปราสาทหินพิมาย อาจสร้างขึ้นครั้งแรกในพุทธศตวรรษที่ 15

ในคติ "มูรติทั้ง 8 แห่งองค์พระศิวะ"

แล้วมาสร้างใหม่ในยุคราชวงศ์มหิธรปุระในพุทธศตวรรษที่ 16

แล้วมาสร้างเป็นปราสาทสามหลังตามคติ "วัชรยานไตรลักษณ์" ในพุทธศตวรรษที่ 18

แต่ในตำนานราชมรรคา ปราสาทองค์ใดคือที่ขังโฉมงามนางอรพิมกันหนอ ?

.

เมื่อ เดินทางมาถึงแม่น้ำใหญ่แห่งหนึ่ง ไม่สามารถจะข้ามไปได้ พอดีเห็นเณรพายเรือผ่านมา จึงขอให้เณรพาข้ามแม่น้ำ แต่เณรกลับหลงใหลนางอรพิมจึงออกอุบายว่าเรือลำนี้เล็กให้ไปทีละคน โดยไปส่งท้าวปาจิตก่อน แล้วค่อยกลับมารับนางอรพิม แต่เณรกลับไม่ไปส่งนางที่ที่ท้าวปาจิตคอยอยู่ เมื่อนางอรพิมเห็นความไม่ซื่อของเณรจึงบอกว่านางอยากกินผลมะเดื่อ เณรจึงปีนขึ้นไปเก็บให้ นางจึงเอาหนามมาสุมไว้ที่โคนต้นมะเดื่อ แล้วพายเรือไปหาท้าวปาจิต เณรลงมาไม่ได้จึงกลายเป็น "แมลงหวี่" อยู่ที่ต้นมะเดื่อตลอดมา

.

v

.

ซากแนวกำแพงและคูน้ำของเมืองโบราณบ้านไทรออ อำเภอหนองหงส์

เล่ากันว่าเป็นบ้านเมืองของนางอรพิม จึงเรียกชื่อกันในท้องถิ่น

.

 

นาง อรพิมตามหาท้าวปาจิตไม่พบ จึงพายเรือตามหาจนถึงเมืองแห่งหนึ่ง ชื่อเมืองครุฑราช นางจึงเข้าไปอาศัยที่ศาลาโรงทานของเศรษฐี ในโรงทานนี้มีโรงศพอยู่และภายในมีศพที่ยังคงสภาพ นางอรพิมจึงเอารากไมวิเศษนั้นชุบชีวิต จึงทราบว่าผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือนั้นคือนางปทุมเกษรเป็นธิดาเศรษฐี แล้วนางปทุมเกษรก็ขอติดตามนางอรพิมไม่ยอมกลับบ้าน ทั้งสองเป็นหญิงและเกรงกลังอันตรายจึงอธิษฐานขอให้กลายร่างเป็นชาย โดยนำผมที่ตัดไว้ไปฝากไว้ที่ต้น "ช้องนาง" นำขาไปฝากไว้กับต้น "ขานาง" แล้วนำนมไปฝากไว้ที่ต้นงิ้ว (บางสำนวนก็เล่าว่า นางอรพิมนำนมทั้งสองข้างไปไว้ในป่า กลายเป็นต้น "นมนาง" นำแก้มทิ้งไปในป่ากลายเป็นต้น "แก้มอ้น” ทิ้งโยนี กลายเป็นต้น "โยนีปีศาจ")

.

v

.

v

.

ซากปราสาทอิฐเก่าแก่ พังทลายลงในดงไม้

กับบารายหนองประจิต บารายขนาดใหญ่ในวัฒนธรรมเขมร

บ้านหนองเสม็ด ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง

ก็ใช้ชื่อตามตัวละครเอก “เจ้าชายปาจิต” ในตำนาน

.

เมื่อเดินทางมาถึงเมืองพาราณสี พบว่าประชาชนร้องไห้กันถ้วนทั่ว สอบถามได้ความว่าเจ้าหญิงของเมืองนั้นถูกงูกัดสิ้นพระชนม์ นางอรพิมในร่างชายจึงไปช่วยชุบชีวิต เจ้าเมืองจะยกเจ้าหญิงให้และแบ่งเมืองให้ครองครึ่งหนึ่งแต่นางอรพิมไม่รับขอ ลาบวช และขอให้เจ้าเมืองสร้างโรงทานและเขียนภาพเล่าเรื่องราวของตนกับท้าวปาจิตไว้ ที่โรงทาน นางอรพิมบวชอยู่นานจนเป็นพระสังฆราชแห่งเมืองพาราณสี

.

วัน หนึ่งมีทหารไปบอกนางอรพิมว่ามีชายแปลกหน้าพอเห็นภาพแล้วก็ยืนร้องไห้จนสลบ นางจึงสั่งให้นำตัวเข้าพบ ก็พบว่าเป็นท้าวปาจิต แล้วนางก็อธิฐานขอให้ร่างกลับเป็นหญิงด้วยความรัก แล้วนางก็พาท้าวปาจิตเข้าไปกราบทูลเจ้าเมืองพาราณสีถึงความจริง จึงมอบพระธิดาให้ท้าวปาจิตแทน ท้าวปาจิต นางอรพิม นางปทุมเกษรและพระธิดาของเจ้าเมืองออกเดินทางกับเมืองของท้าวปาจิตและอยู่ ร่วมกันอย่างมีความสุข

.

v

.

ศาลเจ้าพ่อพญาดินดำ กลางเนินเมืองโบราณบ้านจะบวก

ที่ตั้งของหลักหินตามตำนาน และเป็นที่แวะพักของนางอรพิม

หลักหินทรายคู่ยังคงตั้งอยู่หน้ามณฑปปราสาทของศาล

ตั้งแต่ครั้งที่เจ้าชายปาจิตสั่งให้ปักไว้

.

และตำนาน “ท้าวพรหมทัต นางอรพิและเจ้าชายปาจิต” ในสำนวนของ “ตำนานเมืองนางรอง” ก็เล่าว่า ชื่อ“นางรอง” นั้น มาจากตอนที่ นางอรพิมพ์หนีท้าวพรหมทัตเจ้าเมืองพิมายมากับท้าวปาจิต  โอรสเจ้าเมืองนครธม นางอรพิมพ์นั่งร้องไห้เพราะท้าวปาจิตต์ถูกงูกัดตายที่นี่  เลยเรียกเมืองนี้ว่า “นางร้อง” แล้วเพี้ยนมาเป็น “นางรอง”

.

ตำนานเมืองนางรองอีกสำนวนหนึ่งเล่าว่า สมัยของพระเจ้าชัยวรมันแห่งนครธม  พระองค์มีพระราชโอรสองค์หนึ่งนาม เจ้าชายปาจิตต์ เมื่ออายุ ครบ 18 ชันษา โหรได้ทำนายไว้ว่าหญิงที่จะมาเป็นพระชายาของเข้าชายยังไม่ถือกำเนิด  และอยู่ห่างจากนครธมมาก  บิดามารดาของหญิงผู้นั้นเป็นคนธรรมดา  ทำไร่อยู่ที่ภูเขาแห่งหนึ่ง  สันนิษฐานว่าเป็นเขา  “ไปรบัด (ปลายบัด)” หรือ “เขาพนมรุ้ง” เวลานี้จวนถือกำเนิดจากครรภ์มารดาแล้ว  ควรจะให้มีผู้พิทักษ์รักษาความปลอดภัย

.

v

.

ปราสาทเขาพนมรุ้ง ปราสาท"ศิริศะ" เพื่อการบูชาพระศิวะบนเขาไกรลาส (สมมุติ)

เป็นฐานอันมั่นคงของราชวงศ์มหิธรปุระตั้งแต่ยุคพระเจ้าสูรยวรมันที่ 1

ที่เชิงเขาเป็นที่ทำนา "กัลปนา"

ตำนานบางสำนวนเล่าว่าเป็นบ้านของมารดานางอรพิม

.

เจ้าชายปาจิตต์เชื่อในคำทำนายนั้นจึงออกตามหา  โหรกราบทูลเพิ่มเติมว่า  บิดามารดาของหญิงผู้นั้นมีอายุเกินหกสิบปีแล้ว  มารดาของหญิงนั้นไม่ว่าจะย่างเท้าไปทิศไหนก็จะมีคนกั้นร่ม หรือสัปทนให้เสมอ  แต่จะมีเพียงท้าวปาจิตต์เท่านั้นที่แลเห็นนาง  ที่อยู่ของหญิงผู้นี้อยู่ทางทิศพายัพของนครธม ต้องเดินด้วยเท้าหลายวันจึงจะถึง  เมื่อเจ้าชายเดินทางมาทิศตะวันตกได้พบม้าลักษณะงามตัวหนึ่ง (แซะลออ เป็นภาษาเขมร แปลว่า ม้างาม) ครั้นถึงเมืองนางรองที่บ้านหินโคน สืบเสาะได้ความว่าที่เขาพนมรุ้งมีคนทำไร่ และมีลักษณะดังคำทำนายอาศัยอยู่จริง  จึงได้เดินทางไปและแจ้งให้บิดามารดาของนางทราบโดยละเอียด

.

v

.

ในตำนานกล่าวถึง "ทุ่งอรพิมพ์" ใกล้บ้านหนองทองลิ่ม

ที่นั่นก็ยังคงมีเศษซากของปราสาทอิฐในวัฒนธรรมแบบเขมรตั้งอยู่

.

ต่อมาเจ้าชายได้แจ้งเรื่องไปยังพระราชบิดาที่นครธม  จึงให้เกณฑ์ผู้คนตัดถนนฝังหลักเขตจากเขาพนมรุ้งไปถึงนครธม (ดังปรากฏหลักหินมาถึงทุกวันนี้ที่บ้านจะบวก  ตำบลนางรอง 1 หลัก  บ้านหินโคนน้อย 1 หลัก  และที่บ้านหินโคนดง 1 หลัก รวม 3 หลัก  หลักหินที่ฝังไว้นี้สันนิษฐานว่าคงฝังเป็นระยะทาง 400 เส้น ต่อ 1 หลัก  ทางหรือถนนที่สร้างขึ้นไว้นั้น  น่าจะเป็นทางเดินช่องแซะละออทุกวันนี้  แต่เพี้ยนมาเป็นช่องสายออหรือช่องกุ่ม)

.

หลังจากหญิงชาวไร่คลอดบุตรหญิงออกมาจนมีอายุครบ 16 ปี  มีรูปโฉมงดงามมาก ตั้งชื่อว่า นางอรพิมพ์  เจ้าชายหลงใหลรักใคร่ในตัวนางมากจึงเตรียมที่จะอภิเษกตามราชประเพณี

.

กล่าวถึงอีกเมืองหนึ่ง คือ เมืองพิมาย ผู้ครองนคร คือ ท้าวพรหมทัต ครองเมืองหน้าด่านดูแลต่างพระเนตรพระกรรณของพระเจ้านครธม (สันนิษฐานว่าเมืองพิมายเดิมน่าจะเรียกว่าพี่มา  สาเหตุมาจากนางอรพิมพ์ เมื่อพบกับเจ้าชายปาจิตต์ก็อุทานออกมาว่า พี่มา  เมื่อนานเข้าก็เพี้ยนเป็นพิมาย จนทุกวันนี้) ท้าวพรหมทัตมีความร้อนรุ่นใจใคร่ออกไปเที่ยวป่า  รอนแรมมาจนถึงพนมรุ้ง  ตั้งค่ายพักแรมที่ริมสระน้ำใหญ่เรียกว่า “สระเพลิง (เพลง)” (อาจเป็นบารายศรีสูรยะ  บ้านหนองบัวราย อ.ประโคนชัย) อยู่ทางทิศตะวันออกของปราสาทหิน  เมื่อได้ขึ้นไปบนปราสาทก็พบหญิงสาวโฉมงาม  จึงอยากได้นางไปเชยชม  จึงได้ให้ทหารไปฉุดคร่านางมาจากบิดามารดาและทหารของเจ้าชายปาจิตต์จนสำเร็จ  ท้าวพรหมทัตนำตัวนางอรพิมพ์ไปยังเมืองพิมายโดยไม่รู้ว่านางเป็นคู่หมั้นของท้าวปาจิตต์  ระหว่างที่เดินทางมาถึง “บ้านจะบวก” นางอรพิมพ์ได้ขอร้องให้ท้าวพรหมทัตหยุดพักการเดินทาง เพื่อหาโอกาสส่งข่าวให้เจ้าชายปาจิตต์ทราบ  แต่ท้าวพรหมทัตไม่ยอม  ครั้นเดินทางมาถึงลำน้ำทางทิศตะวันออกซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองนางรอง  นางอรพิมพ์ได้ลงจากช้างและนั่งร้องไห้ที่ริมฝั่งน้ำ  ครวญถึงบิดามารดาและเจ้าชายปาจิตต์  ต่อมาได้เรียกลำน้ำนี้ว่า ลำน้ำนางร้อง และเพี้ยนมาเป็นลำน้ำนางรอง ภาย หลังจากหยุดพักพอสมควรแล้วก็เดินทางต่อจนถึงเมืองพิมายโดยที่มีทหารของเจ้า ชายปาจิตต์สะกดรอยตามไปจำนวนหนึ่งและอยู่ปะปนไปกับผู้คนในเมืองเพื่อหาโอกาส ช่วยเหลือและรอเจ้าชายยกทัพมาสมทบ

.

v

.

ห้องข้างประตูเมืองพิมายทางทิศใต้ เห็นการเรียงหินและการนำเสานางเรียงของปราสาทหินพิมายมาใช้เป็นเสาพื้นและคานประตู

ประตูเมืองพิมายมีรูปแบบเดียวกับประตูเมืองพระนครธม

ท้าวพรหมทัตจะนำนางอรพิมมาขังที่นี่หรือเปล่า

หรือ เจ้าชายปาจิตต์จะมาหลอกทหารยามว่าเป็นพี่ชายของนางอรพิมที่ตรงประตูนี้

.

ฝ่ายเจ้าชายปาจิตต์ยกทัพมาตามเส้นทางเดิม โดยไม่หยุดพักทั้งกลางวันและกลางคืน ผ่านบ้านแซะ (เมืองครบุรี) สระประทีป และมาสว่างที่บ้านเสิงสาง (อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา ปัจจุบัน) แล้วเดินทางมาถึงลำน้ำลงเรือที่บ้านวังบุกระถิน (ลำปลายมาศในปัจจุบัน) เห็นข้าราชบริพารของท้าวพรหมทัตเตรียมเรือขันหมากไว้สองลำ  เห็นดังนั้นจึงโกรธแค้นท้าวพรหมทัตมาก จึงจมเรือขันหมากเสียในลำนำนี้ (ลำน้ำนี้จึงได้ชื่อว่า ลำปลายมาศ เพราะมีทองขันหมากจมอยู่มากมาย) และเปลี่ยนจากการไปทางเรือไปทางรถม้าแทน  เมื่อถึงบ้านกงรถก็ทิ้งรถไว้  ที่นี่จึงได้เรียกว่า “บ้านกงรถ” มาจนทุกวันนี้ (บ้านกงรถ อยู่ในเขต ต.กงรถ อ.ห้วยแถลง จ.นครราชสีมา) จากนั้นเจ้าชายได้ปลอมตัวเป็นคนสามัญ เดินทางต่อไปยังเมืองพิมายตามหานางอรพิมพ์จนพบ  เมื่อพบกันครั้งแรกนางอรพิมพ์ได้อุทานด้วยความยินดีว่า “พี่มาแล้ว” ถึง 3 ครั้ง  หลังจากนั้นเจ้าชายจึงได้ฆ่าท้าวพรหมทัต  และนำตัวนาวอรพิมพ์กลับเมืองนครธม  โดยเดินทางผ่านทุ่งกระเต็นในปัจจุบัน  ซึ่งห่างจากเมืองพิมายมาไกลมาแล้ว  และได้มีการเลี้ยงฉลองเต้นรำกันที่ทุ่งแห่งนี้  จนเรียกขานว่า ทุ่งกระเต้น ต่อมาเพี้ยนเป็น ทุ่งกระเต็น

.

v

.

ภาพถ่ายทางอากาศแสดงภาพของเมืองโบราณรูปวงกลมที่มีชื่อว่า "เมืองกงรถ"

ที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 - 19 ในวัฒนธรรมแบบทวารวดี

ถูกวัฒนธรรมแบบเขมรเข้าซ้อนทับในพทธศตวรรษที่ 15

ที่กลางเมืองมีสถูปโบราณและเคยพบธรรมจักรศิลาและวัฒนธรรม"หินตั้ง"

.

รุ่งขึ้นได้เดินทางผ่านเส้นทางเดิมและวกมาทางทิศตะวันออกจนถึงทุ่งแห่งหนึ่งก็หยุดพักผ่อน  ซึ่งทุ่งนี้ต่อมาเรียกว่า “ทุ่งอรพิมพ์” ซึ่งอยู่ใกล้บ้านหนองทองลิ่ม  ห่างออกไปทางทิศใต้ประมาณ 100 เส้น  จากนั้นออกเดินทางต่อไปถึงบ้านแซะละออเข้าสู่นครธม และได้อภิเษกกับนางอรพิมพ์เป็นกษัตริย์กับมเหสีในที่สุด

.

ตำนานเรื่อง “ท้าวพรหมทัต นางอรพิมและเจ้าชายปาจิต” จากสำนวนต่าง ๆ ที่ล้วนแต่มีเนื้อเรื่องที่คล้ายคลึงกัน มีชื่อในเรื่องราวตามตำนานที่มีความสัมพันธ์ เกี่ยวข้องกับสถานที่ โบราณสถาน ชุมชนโบราณ ที่มีอยู่จริงหลายแห่ง คือ

  • เมืองนครธม คือ เมืองพระนครธม พระนครหลวงหรือชัยศรีปุระ ที่สร้างขึ้นในยุคพระจ้าชัยวรมันที่ 7 พร้อมกับการปรับปรุงถนน “ราชมรรคา” ขึ้นมาใหม่ จากเครือข่ายเส้นทางเดิมในยุคก่อนหน้า
  • เมืองพิมาย คือ เมืองโบราณที่ตั้งของปราสาทหินพิมาย ที่เล่ากันตามชื่อคำอุทาน ”พี่มาแล้ว” คือตอนที่นางอรพิม เรียกท้าวปาจิตต์ตอนกลับมา ในตำนาน แต่ชื่อที่ปรากฏในจารึกเรียกว่า “วิมาย - วิมายะปุระ”

.

v

.

ปรางค์พรหมทัต ในมณฑลศักดิ์สิทธิ์ด้านในของปราสาทหินพิมาย

ตอกย้ำตำนานการมีตัวตนของท้าวพรหมทัต ผู้หลงรักนางอรพิมจับใจ

จนก่อให้เกิดตำนานพื้นบ้าน

อาจจะมีอยู่จริงในจินตนาการยามเมื่อท่านได้ลองไปนั่งติดฝนอยู่คนเดียวสัก 1 ชั่วโมง

ภายในปรางค์ หน้ารูปพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (จำลอง)

ที่มีละอองฝนโปรยปรายและน้ำหยดลงมาจากยอดปราสาท

แบบที่ผมได้สัมผัสมาแล้ว

.

  • บ้านนางร้อง หรือ เมืองนางรอง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
  • เขาปลายบัด คือ เทือกเขาปลายบัด ทางทิศใต้ของเทือกเขาพนมรุ้ง บนยอดเขาปลายบัดมีปราสาทในวัฒนธรรมเขมร ตั้งแต่ยุคพุทธศตวรรษที่ 15 ถึง 2 แห่ง
  • ลำปลายมาศ คือ ลำน้ำที่เจ้าชายปาจิตต์เทขันหมากทิ้ง เป็นลำน้ำสำคัญในเครือข่ายชุมชนโบราณจำนวนมาก ตามแนวเส้นทางราชมรรคา
  • เขาพนมรุ้ง คือภูเขาไฟที่ดับแล้ว เป็นจุดกึ่งกลางของเส้นทางราชมรรคา มีหลักฐานโบราณคดีพบชุมชนโบราณในอิทธิพลของราชวงศ์มหิธรปุระ จำนวนกว่า 150 แห่ง ตั้งอยู่โดยรอบ บนยอดเขาเป็นที่ตั้งของปราสาทเขาพนมรุ้ง ที่สร้างขึ้นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 จนถึงพุทธศตวรรษที่ 18
  • บ้านจะบวก คือ ชุมชนที่อยู่ใกล้ตัวเมืองนางรองทางทิศใต้ เป็นเมืองโบราณในวัฒนธรรมทวารวดี ถูกซ้อนทับโดยกลุ่มชนในวัฒนธรรมเขมร ที่กลางเนิน มีศาลเจ้าพ่อพญาดินดำ ปรากฏหลักหินทราย 2 หลักตรงตามตำนาน
  • สระเพลิงหรือสระเพลง บ้านหนองบัวราย อำเภอประโคนชัย เป็นบารายขนาดใหญ่ เชิงเขาพนมรุ้ง และมีหลักฐานว่า บนคันขอบบารายทางทิศเหนือ เป็นส่วนหนึ่งของถนนราชมรรคาที่เป็นแนวลงมาจากชุมชนโบราณประทัดบุ
  • หมู่บ้านสำเร็จ หรือ หมู่บ้านสัมฤทธิ์ คือหมู่บ้านที่นางบัวอาศัยอยู่
  • ทุ่งอรพิมพ์ อยู่ใกล้กับ บ้านหนองทองลิ่ม ซึ่งเป็นชุมชนโบราณในยุคพุทธศตวรรษที่ 15 – 16 ปรากฏหลักฐานของซากฐานปราสาทเก่าที่สร้างด้วยอิฐ ฐานศิลาแลงและบารายประจำศาสนสถาน
  • ถนนนางคลาน คือ ถนนที่นางอรพิมหัดคลาน
  • บ้านนางเดิน คือ บ้านที่นางอรพิมหัดเดิน
  • บ้านกงรถ คือ บ้านที่เจ้าชายปาจิตต์ทิ้งรถเอาไว้ ปัจจุบันคือเมืองโบราณรูปวงกลมบ้านกงรถ อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา
  • ท่านางสระผม คือ ท่าน้ำที่นางอรพิมเคยอาบน้ำ สระผม ท่าน้ำนี้อยู่ริมลำน้ำเค็ม ทางทิศใต้ของเมืองพิมาย
  • เมรุพรหมทัต คือ สถานที่ประกอบพิธีถวายพระเพลิงท้าวพรหมทัต

.

v

. สถูปเจดีย์แบบทวารวดี (บูรณะต่อมาในยุคหลัง) กลางเมืองโบราณพิมาย

คือสถานที่ประกอบพิธีถวายพระเพลิงท้าวพรหมทัต ตามตำนานเมืองพิมาย

.

 

จากตำนาน “ท้าวพรหมทัต นางอรพิมและเจ้าชายปาจิต” ในสำนวนต่าง ๆ ที่เล่าขานสืบต่อกันมาทั้งหมดนั้น จะเห็นเค้าของโครงเรื่องที่คล้ายคลึงกันทั้งหมด แต่ชื่อเรียกอาจไม่เหมือนกันไปตามท้องถิ่น เรื่องราวของตำนานได้บอกเล่าถึงการ เดินทาง การติดต่อ และการแวะพักตามเมืองหรือชุมชนต่าง ๆ ทั้งเมืองพิมาย เมืองพระนครธม พนมรุ้ง ที่ล้วนแต่เป็นชุมชนโบราณ ที่มีความสำคัญบนแนวเส้นทางราชมรรคา

.

การเดินทางในเนื้อเรื่องบางตอน ก็จะต้องข้ามลำน้ำ ซึ่งในความเป็นจริง เครือข่ายถนนโบราณก็ต้องอาศัยเครือข่ายของลำน้ำ เป็นเส้นทางติดต่อระหว่างชุมชนที่ตั้งอยู่ห่างไกลด้วยเหมือนกัน

.

ถึงเรื่องราวจะกล่าวถึงเส้นทางที่ตัวละครใช้เดินทางในเนื้อเรื่องแตกต่างไปจากหลักฐานทางกายภาพของเส้นทางราชมรรคา แต่ “ตำนาน” ก็ ยังคงเป็นข้อยืนยันที่สำคัญว่า ผู้เริ่มเล่าเรื่องในสำนวนนี้ ไม่ได้ใช้ถนนราชมรรคาเดินทางในชีวิตจริงทั้งสาย แต่ได้ใช้เครือข่ายของเส้นทางถนนที่มีมากกว่าถนนเพียงเส้นเดียวในการเดินทาง ไปสู่เขตเขมรต่ำ เรื่องราวในสำนวนของเขา จึงได้นำประสบการณ์จากการเดินทางของตนเอง มาผสมบอกเล่าเป็นเส้นทางของเจ้าชายปาจิตต์ ว่า “ได้ออกจากเมืองพระนครธมทางทิศพายัพ” (ตะวันออกเฉียงเหนือ) ซึ่งนั่นก็ตรงกับแนวของเส้นทางราชมรรคาสายเหนือที่มีอยู่จริง แต่การเดินทางกลับไปผ่านช่องแซะลออหรือแซร์ออ ที่อยู่ห่างไปทางใต้ในเขตจังหวัดสระแก้ว (หรืออาจะเป็นเมืองโบราณไทรออ ตำบลเสาเดี่ยว อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์) แทนที่จะใช้ช่องเขาตาเมือน ที่เป็นช่องเขาของถนนราชมรรคา หรือช่องเขาหลายช่องบนเทือกพนมดงรักในเขตจังหวัดบุรีรัมย์

.

v

.

ร่องรายการเดินทางของผู้คน บนเส้นทางสายราชมรรคา

ปรากฏ เป็น "รอยสึกลึกจนเป็นร่อง" ที่มีการวางหิน (เสานางเรียง) ที่มีความแข็งกว่าหินทรายสีแดงมาบังคับร่องของล้อเกวียน ประตูเมืองทางทิศใต้ของเมืองพิมาย

ซึ่งเป็นทิศด้านหน้าของเมือง

หาก ใช้จินตนาการตามตำนานราชมรรคา ผู้คนที่เดินเข้าออกผ่านประตูนี้เพื่อกลับไปยังเมืองพระนครธม คงมี เจ้าชายปาจิตต์ โอรสพระเจ้าชัยวรมัน กับนางอรพิม รวมอยู่ด้วย

.

ตำนาน เรื่อง “ท้าวพรหมทัต นางอรพิมและเจ้าชายปาจิต” นี้ อาจมีส่วนช่วยอธิบายภาพของวิถีชีวิตและช่วย “สร้างจินตนาการ” (Imaging) ถึงเรื่องราวของผู้คนในหลากหลายวัฒนธรรม ที่เคยอาศัยอยู่ตามแนวเส้นทางราชมรรคาในอดีต ทั้งกลุ่มชาติพันธุ์ในวัฒนธรรมเขมรโบราณ แขมร์ลือ แขมร์กรอม ไท – ลาว ไทยอีสาน ไทเบิ้ง ไทยนางรอง ไทยโคราช มาจนถึงคนไทยในปัจจุบัน ได้ดีกว่าการศึกษาเชิงประวัติศาสตร์และโบราณคดีเพียงด้านเดียว

.

และ ด้วยเพราะความสำคัญของเรื่องราวที่อาจเป็นเพียง เรื่องเล่า นิทานตำนานพื้นบ้าน แต่กลับแฝงด้วยข้อมูล ข้อเท็จจริงมากมาย ตำนานเรื่องนี้จึงควรถูกเรียกว่าเป็นหนึ่งของ “ตำนานราชมรรคา” ด้วยเช่นกัน !!!

 

ที่มา:http://www.oknation.net/blog/voranai/2010/06/28/entry-1

 

Go to top