Trump กับThailand ดร.ภคพร กุลจิรันธร ‘America First’ คือวลีชูโรงของโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีคนที่ 45 ของสหรัฐอเมริกา
ทันทีที่ทรัมป์ก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ทรัมป์จะมีอีก 2บทบาทพ่วงมาด้วยคือ หัวหน้าทางการทูต (Chief of Ambassadors)และผู้บัญชาการทหารสูงสุด (Commander-in-Chief) ซึ่งทั้งสองบทบาทนี้จะทำให้ทรัมป์ในฐานะประธานาธิบดีสหรัฐฯมีอำนาจต่อนโยบายต่างประเทศและนโยบายทางทหารอย่างสำคัญ ‘นโยบายต่างประเทศ’จะเป็นอีกพื้นที่ที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะได้แสดงแสนยานุภาพมากที่สุด
อย่างแรก คือ ประธานาธิบดีมีอำนาจในการแต่งตั้งเอกอัครราชทูตและทำสนธิสัญญา (Treaty) กับต่างประเทศได้แต่ทั้งนี้จะต้องควบคู่กับคำแนะนำและการยินยอมของวุฒิสภานั่นหมายความว่าประธานาธิบดีมีอำนาจในการ ‘ริเริ่ม’ นโยบายต่างประเทศต่างๆ ได้ และเลือกเอกอัครราชทูตที่มีวิสัยทัศน์ต่อเรื่องต่างประเทศสอดคล้องกับแนวคิดของตัวเอง
ที่น่าสนใจคือแม้สนธิสัญญากับต่างประเทศจะต้องได้รับการยินยอมจากวุฒิสภาแต่ข้อตกลงระหว่างต่างประเทศ (Executive Agreement) นั้นประธานาธิบดีสามารถดำเนินการตกลงกับประเทศต่างๆ ได้เองโดยไม่ต้องผ่านวุฒิสภา อย่างเช่นข้อตกลงทางการค้าต่างๆหรืออย่างที่เราเห็นว่าทรัมป์สามารถให้สหรัฐฯ ถอนตัวจากความร่วมมือทางการค้า Trans-PacificPartnership (TPP) ได้หากเขาต้องการ
นอกจากนี้ประธานาธิบดียังมีอำนาจยื่นข้อเสนอทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการต่างประเทศต่อรัฐสภาและยังมีอำนาจที่จะยับยั้ง (Veto) กฎหมายที่ประธานาธิบดีคิดว่าขัดต่อผลประโยชน์ของชาติซึ่งนับว่าเป็นอำนาจทางกฎหมายที่สำคัญมากของประธานาธิบดี
และเมื่อมาถึงนโยบายทางทหารในฐานะผู้บัญชาการของกองทัพประธานาธิบดีมีอำนาจที่จะส่งกองกำลังทางทหารไปยังต่างประเทศ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาติหรือเพื่อเป็นการแสดงอำนาจทางทหารในต่างประเทศแม้ประธานาธิบดีจะไม่มีอำนาจในการประกาศสงครามแต่ก็สามารถสั่งให้กองทัพดำเนินการได้ในบางสถานการณ์โดยไม่ต้องได้รับการอนุญาตจากรัฐสภา ซึ่งครั้งสุดท้ายที่สหรัฐฯ ประกาศสงครามก็คือสงครามโลกครั้งที่สอง ดังนั้นที่เราเห็นบทบาทของกองทัพสหรัฐฯ ในสงครามต่างๆหลังจากนั้น เช่น ในอิรัก ก็คืออำนาจของประธานาธิบดี นั่นหมายความว่าถ้าหากทรัมป์ต้องการถอนหรือเพิ่มกำลังทางทหารในทะเลจีนใต้ทรัมป์ก็สามารถทำได้เช่นกัน
Asia Foundation ได้นำเสนอนโยบายต่างประเทศที่สหรัฐฯควรดำเนินการต่อกับทวีปเอเชีย เพื่อรักษาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและความมั่นคงในทวีปเอเชีย อย่างแรกคือ สหรัฐฯควรรักษาอำนาจตัวเองในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อเป็นการถ่วงดุลอำนาจกับจีนซึ่งสิ่งนี้มีความสำคัญต่อความมั่นคงของประเทศต่างๆ ในเอเชีย อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯไม่ควรมีนโยบายต่างประเทศที่ทำให้บรรดาประเทศฝั่งเอเชียลำบากใจหรือทำให้รู้สึกว่าต้องเลือกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง นอกจากนี้สหรัฐฯควรจะเริ่มเจรจากับเกาหลีเหนือเพื่อยับยั้งการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์เพราะที่ผ่านมาเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจไม่สามารถยับยั้งเกาหลีเหนือในการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ได้ในระยะยาวและสุดท้ายสหรัฐฯ ควรจะสานต่อการช่วยเหลือทางทหารกับประเทศในทวีปเอเชียด้วย
แต่แนวคิดของทรัมป์ต่อนโยบายต่างประเทศในเอเชียที่เคยประกาศระหว่างหาเสียงนั้นสวนทางกับนโยบายข้างต้นอย่างสิ้นเชิงทรัมป์เคยพูดไว้ว่า หากประเทศอื่นๆ จะเดินหน้าสู่สงครามและถ้าไม่ได้เกี่ยวข้องกับสหรัฐฯ นั้น ทรัมป์ก็ขอให้ประเทศเหล่านั้นโชคดีและยังขอให้ญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้จ่ายเงินให้กับกองทัพสหรัฐฯที่ส่งกองกำลังไปบริเวณชายแดนของทั้งสองประเทศมากไปกว่านั้นคือทรัมป์ยังเคยประกาศสนับสนุนให้ทั้งญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ผลิตอาวุธนิวเคลียร์เป็นของตัวเองเพื่อเอาไว้คานอำนาจกับเกาหลีเหนือซึ่งสิ่งนี้ขัดกับสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Non-ProliferationTreaty) ที่ 191 ประเทศเข้าร่วม
ด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐฯกับประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอย่าง TPP ที่ AsiaFoundation เสนอว่า สหรัฐฯ ควรจะสานต่อเพราะการล้มเลิกนโยบายเสรีทางการค้า และหันไปสู่นโยบายเศรษฐกิจแนวชาตินิยม (Nationalist/ProtectionistPolicy) ไม่ใช่การแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจที่สหรัฐฯ กำลังเผชิญแต่ทรัมป์ได้ประกาศตั้งแต่วันแรกที่เข้ารับตำแหน่งแล้วว่า สหรัฐฯ จะถอนตัวออกจาก TPP
แม้ว่า TPPจะยังมีอีก 11 ประเทศเป็นสมาชิก ทว่า ชินโซอาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้ออกมาพูดแล้วว่า หากสหรัฐฯซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ถอนตัวออกจาก TPP ก็อาจทำให้ข้อตกลงTPP นั้นไร้ความหมายและจะกระทบต่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของเอเชียอย่างสำคัญ
แม้Trumpจะยังไม่ได้เข้ามาเป็นประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการซึ่งจะต้องรอถึงวันที่20 มกราคม 2017 สิ่งที่พอวิเคราะห์จากแนวนโยบายของTrump สรุปหลักการได้ว่า Trump ในฐานะประธานาธิบดีจะเป็นคนที่มีเหตุมีผล (Rational) มากขึ้น ต้องเผชิญกับสถานการณ์และสภาพข้อเท็จจริงของสหรัฐอเมริกาขณะเดียวกัน Trump ก็ต้องซื่อสัตย์กับแนวนโยบายในการหาเสียงมิฉะนั้นจะทำให้ผู้เลือกเขาเข้ามาไม่พอใจ
นโยบายทางเศรษฐกิจที่Trumpต้องทำตามสัญญาคือ การลดภาษีเงินได้นิติบุคคลและบุคคลธรรมดาอัตราการลดต้องมีการลดแบบมีนัยสำคัญซึ่งอาจจะตรงหรือแตกต่างจากที่สัญญาไว้บ้างอีกนโยบายที่ Trump ต้องทำแน่คือการใช้จ่ายเรื่องสาธารณูปโภคพื้นฐาน ซึ่งตอนหาเสียงกำหนดไว้พันล้านล้านดอลลาร์โดยหวังว่ารัฐจะไม่ต้องใช้งบประมาณเลยเพราะจะให้เอกชนดำเนินการ สมมติฐานของ Trumpคือ เอกชนเป็นผู้ลงทุนและเอกชนจะได้ Tax credit ในอัตราสูงเพื่อจูงใจ และ Trump หวังจะเก็บภาษีทั้งนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาที่มาจากบริษัทก่อสร้างและอื่นๆ ที่ปรึกษาบอกว่า โครงการแบบนี้รัฐบาล Trump ไม่ต้องใช้งบประมาณเลยอย่างไรก็ตามในความเป็นจริงนั้น การสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานหนึ่งพันล้านล้านดอลลาร์นั้นเอกชนอาจแบกรับไม่ไหว จำนวนเงินดังกล่าวเอกชนอาจไปไม่ถึง ที่ปรึกษาของ Trumpจึงออกมาพูดในทำนองว่าจะสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานในวงเงินประมาณ 5แสนล้านดอลลาร์
การลดภาษีเงินได้บวกกับการขยายการก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานเป็นนโยบายที่Trumpใช้กระตุ้นเศรษฐกิจของอเมริกาดัวยเหตุผลนี้เองจึงทำให้ตลาดหุ้นดาวโจนส์หลังจากที่ตกลงไปอย่างหนักเมื่อรู้ข่าวว่า Trump ชนะการเลือกตั้งแต่ในวันต่อมาก็ดีดกลับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทั้งนี้ นักวิชาการเชื่อว่าเศรษฐกิจของอเมริกาจะฟื้นตัวขึ้นซึ่งคาดว่าอาจจะสูงประมาณ 2.2 – 2.4% และเงินเฟ้อจะสูงขึ้นเกิน 2% ในขณะเดียวกันก็มีการคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยในอเมริกาจะสูงขึ้นเนื่องจากธนาคารกลางของสหรัฐฯ จำเป็นต้องดำเนินนโยบายป้องปรามเงินเฟ้อด้วยการขึ้นดอกเบี้ยผลจากแนวคิดนี้ส่งผลให้นักลงทุนทั่วโลกหันมาซื้อดอลลาร์แลมีการทิ้งหุ้นและพันธบัตรในประเทศกำลังพัฒนาดังจะเห็นได้ในกรณีของไทย 2-3 เดือนที่ผ่านมาต่างชาติขายสุทธิประมาณ 35,000 ล้านบาท(ความจริงมีการขายมาก่อนการเลือกตั้งหนึ่งถึงสองเดือน) และมีแนวโน้มขายต่อไปในอนาคตเนื่องจาก 7 เดือนแรก ต่างชาติซื้อหุ้นสุทธิประมาณ 105,000ล้านบาท ผลกระทบดังกล่าวทำให้เกิดความผันผวนของตลาดหุ้น พันธบัตรอัตราแลกเปลี่ยน โภคภัณฑ์ โดยเฉพาะโภคภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง เช่น ทองแดงนิกเกิล เพราะเชื่อว่า การลงทุนสาธารณูปโภคพื้นฐานจะทำให้เกิดอุสงค์ของโภคภัณฑ์ดังกล่าว
Trump มีนโยบายยกเลิกข้อตกลงปารีสและให้ความสำคัญกับพลังงานฟอสซิลเนื่องจากข้อตกลงปารีสนั้น Trump เห็นว่าเป็นแค่การหลอกลวงของจีนที่ต้องการให้อเมริกาลดการพึ่งพาพลังงานฟอสซิลและหันมาใช้พลังงานทดแทนซึ่งนั่นหมายถึงจะส่งผลต่ออุตสาหกรรมพลังงานฟอสซิลของอเมริกาซึ่งมีวัตถุดิบมากมายและส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของอเมริกาด้วย อย่างไรก็ตามผู้เขียนยังไม่เชื่อว่า Trump จะยกเลิกข้อตกลงปารีสซึ่งอเมริกาได้ให้สัตยาบันไปแล้วทั้งนี้เพราะจะส่งผลกระทบต่อประเทศต่าง ๆ เกือบ 200 ประเทศที่ร่วมตกลงและจะส่งผลต่อปัญหา Climate change อย่างไรก็ตาม Trumpคงจะมีการให้ความสำคัญและเปิดเสรีให้กับธุรกิจที่ใช้พลังงานแบบเดิมทั้งถ่านหินและน้ำมันผลที่ตามมาคือ ถ่านหินราคาเพิ่มขึ้น ส่งผลดีกับประเทศที่ส่งออกพลังงานประเภทนี้โดยเฉพาะในอาเซียน ได้แก่ อินโดนีเซีย เป็นต้น
นโยบายทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศของTrumpที่มีผลกระทบต่อโลกคือ การที่ Trump จะเก็บภาษีนำเข้าจากจีนในอัตรา45% ความจริงนั้นผู้เขียนเชื่อว่า Trump คงจะไม่กล้าทำถึงขนาดนั้นเพราะจะทำให้เกิดสงครามด้านการค้าโดยจีนสามารถตอบโต้ได้เช่นกันจีนนั้นมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากอเมริกาอเมริกาเองก็ลงทุนในจีนเยอะจึงมีการพูดเปรย ๆ ว่า ถ้าทำเช่นนั้นจะไม่มีการสั่งชื้อBoeing และสินค้า IT ของอเมริกาและจีนสามารถแก้เผ็ดด้วยการ sanction อเมริกาเช่นกัน มีการประเมินว่า ทุก ๆ 15% ของการขึ้นภาษีมีผลทำให้GDP ของจีนลดลง 1% และเนื่องจากอาเซียนมีความสัมพันธ์ทั้งทางการค้าและการลงทุนกันจีนจะส่งผลให้GDP ของไทยลดลง 0.5% มาเลเซียลดลง 0.3%เกาหลีใต้และญี่ปุ่นลดลง 0.3% ดังนั้นถ้ามีเพิ่มภาษีนำเข้า45% เศรษฐกิจจีนก็คงเผชิญปัญหาวิกฤตซึ่งจะส่งผลเป็นลูกโซ่ต่อเอเชียต่อโลก และต่ออเมริกาด้วย ผู้เขียนเชื่อว่า Trump คงจะสร้างเงื่อนไขต่อรองระดับสูงไว้แต่เอาเข้าจริงจะมีมาตรการผ่อนปรนโดยในที่สุดอาจมีการเล่นงานจีนโดยเรียกจากภาคธุรกิจที่มีการอุดหนุนทางการค้าการทุ่มตลาดและขอให้จีนอย่าเอาผลผลิตที่มีเหลือ เช่น เหล็ก ออกขายไปยังประเทศต่างๆ ซึ่งก็ทำให้ธุรกิจประเภทนี้ในประเทศต่าง ๆ มีปัญหาและล้มละลายก็มีกล่าวอีกนัยหนึ่งแม้ Trump จะไม่ได้ทำกับจีนเต็มที่ตามที่เคยกล่าวไว้แต่การขยายตัวของการกีดกันทางการค้าจะสูงขึ้น รวมกับการยกเลิก TPP และการปรับ NAFTA ใหม่การขยายตัวการกีดกันทางการค้าอาจทำให้เศรษฐกิจโลกทรุดลงเศรษฐกิจของยุโรปและญี่ปุ่นซึ่งยังต้องใช้มาตรการช่วยไม่ว่าจะเป็น QE หรือดอกเบี้ยติดลบ อีกทั้งจีนก็มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่ำการกีดกันทางการค้าก็คงทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงส่งผลกระทบต่อการส่งออกและกระทบกับการท่องเที่ยวรวมทั้งไทยด้วย
ในระยะกลางถ้านโยบายของ Trumpในการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการลดภาษีนิติบุคคลและบุคคลธรรมดารวมทั้งการลงทุนในสาธารณูปโภคพื้นฐานหลายแสนล้านดอลลาร์นั้นเกิดไม่เป็นไปตามที่คาดไว้นั่นคือ เกิดการขยายตัวของหนี้สาธารณะ (ขณะนี้สูงถึง 75% ของGDP) และเงินเฟ้อ เศรษฐกิจอเมริกาที่กำลังฟื้นก็อาจเผชิญการกลับมาของเศรษฐกิจที่ถดถอยลง(Recession) ในกรณีดังกล่าวจะส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกอย่างรุนแรง อย่างไรก็ตามภาพฉายดังกล่าวนี้ยังเป็นเพียงการดาดเดาเท่านั้น ความชัดเจนจะมีมากขึ้นหลังจากที่ Trumpดำเนินมาตรการในอนาคต
โดยสรุป นโยบายของ Trump ในระยะสั้นจะส่งผลในเรื่องความผันผวนของตลาดหุ้นตลาดพันธบัตร อัตราแลกเปลี่ยน ตลาดโภคภัณฑ์และในระยะกลางอาจสร้างปัญหาการกีดกันทางการค้าที่ขยายตัวมากขึ้นซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศและการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอื่นๆโดยเฉพาะผลกระทบต่อจีนและภูมิภาคเอเชีย อาเซียน และรวมทั้งไทยด้วย
ขอขอบคุณบทความจาก : http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=shirley129&month=12-01-2017&group=1&gblog=30