แพทย์แผนไทย โคราช รักษาโรค SLE ไขความลับวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคพุ่มพวง ( SLE)
รถตู้ให้เช่า ร้อยเอ็ด
หมอเอ ณัฐปราชญ์ คลินิก

korat_history  อาณาจักรปัตตานี (อักษรยาวี:كراجأن ڤتاني ,มลายู:Kerajaan Patani) ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศไทย ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลาและนราธิวาสในปัจจุบัน ไม่มีข้อสรุปแน่ชัดว่าอาณาจักรปัตตานีถือกำเนิดขึ้นเมื่อใด และใครเป็นผู้ก่อตั้ง แต่น่าจะมีความสืบเนื่องไปถึงสมัยลังกาสุกะ ซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่11 เดิมอาณาจักรปัตตานีนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน แต่ในราวพุทธศตวรรษที่ 21 ได้เริ่มเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม และมีความเจริญรุ่งเรืองมาก โดยบางช่วงอาณาจักรแผ่ขยายครอบคลุมถึงกลันตันและตรังกานู ตอนกลางของมาเลเซีย แต่หลังการสิ้นสุดราชวงศ์ศรีวังสา อาณาจักรปัตตานีก็เริ่มเสื่อมลง จนตกอยู่ในอำนาจของสยามในปี พ.ศ. 2329 และกลายเป็นเมืองขึ้นเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2445 ก็ถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสยามประเทศ

 

ไฟล์:Queen Hiau of Patani.jpg

 

 

ประวัติ

 

 

เมืองปัตตานีพัฒนาขึ้นมาจากหมู่บ้านเล็กๆ ริมฝั่งทะเล เมื่อมีเรือสินค้ามาจอดแวะอยู่บ่อยๆ เมืองก็ขยายตัวออกไป มีผู้คนมาอาศัยหนาแน่น รายาศรีวังสาจึงย้ายเมืองหลวงจาก "โกตามะห์ลิฆัย" เมืองหลวงเก่า มายังปัตตานี สมัยนั้นการติดต่อกับต่างชาติ โดยเฉพาะอินเดียและอาหรับได้ส่งผลสำคัญคือการยอมรับนับถือศาสนาอิสลามในสมัย ของราชาอินทิราโดยชาวปาไซที่ทำการรักษาอาการป่วยของราชาอินทิรา และการดัดแปลงอักษรอาหรับเป็นอักษรยาวี นอกจากนี้ยังติดต่อกับอาณาจักรอยุธยาอย่างใกล้ชิด พ.ศ. 2106 พม่ายกทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยา รายามุซซอฟาร์ได้ส่งทัพไปช่วย แต่เมื่อมาถึงปรากฏว่ากองทัพปัตตานีกลับบุกเข้าไปในเมือง แม้จะยึดพระราชวังไว้ได้ แต่สุดท้ายก็ถูกตีตอบโต้กลับมา รายามุซซอฟาร์สิ้นพระชนม์ขณะยกทัพกลับ พระศพถูกฝังไว้ที่ปากอ่าวริมแม่น้ำเจ้าพระยา โอรสของพระองค์จึงได้ชื่อว่า รายาปาติกสยาม จากเหตุการณ์นี้ทำให้ความสัมพันธ์กับอยุธยาตกต่ำลง ขณะที่เหตุการณ์ภายในก็เต็มไปด้วยการแย่งชิงอำนาจในหมู่เครือญาติเรื่อยมา จนกระทั่งไม่มีผู้สืบทอดอำนาจหลงเหลือ บัลลังก์รายาจึงตกเป็นของสตรีในที่สุด

อาณาจักรปัตตานีในช่วงสมัยรายาฮีเยา(พ.ศ. 2127-2159) ถึงรายากูนิง (พ.ศ. 2178-2231) ซึ่งล้วนเป็นกษัตรีย์ ถือเป็นอาณาจักรของชาวมลายูที่มี ความรุ่งเรืองมากที่สุด หลังจากมะละกาตกเป็นเมืองขึ้นของโปรตุเกส ทำให้ปัตตานีกลายเป็นศูนย์กลางการค้าขายและมีความรุ่งเรืองมาก ดังบันทึกของชาวต่างชาติว่า

“พลเมืองปัตตานีมีชายอายุ 16-60 ปี อยู่ถึง 150,000 คน เมืองปัตตานีมีผู้คนหนาแน่น เต็มไปด้วยบ้านเรือน บ้านเรือนราษฎรนับตั้งแต่ประตูราชวังถึงตัวเมืองปลูกสร้างเรียงรายไม่ขาด ระยะ หากว่ามีแมวเดินบนหลังคาบ้านหลังแรกไปยังหลังสุดท้าย ก็เดินได้โดยไม่ต้องกระโดดลงบนพื้นดินเลย”

และ “ปัตตานีมีแคว้นต่างๆ อยู่ภายใต้การปกครองถึง 43 แคว้น รวมทั้งตรังกานู และกลันตันด้วย”

การที่อาณาจักรปัตตานีรุ่งเรืองจนเป็นคู่แข่งทางการค้าของอาณาจักรอยุธยา รวมไปถึงการที่ปัตตานียกทัพตีเมืองพัทลุงและนครศรีธรรมราช ในปีพ.ศ. 2173 ก่อให้เกิดสงครามตามมาถึง 3 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2173  พ.ศ. 2175 และพ.ศ. 2177  สร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจของทั้ง 2 ฝ่ายเป็นอย่างมาก แต่ถึงปีพ.ศ. 2178 รายาอูงูเสด็จสวรรคต นำไปสู่การเจริญสัมพันธไมตรีที่แน่นแฟ้นของ 2 อาณาจักรขึ้นใหม่ในช่วงสั้นๆ ราชวงศ์ศรีวังสาสิ้นสุดลง เมื่อกองทัพกลันตันยกทัพตีเมืองปัตตานีแตกในปี พ.ศ. 2231 รายากูนิงเสด็จหนีไปและสิ้นพระชนม์ที่แคว้นปาหังทางตอนใต้ หลังจากนั้นมาอาณาจักรปัตตานีก็ไม่สามารถกลับมารุ่งเรืองได้อย่างเก่าอีก และอยู่ภายใต้การปกครองของกลันตัน เศรษฐกิจที่ซบเซาทำให้อาณาจักรอ่อนแอลง

ในปี พ.ศ. 2329 รัชกาลที่ 1 ทรงยกทัพตีเมืองปัตตานีไว้ได้ ปัตตานีจึงเป็นประเทศราชของสยามตั้งแต่บัดนั้น กองทัพสยาม ได้เผาเมือง และพระราชวังไพลิน หรือ อิสตานาลีลัม อย่างราบคาบ กวาดต้อนเชลยมายังกรุงเทพ แล้วได้ยึดเอาทรัพย์สมบัติและปืนใหญ่ที่หล่อในสมัยรายาบีรูไป 3 กระบอก แต่เหลือมาถึงกรุงเทพเพียง 1 กระบอก คือปืนใหญ่พญาตานี ปัจจุบันอยู่หน้ากระทรวงกลาโหม แต่ความไม่พอใจต่อการปกครองของชาวสยาม ก่อให้เกิดกบฏขึ้นในปี พ.ศ. 2334 และ พ.ศ. 2351 รัชกาลที่ 2 จึงแยกอาณาจักรปัตตานีเป็น 7 หัวเมือง แต่ก็ยังเกิดการกบฏอีกในปี พ.ศ. 2374 และ พ.ศ. 2381 รัชกาลที่ 3 จึงทรงตัดสินพระทัยให้ราชวงศ์กลันตันปกครองปัตตานีต่อมา และกวาดต้อนเอาเชลยศึกมาตั้งถิ่นฐานริมคลองแสนแสบ กระทั่งปีพ.ศ. 2445 รัชกาลที่ 5 ทรงเตรียมการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล การปกครองโดยราชวงศ์กลันตันจึงยุติลง และถือเป็นปีสิ้นสุดของอาณาจักรปัตตานี ซึ่งกลายเป็นส่วนหนึ่งของสยามโดยสมบูรณ์ มณฑลปัตตานีก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2449 แต่ถึงปีพ.ศ. 2466 ชาวบ้านจำนวนมากก็ออกมาชุมนุมประท้วงข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่น รัชกาลที่ 6 จึงทรงออกพระบรมราโชบายสำหรับมณฑลปัตตานี เมื่อ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 ไว้ 6 ข้อเพื่อแก้ไขความไม่เป็นธรรมของเจ้าหน้าที่และข้าราชการ และนำไปสู่การยุบมณฑลปัตตานีเป็น 3 จังหวัด คือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จนถึงทุกวันนี้

แต่ถึงกระนั้นยังคงมีการชุมนุมประท้วงการปกครองจากรัฐบาลอยู่เสมอ เช่น พ.ศ. 2482 จอมพล ป. พิบูลสงครามได้จัดตั้งสภาวัฒนธรรม บังคับให้ประชาชนสวมหมวก แต่งกายแบบไทย ทำตามวัฒนธรรมไทย ห้ามพูดภาษามลายู ฯลฯ รวมกับการกดขี่จากเจ้าหน้าที่รัฐจนลุกลามไปเป็นกบฏดุซงญอในพ.ศ. 2491 มีผู้เสียชีวิตกว่า 400 คน และการประท้วงของชาวบ้านกว่า 3 หมื่นคน ในพ.ศ. 2528 เมื่อกระทรวงศึกษาธิการออกคำสั่งให้ประดิษฐานพระพุทธรูปในโรงเรียน และอีก 3 ปีต่อมา ก็ออกคำสั่งห้ามคลุมศีรษะ(ฮิญาบ) เข้าสถานศึกษา หรือ กรณีมัสยิดกรือเซะ ที่มีผู้เสียชีวิต 107 คน และเหตุการณ์ตากใบ ซึ่งมีผู้เสียชีวิตอีกกว่า 84 คน

 

ลำดับกษัตริย์และผู้ปกครองอาณาจักรปัตตานี

 

korat_history

 

 

ราชวงศ์ศรีวังสา

รายาศรีวังสา (พ.ศ.?-2043)

รายาอินทิรา หรือรายามูฮัมหมัดชาห์ (พ.ศ. 2043-2073)

รายามุซซอฟาร์ (พ.ศ. 2073-2106)

รายามันโซร์ชาห์ (พ.ศ. 2106-2115)

รายาปาเตะสยาม (พ.ศ. 2115-2116)

รายาบะห์โดร์ (พ.ศ. 2116-2127)

รายาฮีเยา (พ.ศ. 2127-2159)

รายาบีรู (พ.ศ. 2159-2167)

รายาอูงู (พ.ศ. 2167-2178)

รายากูนิง (พ.ศ. 2178-2231)

 

ราชวงศ์กลันตัน

รายาบากาล (พ.ศ. 2231-2233)

รายาเออร์มัสกลันตัน (พ.ศ. 2233-2250)

รายาเออร์มัสจะยัม (พ.ศ. 2250-2253)

รายาเดวี (พ.ศ. 2253-2262)

รายาบึนดังบาดัน (พ.ศ. 2262-2266)

รายาลักษมณาดายัง (พ.ศ. 2266-2267)

รายาอาลุงยานุส (พ.ศ. 2267-2269)

รายายานุส (พ.ศ. 2269-2270)

รายามูฮัมหมัด ( พ.ศ. 2270-2328)

 

การปกครองของสยาม

เต็งกูลูมิดีน (รายาบังดังบันดัน) (พ.ศ. 2328-2334)

ดาโต๊ะปังกาลัน (พ.ศ. 2334-2352)

พระยาตานี (ขวัญซ้าย) (พ.ศ. 2352-2358)

พระยาตานี (พ่าย) (พ.ศ. 2358-2359)

ตวนสุหลง (พ.ศ. 2359-2375)

นิยูโซฟ (พ.ศ. 2375-2381)

 

ราชวงศ์กลันตัน

เต็งกูมูฮัมหมัด (พ.ศ. 2381-2399)

เต็งกูปูเตะ (พ.ศ. 2399-2425)

เต็งกูตีมุง (พ.ศ. 2425-2433)

เต็งกูบอสู (สุไลมานซารีฟุดดีน) (พ.ศ. 2433-2442)

เต็งกูอับดุลกอเดร์ (กามารุดดีน) (พ.ศ. 2442-2445)

 

 

 

 

เจ้าผู้ครองปัตตานี องค์สุดท้าย

 

 

 

Abdulkordae Kamaruddin.jpg

พระยาวิชิตภักดี (เต็งกูอับดุลกอเดร์ กามารุดดีน)

 

พระยาวิชิตภักดีศรีสุรวังษารัตนาเขตประเทศราช (เต็งกูอับดุลกอเดร์ กามารุดดีน) (มาเลย์: Tengku Abdul Kadir Kamaruddin) เจ้าผู้ครองปัตตานีในช่วงปี พ.ศ. 2442 - 2445 ถือเป็นเจ้าผู้ครองปัตตานีองค์ที่ 5 และเป็นเจ้าผู้ครองปัตตานีองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์กลันตันที่ปกครองปัตตานี

 

 

พระประวัติ

พระยาวิชิตภักดีศรีสุรวังษารัตนาเขตประเทศราช (เต็งกูอับดุลกอเดร์ กามารุดดีน) เป็นพระโอรสในพระยาวิชิตภักดีศรีสุรวังษารัตนาเขตประเทศราช (เต็งกูสุไลมานซารีฟุดดีน) โดยมีพระพี่น้องร่วมกัน 4 พระองค์ดังนี้ คือ

เต็งกูสุหลง ชายาเต็งกูบิตารา ชายาท่านนี้มีมารดาคือเต็งกูนิปูเตะ ธิดารายาเมืองสายบุรี

เต็งกูบือซาร์ ต่วนกัมบัล ชายาเต็งกูมูฮัมหมัด อุปราชเมืองปัตตานี

เต็งกูอับดุลกอเดร์ กามารุดดีน

เต็งกูมูฮัมหมัดซอและ

 

พระโอรส-ธิดา

เต็งกูอับดุลกอเดร์ กามารุดดีนมีทายาทจากเต็งกูบุตรีกลันตันด้วยกัน 6 พระองค์ โดยเป็นโอรส 3 พระองค์ และธิดา 3 พระองค์ ได้แก่

เต็งกูอะหมัดนูรุดดีน (เต็งกูศรีอาการายา) จากต่วนนามัสปะตานี

เต็งกูซูไบด๊ะ (เต็งกูบือซาร์) พระอัยกีในสมเด็จพระราชาธิบดีตวนกู ซัยยิด ซีรอญุดดีน รายาแห่งรัฐปะลิส ประเทศมาเลเซีย

เต็งกูยูโซฟชาฟุดดีน

เต็งกูราว์เดาะ ประไหมสุหรีรายาหะยี ฮาหมัดเประ

เต็งกูกามารีเยาะ ทายาทอินเจะมอร์นะปะตานี

เต็งกูยะห์ ชายาเต็งกูอับดุลกอเดร์ (เต็งกูปุตรา) บุตรรายาเมืองสายบุรี

เต็งกูมะห์มูดหมูดมะห์ยุดดีน

 

ตำแหน่งเจ้าผู้ครองปัตตานี

หลังจากพระยาวิชิตภักดีศรีสุรวังษารัตนาเขตประเทศราช (เต็งกูสุไลมานซารีฟุดดีน) พระบิดาได้สิ้นพระชนม์แล้ว เต็งกูอับดุลกอเดร์ กามารุดดีนจึงได้ขึ้นเป็นผู้ครองเมืองแทนนับเป็นรายาองค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์กลันตันที่ปกครองปัตตานี

 

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ต่อมาในปี พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราโชบายในการเปลี่ยนแปลงการปกครองจาก 7 หัวเมือง ให้มารวมเป็นเมืองเดียว ยกเลิกอำนาจเจ้าเมืองทั้ง 7 โดยจัดตั้งเป็นมณฑลปัตตานี โดยพระองค์ทรงตระหนักถึงบรรดารายาทั้งหลายที่ต้องคัดค้าน แต่อย่างไรก็ตามพระองค์ก็ทรงส่งองคมนตรีท่านหนึ่งเพื่อมาปรึกษาหารือเรื่อง ราวดังกล่าว โดยสยามได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะมอบบำเหน็จบำนาญแก่รายาทั้งหลายจนถึงวาระสุด ท้ายแห่งชีวิต แต่ทว่าสิทธิและรายได้ในเมืองปัตตานีจะต้องมอบรัฐบาลสยามในกรุงเทพฯ และรายาปัตตานีก็ไม่ต้องส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทอง (บุหงามาส) ดังเช่นที่ทำมาตั้งแต่อดีต

บรรดารายาหลายองค์ก็เห็นด้วย และลงมือชื่อยินยอมในพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัว ยกเว้นเต็งกูอับดุลกอเดร์ที่ไม่ยินยอม ด้วยเหตุนี้องคมนตรีชาวสยามจึงได้ใช้วิธีการที่แข็งกร้าวโดนการคุมตัวเต็งกู อับดุลกอเดร์ โดยรายาองค์อื่นๆยินยอมลงลายมือชื่อยกเว้นรายาระแงะ และรายารามัน ภายหลังรายาทั้งสองก็ยินยอมปฎิบัติตามในภายหลัง ต่อมาองคมนตรีได้นำตัวเต็งกูอับดุลกอเดร์ไปยังกรุงเทพมหานคร เพื่อให้รายาองค์นี้ลงลายมือลายชื่อ แต่เต็งกูอับดุลกอเดร์ก็ไม่ยินยอม ในที่สุดรายาพร้อมด้วยพรรคพวกถูกส่งกักขังที่เมืองพิษณุโลก บางคนก็เสียชีวิตกลางทาง และบางคนก็เสียชีวิตที่เมืองพิษณุโลก

หลังจากการเต็งกูอับดุลกอเดร์ถูกกักขังอยู่นานถึง 2 ปี 9 เดือน ในปี พ.ศ. 2448 พระองค์จึงได้รับพระบรมราชานุญาตให้เดินทางกลับเมืองปัตตานี แต่เมืองปัตตานีนั้นได้เปลี่ยนแปลงไป คือได้ทำการรวม 7 หัวเมืองเป็นเมืองเดียวกัน และอยู่ภายใต้การดูแลของเจ้าเมืองสงขลาซึ่งมีข้าหลวงใหญ่ พระยามหิบาลประจำที่เมืองปัตตานี บรรดาเจ้าเมืองก็ต่างรอรับเงินบำนาญจากรัฐบาลสยาม

สิ้นพระชนม์

หลังจากเต็งกูอับดุลกอเดร์ กามารุดดีนกลับมายังเมืองปัตตานีแล้ว ภายหลังพระองค์พร้อมด้วยครอบครัวได้อพยพไปประทับ ณ รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน จนถึงปี พ.ศ. 2476เต็งกูอับดุลกอเดร์ กามารุดดีนก็สิ้นพระชนม์ โดยหลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ ปัตตานีจึงอยู่ในขอบขัณฑสีมาของสยามตั้งแต่บัดนั้น

 

 

 

แม้ปัจจุบันอาณาจักรปัตตานีได้ล่มสลายไปแล้ว แต่ยังหลงเหลือ โบราณสถานที่แสดงถึงความรุ่นเรื่องของอาณาจักรปัตตานีในอดีต คือ

มัสยิดกรือเซะ โบราณสถานเพียงแห่งเดียวที่ยังหลงเหลืออยู่ ส่วนอื่นๆถูกกองทัพสยามเผาจนสูญหายหมด

 

korat_history

korat_history

korat_history

korat_history

korat_history

 

 

 

 

 

ปืนใหญ่พญาตานี หน้ากระทรวงกลาโหม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ที่มา:http://board.postjung.com/647351.html

 

Go to top