มันน่าสนใจที่ว่าครั้งหนึ่งโลกเคยถูกช่วยไว้ด้วยบุคคลกลุ่มหนึ่งที่เราไม่ รู้มาก่อนว่าเขาเป็นใคร ช่วยเหลือโลกยังไง หลายคนแทบหลงลืมด้วยซ้ำ โชคดีที่ประวัติศาสตร์ไม่ได้หลงลืมพวกเขา และได้บันทึกเรื่องราวของพวกเขาไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ในฐานชายและหญิงที่ ช่วยชีวิตคนนับล้าน(รวมทั้งคุณ)โดยไม่รู้ตัว และชื่อของพวกเขาเหล่านี้ไม่ปรากฏการณ์ในหนังสือชั้นเรียนประวัติของคุณแน่ นอน
6. Vasili Alexandrovich Arkhipov(30 มกราคม 1926-1999)
คุณรู้หรือไม่ว่าหากโลกปราศจากบุคคลนี้ สงครามโลกครั้งที่ 3ในช่วงสงครามเย็นระหว่างสหรัฐและโซเวียตได้เกิดขึ้นแน่ เรื่องของเรื่องมาอยู่ว่าในวันที่ 27 ตุลาคม 1962 ซึ่งช่วงวิกฤตขีปนาวุธคิวบาซึ่งเป็นช่วงอ่อนไหวมากๆ ที่จะเสี่ยงเกิดสงครามโลกอยู่นั้น เรือดำน้ำขีปนาวุธลาดชั้น Foxtrot B-59 ของโซเวียตที่ปฏิบัติการอยู่ที่ คิวบากำลังฝึกซ้อมการทำงานอยู่นั้น เรือได้ถูกล้อมโดยเรือของกองทัพสหรัฐฯ และถูกโจมตีโดยระเบิดน้ำลึกอย่างหนักหน่วง จนกระทั้งกัปตันเรือของโซเวียตลงความเห็นว่าควรยิงตอร์ปิโตติดหัวเรือ นิวเคลียร์ไปที่สหรัฐ ฯ เพื่อตอบโต้ ซึ่งหากทำแบบนี้เท่ากับว่าสงครามโซเวียตและสหรัฐนั้นเกิดขึ้นแน่นอน
แต่กระนั้นตามกฎจะยิงตอร์ปิโตนั้นจำเป็นต้องอาศัยการโหวดเจ้าหน้าที่สามคนที่ ประจำเรือ ซึ่งในกลุ่มนั้นมีเพียงพระเอกของเราคือวาซิลิ อเล็กซานเดอร์ อาร์คิปอพ เท่านั้นที่คัดค้านการยิงและเกลี้ยกล่อมให้กัปตันนำเรือดำน้ำขึ้นเหนือผิว น้ำเพื่อรอคำสั่งจากมอสโคว์ ซึ่งเขาก็ทำได้สำเร็จ ส่งผลทำให้สงครามนิวเคลียร์ไม่เกิด โลกพ้นหายนะได้อีกครั้ง
แต่อนิจจาเรื่องราวของ วาซิลิ อเล็กซานเดอร์ อาร์คิปอพ ที่ช่วยโลกไว้นั้นไม่เป็นที่เปิดเผยแต่สาธารณะชนเท่าใดนัก รู้แต่ว่าเขาเกิดในครอบครัวชาวนาใกล้กรุงมอสโก ได้รับการศึกษาโรงเรียนทหารเรือและมีส่วนร่วมในสงครามโซเวียตกับญี่ปุ่นใน ต่างประเทศในปี 1945ต่อมาในปี 1961 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองบังคับการในเรือดำน้ำขีปนาวุธนำวิถี K-19 และได้อุบัติเหตุและเขาก็ได้รับรังสีจากเหตุการณ์ดังกล่าว(เหตุการณ์ดัง กล่าวถูกดัดแปลงเป็นภาพยนตร์K-19) และหลังจากเหตุการณ์ในวันนั้นก็ได้เลื่อนเป็นพลเรือตรีและได้ตำแหน่งมากมาย ก่อนที่จะพ้นตำแหน่งในช่วงกลางทศวรรษที่ 1980 และได้รับขนามนามว่า “วาซิลิ อาร์คิปอพผู้ช่วยเหลือโลก” และเรื่องราวของเขาได้รับแรงบันดาลใจในภาพยนตร์เรื่อง Crimson Tide (1995)
5. James Harrison, GoldenArm
เจมส์ แฮร์ริสันได้รับฉายาว่า “GoldenArm” หรือแขนทองคำ เป็นนักบริจาคเลือด ชาวออสเตรเลีย เขาได้รับบันทึกสถิตโลกว่าเป็นบุคคลบริจาคโลกที่ช่วยทารกกว่าสองล้านของจาก โรครีซัส (Rhesus disease = โรคที่เกิดจากกลุ่มเลือด Rh ไม่เข้ากัน)
เจมส์ แฮร์ริสันเกิดในปี 1935 หรือ 1936 ตอนเขาเขาอายุ 14 เคยได้รับการผ่าตัดรวงอกครั้งใหญ่ ใช้เลือดคนอื่นไปถึง 13 ลิตร ในช่วงการพักรักษานานกว่าสามเดือน และได้ตระหนักว่าเขารอดชีวิตมาได้เพราะเลือดคนอื่นบริจาค และเขาก็ได้ปฏิญาณว่าทั้งชีวิตของเขาจะอุทิศในการบริจาคเลือด และแล้วนับจากนั้นเป็นต้นมาเมื่อเขาอายุ18ปีก็บริจาคเลือดมาโดยตลอด จนถึงปัจจุบันเขาบริจาคกว่าพันครั้งจนได้รับบันทึกเป็นสถิตโลก และหลังจากนั้นก็มีการค้นพบว่าเลือดของเขามีแอนติบอดีหายากที่จะช่วยป้องกัน ไม่ให้ทารกที่ได้รับเลือดของเขาเสียชีวิตจากโรครีซัสซึ่งเป็นชนิดร้ายแรงของ โรคโลหิตจาง ซึ่งทางทีมแพทย์ได้นำเลือดดังกล่าวไปรักษาผู้หญิงตั้งครรภ์นับแสนๆ คน แถมยังมีการใช้รักษาทารกอีกต่างหาก รวมแล้วก็ช่วยชีวิตทารกไปแล้ว 2.2 ล้านคนในช่วงการบริจาคติดต่อกัน 56 ปี โดยนอกจากบริจาคเลือดแล้วเขายังเป็นอาสาสมัครคนสำคัญที่มีส่วนร่วมในการ พัฒนาวัคซีน (Anti-D vaccine) เพื่อป้องกันโรคนี้ด้วย และปัจจุบันเขาก็ยังบริจาคเลือดเป็นประจำโดยเขากล่าวว่า “ผมไม่เคยคิดจะหยุดบริจาคเลือด ไม่เคย แม้แต่ในความคิด” และด้วยเกียรติประวัตินี้เองทำให้เขาได้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ของออสเตรเลีย และเคยถูกเสนอชื่อเขาชิง บุคคลแห่งปีของออสเตรเลียแม้เขาไม่ได้ชนะก็ตาม
4.Viktor Zhdanov(1914-1987) & Donald Henderson(เกิด1928-ปัจจุบัน)
นอกจากสงครามก่อการร้ายที่โลกสมัยใหม่ต้องเผชิญแล้ว สงครามระหว่างมนุษย์และเชื้อโรคก็ถือว่าเป็นสงครามที่เกิดขึ้นมาช้านานและ ไม่มีวันจบ โลกต้องเผชิญเชื้อโรคระบาดมากมาย ไม่ว่าจะเป็นกาฬโรค เอดส์ โรคพิษสุนัขบ้า และในช่วงเวลาเหล่านี้ย่อมเกิดวีรบุรุษขึ้น อย่างหลุยส์ ปาสเตอร์ แต่ใครจะรู้บ้างว่ายังมีบุคคลสองคนที่ครั้งหนึ่งได้ช่วยโลกไว้จากเชื้อโรค สุดอันตรายเอาไว้
คนแรกคือวิคเตอร์เป็นนักไวรัสวิทยา เขาพยายามรณรงค์ให้ทั่วโลกกำจัดโรคฝีดาษ โดยเขาเกิดในหมู่บ้านเล็กๆ ในยูเครน จบการศึกษาจากโรงเรียนแพทย์ในปี 1936 จ่อมาก็ทำงานเป็นแพทย์ทหารบกและเริ่มสนใจวิชาระบาดวิทยาและศึกษาเรื่อยมาจน ได้รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีผู้ช่วยสาธารณสุขของสหภาพโซเวียตในปี 1958 และเริ่มริเริ่มดำเนินการให้ทั่วโลกให้ความสำคัญในการกำจัดไข้ทรพิษซึ่งเป็น โรคเก่าแก่ที่สุดในประวัติมนุษย์ชาติ ที่อันตรายและน่ากลัวที่สุด โดยเสนองานวิจัยทางวิทยาสตร์ด้วยการฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งความจริงแล้ววัคซีนดังกล่าวสร้างเสร็จมานานตั้งแต่ ปี 1796 แล้ว เอ็ดวาร์ด เจนเนอร์ เป็นคนสร้างวัคซีน หากแต่วัคซีนดังกล่าวยังไม่ได้เผยแพร่ ทำให้ไข้ทรพิษระบาดไปทั่วโลก ซึ่งวิคเตอร์ได้เห็นปัญหาดังกล่าวเขาเลยเสนอต่อสมัชชาอนามัยโลก ที่ต่อมาก็ถูกยอมรับโยหัวหน้าแพทย์อเมริกันโดนัลด์ เฮนเดอสัน ซึ่งมีความคิดที่จะทำสงครามกับไข้ทรพิษมานานแล้ว โดยแผนการดังกล่าวได้ถูกนำไปใช้จนเกิดประโยชน์สูงสุด โดยผลงานเด่นคือในปี 1966 การรณรงค์กำจัดโรคฝีดาษที่ระบาดในบราซิล, แอฟริกา และเอเชียใต้ และปี 1972 ช่วยกันปราบปรามไข้ทรพิษในยุโรป จนไข้ทรพิษแทบหายสาบสูญจากโลก ประเทศปากีสถาน อินเดีย และเนปาลที่ครั้งหนึ่งเคยเกิดโรคนี้ระบาดอย่างร้ายแรง ปัจจุบัน ได้ประกาศว่าประเทศทั้งสามเป็นดินแดนปลอดฝีดาษ 100% และเมื่อวันที่ 17 เมษายน 1978 โลกได้รับรายงานว่ามีคนป่วยด้วยโรคฝีดาษเป็นคนสุดท้ายในโซมาเลีย และก็ได้รับการรักษาจนหาย นับถึงวันนี้ไม่มีใครป่วยเป็นโรคฝีดาษอีกเลย จนเราอาจกล่าวได้ว่า โลกไม่ถูกฝีดาษรบกวนในระยะเวลา 25 ปีที่ผ่านมา
3. Henrietta Lacks(18 สิงหาคม 1920 – 4 ตุลาคม 1951)
เรื่องราวของเธอที่ได้กลายเป็นผู้ช่วยเหลือโลกโดยไม่รู้ตัวนั้น เริ่มต้นขึ้นในปี 1951 เมื่อ เฮนเรียตต้า หญิงชาวอเมริกันแอฟริกันอายุ 30 ปี ซึ่งมีฐานะยากจน อาศัยอยู่ใน บัลติมอร์ สหรัฐอเมริกาได้เข้ารับการรักษาในมะเร็งปากมดลูก ที่ รพ.จอห์น ฮอปกินส์ ในแผนก ผู้ป่วย(ผิวดำ)อนาถาหากแต่ก็สายไปเสียแล้วเพราะโรคมะเร็งของเธอได้ลุกลาม อย่างรวดเร็วและรุนแรง เธอเสียชีวิตในเวลา 8เดือนต่อมา
แต่..... เรื่องราวของเฮนเรียตต้ายังไม่จบ เพราะเธอได้รับขนามนามว่า “อมตะ” เนื่องจากหลังจากที่เธอตายแพทย์ได้สังเกตว่าชิ้นส่วนเนื้อเยื่อเซลล์มะเร็ง ที่หลงเหลือระหว่างการผ่าตัดของเธอยังคงมีชีวิตอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ มันยังคงดำเนินกิจกรรมภายในเซลล์อย่างปกติ เจริญเติบโตและแบ่งตัวอย่างไม่มีที่สิ้นสุด—จวบจนเวลาปัจจุบัน…… เซลล์ของ เธอถูกตั้งชื่อว่า “HeLa Cell” ซึ่งมาจากชื่อย่อของเธอ ต่อมาถูกเรียกว่า “เซลล์อมตะเซลล์แรกของโลก”โดยมีการคำนวณอย่างคร่าวๆว่า เซลล์ของเธอที่เพาะขึ้นใหม่ ได้มีจำนวนมากกว่าจำนวนของเซลล์ในร่างกายของเธอเองเสียอีก และอาจจะเอามาแผ่คลุมโลกได้ทั้งใบอีกด้วย
ในสมัยนั้นยังไม่มีกฎหมายการยินยอมอย่างเป็นทางการจากผู้ป่วยที่เอาอวัยวะหลัง เสียชีวิตไปทดลองหรือเพื่อก้าวหน้าในวงการแพทย์(หรืออาจมีแต่ไม่เข้มงวด) เซลล์ของเธอนั้นได้ถูกนำวิจัยเพื่อความก้าวกระโดดทางการแพทย์ โดยเซลล์ดังกล่าวเพราะในสถาวะแวดล้อมที่เหมาะสมและมีอาหารหล่อเลี้ยงเพียงพอ เพื่อศึกษากระบวนการทางชีวิวิทยาของเซลล์มะเร็ง นำไปสู่การรักษามะเร็งในอนาคตข้างหน้า นอกจากนี้เซลล์ดังกล่าวถูกแบ่งไปให้นักวิจับทั่วโลก จนสามารถนำมาใช้ประโยชน์มากมาย เป็นต้นว่า รู้กลไกการเกิดเซลล์มะเร็ง กลไกติดเชื้อเอดส์ ผลของรังสีและสารพิษของเซลล์ นอกจากนี้ยังมีประโยชน์อย่างมหาศาลต่อการพัฒนาองค์ความรู้ทางชีวะวิทยา และวิทยาศาสตร์การแพทย์ เซลล์ของเธอยังมีส่วนในการพัฒนาวัคซีนโปลิโอ ซึ่งทำให้ช่วยคนทั่วโลกได้มหาศาล และที่สำคัญเซลล์ของเธอยังเป็นนำมาใช้เป็นแนวทางผลิตอาวุธนิวเคลียร์อีกด้วย
แต่อนิจจา(อีกแหละ) เฮนเรียตต้าไม่ได้เครดิตแม้แต่น้อยว่าเป็นเจ้าของเซลล์ ประเด็นดังกล่าวถูกนำมาพิจารณาครั้งหนึ่งในศาลแห่งรัฐแคลิฟอร์เนียและได้รับ การตัดสินว่า “ชิ้นส่วนเนื้อเยื่อของบุคคลใดๆที่ถูกทิ้ง ไม่ถือเป็นสมบัติของผู้นั้นอีกต่อไป และสามารถถูกนำมาใช้ในเชิงการค้าได้” และในขณะที่เซลล์ของเธอได้สร้างคุณ ประโยชน์ต่อโลก และสร้างรายได้มหาศาลให้กับบริษัทยา แต่เชื่อหรือไม่ว่าลูกหลายของเจ้าของเซลล์นั้นต้องมีชีวิตแร้งแค้น และยากลำบาก ไม่ได้รับการศึกษา และสวัสดิการด้านสุขภาพที่ดีพอ และครอบครัวของเธอต้องทุกข์ใจแต่ละครั้งที่เซลล์ของเธอไม่ได้เครดิตมานานนับ สามสิบปี ปัจจุบันลูกหลานของเธอได้เขียนคำจารึกในหลุมฝังศพของเธอไว้ว่า “เฮนเรียตต้า18 สิงหาคม 1920 – 4 ตุลาคม 1951 เซลล์ที่เป็นอมตะของเธอยังคงอยู่...และช่วยมนุษย์ตลอดไป ด้วยรักนิรันดร์และความยินดีจากครอบครัวของคุณ”
2. Henry Dunant(8 พฤษภาคม 1828- 30 ตุลาคม 1910)
นายอังรี ดูนังต์ เป็นนักธุรกิจและนักกิจกรรมทางสังคมชาวสวิส และถ้าไม่มีเขาหน่วยงานกาชาดจะไม่เกิดขึ้นบนโลกเป็นแน่แท้
นายอังรี ดูนังต์ถือกำเนิดในครอบครัวที่มั่นคั่งมีอิทธิพลในเมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ หากแต่พ่อแม่ของเขานั้นสอนเขาอยู่เสมอถึงคุณค่าในงานรับใช้ช่วยเหลือสังคม ในขณะอายุ 18 เขาก็อุทิศให้กับงานสังคมสังเคราะห์ เมื่ออายุ 21 เขาถูกบังคับออกจากมหาลัยเพราะทำเกรดไม่ดี ต่อมาเขาก็ไปฝึกงานกับบริษัททางการเงินและประสบผลสำเร็จในอาชีพ ต่อมาเขาในปี 1856 เขาก็เดินทางเพื่อไปดูงานในแอฟริกาเหนือ พอดีในเวลานั้น เขาได้ผ่านไปที่สมรภูมิซอลเฟริ โน ประเทศอิตาลี เขาเห็นทหารบาดเจ็บล้มตายจำนวนมากโดยไม่มีผู้รักษาพยาบาล ภาพอันสยดสยองนี้ทำให้ดูนังต์อดได้ลงมือช่วยเหลือผู้บาดเจ็บด้วยตนเอง แล้วขอร้องประชาชนหญิงในท้องถิ่นนั้นมาช่วยด้วย
จากประสบการณฺนี้เอง ดูนังต์ได้เขียนหนังสือขึ้นเล่มหนึ่งเมื่อ 3 ปีต่อมา ให้ชื่อว่า "Un Souvenir de Solferino" (A Memory of Solferino) แปลว่า "ความทรงจำเรื่องที่ซอลเฟริโน" และกล่าวตอนหนึ่งเป็นเชิงรำพึงว่า "จะเป็นไปไม่ได้หรือที่จะตั้งองค์การอาสาสมัคร ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือทหารบาดเจ็บในยามสงคราม" ในที่สุดได้มีผู้เสนอความคิดของดูนังต์จัดตั้งเป็น คณะกรรมการระหว่างประเทศเพื่อบรรเทาทุกข์ทหารบาดเจ็บ ” (International Committee for the Relief of Wounded Combatants) เมื่อวันที่ 17กุมภาพันธ์ 1863 ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น "สภากาชาดสากล” (International Commitee of the Red Cross) และเจริญเป็นปึกแผ่นเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันนี้
ดูนังต์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ซึ่งให้เป็นครั้งแรกในปี 1901( ร่วมกับ เอฟ. ปาสสี ชาวฝรั่งเศสผู้เริ่มขบวนการสันติ ดูนังต์ถึงแก่กรรม ในขณะมีอายุ 82 ปี เมื่อเปิดพินัยกรรมปรากฎว่า ดูนังต์ไม่ได้ใช้จ่ายเงินรางวัลต่างๆ ที่ได้รับเพื่อประโยชน์ส่วนตัวเลย คงเก็บเงินทั้งหมดไว้และได้แบ่งส่วนยกให้สถาบันสาธารณสงเคราะห์ของสวิสเซอร์ แลนต์และนอร์เวย์หลายแห่ง ในเวลาต่อมา
1. Norman Borlaug(25 มีนาคม ค.ศ. 1914 - 12 กันยายน ค.ศ. 2009)
นอร์แมน เออร์เนสต์ บอร์ล็อก นักวิชาการการเกษตรชาวอเมริกัน ผู้ก่อตั้งมูลนิธิเวิลด์ฟู้ดไพรส์ ผู้ได้รับการยกย่องให้เป็น "บิดาแห่งการปฏิวัติสีเขียว" และ “ผู้ช่วยชีวิตผู้คนมากกว่าใครในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ” โดยเขาได้เปลี่ยนโฉมการเกษตรที่สมัยก่อนปลูกพออยู่พอกินนำไปสู่การเพาะปลูก ที่ได้ผลผลิตสูง รวมทั้งการสร้างนวัตกรรมเพิ่มผลผลิตอาหารสองเท่า ช่วยให้หลายประเทศหลีกเลี่ยงกลียุคที่เกิดจากความอดอยาก ในช่วงทศวรรษ 1960
นอร์แมนเกิดเมื่อ 25 มีนาคม ค.ศ. 1914 ในฟาร์มแห่งหนึ่งในไอโอวา เรียหนังสือถึงเกรด 8 ที่บ้าน และเรียนวนศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยมินเนโซตา และได้เรียนต่อในปริญญาเอกสาขาโรคพืช ต่อมาเขาก็ทำงานกับมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์(มูลนิธิที่มุ่งเน้นเรื่อง พื้นฐานการอยู่รอด เช่น อาหาร น้ำและที่อยู่อาศัย) โดยเขาเริ่มงานในเม็กซิโกหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งตอนนั้นประเทศเม็กซิโก ซึ่งถูกลำดับว่าเป็นประเทศที่มีการพัฒนาน้อยซ้ำยังต้องนำเข้าอาหารอย่างมาก มายจากสหรัฐอเมริกา ด้วยเหตุนี้ นอร์แมน หนึ่งในคณะผู้วิจัยได้พัฒนาใน ฐานะที่เป็นผู้นำการคิดค้น และนำเสนอเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตอาหารจากการเกษตร พัฒนาพันธุ์ข้าวสาลีหลากหลายสายพันธุ์ ที่มีความต้านทานโรค และทำให้ผลผลิตมากกว่าสายพันธุ์เดิม จนได้พันธุ์ข้าวสาลีพันธุ์ต้นเตี้ยที่ให้ผลผลิตส่งผลทำให้ช่วง 15 ปีให้หลัง ผลผลิตของข้าวสาลีในเม็กซิโก เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า
นอกจากนี้นอร์แมนยังพัฒนาพันธุ์ข้าวและข้าวโพดที่ผ่านการปรับปรุงพันธุ์ใน เอเชียตะวันออกกลาง อเมริกใต้และแอฟริกา โดยมี อินเดีย และปากีสถาน ที่ได้ประโยชน์จากพันธุ์ใหม่มากที่สุด จากผลผลิตที่เพิ่มขึ้นเป็นสี่เท่า ซึ่งความสำเร็จของเขาทำให้แก้ปัญหาการประมาณการว่าผู้เชี่ยวชาญระบุว่าโลกจะ อยู่สภาวะอดอยากเนื่องจากประชากรโลกสูงขึ้นได้ประมาณการนอร์แมน ว่าสามารถ ช่วยเหลือประชากรโลกจากความอดอยากได้มากกว่าพันล้านคน และช่วยชีวิตคนได้มากกว่า 245 ล้านคน ด้วยผลงานของเขาทำให้เขาได้พลเรือนเกียรติศักดิ์จากประเทศอินเดีย ทำให้เม็กซิโกส่งออกข้าวสาลีมากยิ่งขึ้น นั่นเองที่ทำให้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี ค.ศ. 1970 ซึ่งเขาเป็นนักวิทยาศาสตร์การเกษตรคนเดียวของโลกที่ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ
นอร์แมน เออร์เนสต์ บอร์ล็อก เสียชีวิตที่บ้านพักในเมืองดัลลัส รัฐเท็กซัสเมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2009ด้วยภาวะแทรกซ้อนจากโรคมะเร็ง ขณะอายุ 95 ปี
ที่มา:http://www.fwdder.com/topic/314249