แพทย์แผนไทย โคราช รักษาโรค SLE ไขความลับวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคพุ่มพวง ( SLE)
รถตู้ให้เช่า ร้อยเอ็ด
หมอเอ ณัฐปราชญ์ คลินิก

korat_talk

 เทศกาลแห่งความรักทีไร เป็นต้องได้เห็นความห่วงใยจากผู้หลักผู้ใหญ่ในประเด็นวัยรุ่นเสียตัว มีเซ็กซ์ทั้งที่ไม่พร้อมและไม่ปลอดภัย เสี่ยงเกิดปัญหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจ และตัวการร้ายที่อาจทำให้ต้องเสียตัวนั่นก็คือ สารบางอย่างที่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้มีการยกเรื่อง 'ยาเสียสาว' มากล่าวถึง

อย่าง 'จีเอชบี' (Gamma-hydroxybutyrate) ในอดีตยาดังกล่าวถูกใช้เป็นยาสลบทางการแพทย์ ใช้เป็นยานอนหลับ รักษาภาวะง่วงหลับ ใช้ช่วยในการคลอด รักษาโรคพิษสุราเรื้อรัง เพราะมีฤทธิ์กดประสาทให้หลับ แต่จากการใช้งานกลับพบว่า มีผลข้างเคียงอันตราย กรณีที่ใช้ในปริมาณมาก อาจทำให้ผู้ป่วยบางรายเสี่ยงเกิดอาการชักและเสียชีวิตได้ จึงได้ยก เลิกการใช้ยาดังกล่าวแล้ว และจัดให้เป็นยาในกลุ่มควบคุมพิเศษที่ห้ามใช้ทุกกรณี ไม่เว้นแม้แต่ทางการแพทย์ หรือจัดอยู่ในกลุ่มวัตถุออกฤทธิ์ประเภทที่ 1

ทว่ายังมีรายงานว่า มีการลักลอบใช้ยาจีเอชบีทั้งที่เป็นสิ่งผิดกฎหมาย เพราะเล็งเห็นผลหลังใช้ยานี้ ผู้ใช้จะรู้สึกสบาย เคลิบเคลิ้มเป็นสุข และช่วยกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ

นอกจากนี้ยังมี 'อัลปราโซแลม' (Alprazolam) ซึ่งแท้จริงแล้วทางการแพทย์ใช้เป็นยาคลายความกังวล ทำให้รู้สึกสงบ และช่วยให้หลับ แต่ถ้าใช้ไปนานๆ อย่างไม่ถูกต้องอาจทำให้เสพติดได้ จึงส่งผลให้กลุ่มคนที่ไม่หวังดีลอบใช้ยานี้ในทางที่ผิด ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงสั่งยกระดับจากเดิมที่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภทที่ 4 ให้เป็นประเภทที่ 2 โดยลงนามในประกาศไปเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2555 ก่อนจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 17 มิถุนายนนี้

korat_sex tip

อย่างไรก็ตาม ขณะที่ยาอัลปราโซแลม ยังไม่มีผลเป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภทที่ 2 ทางอย.ได้ มีการแจ้งไปตามร้านยาและคลินิก เพื่อให้ส่งคืนยาชนิดนี้คืนผู้ผลิตให้หมดก่อนวันที่ 16 มิถุนายน เพราะแต่เดิมยานี้อนุญาตให้จำหน่ายในร้านที่มีใบอนุญาตถูกต้อง แต่การจะซื้อขายต้องมีใบสั่งแพทย์กำกับ ซึ่งหลังประกาศมีผลแล้ว ยานี้จะใช้ได้เฉพาะในโรงพยาบาลของรัฐและเอกชนที่มีใบอนุญาตเท่านั้น กล่าวคือ ยาดังกล่าวจะถูกควบคุมเหมือนกับยาแก้หวัดสูตรผสมตัวยาซูโดอีเฟดรีน

สำหรับเหตุผลสำคัญที่มีการหยิบยกอันตรายของยาจีเอชบี และอัลปราโซแลม เนื่องจากไม่มีสี ไม่มีกลิ่น จึงไม่อาจสังเกตเห็นหรือดมกลิ่นได้เลย ดังนั้นผู้หญิงจึงอาจตกเป็นเหยื่อของผู้ไม่หวังดี แอบผสมยาดังกล่าวลงในเครื่องดื่มให้ดื่ม และเมื่อดื่มแล้วก็มักมีผลต่อสติสัมปชัญญะ

เรื่องราวในตอนต้น อาจทำให้หลายคนสงสัยถึงวัตถุออกฤทธิ์ และการแบ่งประเภท ดังนั้นเพื่อความเข้าใจที่ชัดเจน จึงอธิบายเพิ่มเติมว่า พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 เรียกวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท สั้นๆ ว่า 'วัตถุออกฤทธิ์' โดย ความหมายถึง วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่เป็นสิ่งธรรมชาติ หรือที่ได้จากสิ่งธรรมชาติหรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่เป็นวัตถุ สังเคราะห์

ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว ยังแบ่งวัตถุออกฤทธิ์ไว้ 4 ประเภท ประกอบด้วย ประเภท 1 เป็น สารที่มีศักยภาพก่อให้เกิดการใช้ยาในทางที่ผิด เสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพสูงและไม่มีการใช้ในทางการแพทย์ ส่วนใหญ่มีฤทธิ์หลอนประสาท, ประเภท 2 เป็นยาที่มีศักยภาพก่อให้เกิดการใช้ในทางที่ผิดสูง อันตรายต่อสุขภาพมาก มีการใช้ในทางการแพทย์อยู่ในวงจำกัด

ประเภท 3 เป็นยาที่มีศักยภาพก่อให้เกิดการใช้ในทางที่ผิดปานกลาง อันตรายต่อสุขภาพปานกลาง มีใช้ในทางการแพทย์มาก, และประเภท 4 เป็นยาที่มีศักยภาพในการก่อให้เกิดการใช้ในทางที่ผิดต่ำ เสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพน้อย มีใช้ในทางการแพทย์มาก

ดังนั้นในทางปฏิบัติ สารหรือยาที่เข้าข่ายวัตถุออกฤทธิ์ ประเภท 1 จึงถูกห้ามโดยเด็ดขาด แม้แต่ในทางการแพทย์ด้วย ส่วนประเภทที่ 2 จะมีใช้วงจำกัดเฉพาะในโรงพยาบาลรัฐและเอกชนที่มีใบอนุญาต และแพทย์ต้องสั่ง ขณะที่ประเภทที่ 3 และ 4 ร้านขายยาที่มีใบอนุญาตถูกต้องเท่านั้นจึงจะขายได้ จำหน่ายเฉพาะมีใบแพทย์สั่ง

เพื่อลดปัญหาสังคม หากพบเห็นการจำหน่ายยาเสียสาว หรือยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอย่างผิดๆ แนะแจ้งเบาะแสให้อย.ทราบ.

ทีมเดลินิวส์ออนไลน์

ที่มา:
http://www.dailynews.co.th/article/440/184197

 

Go to top