แพทย์แผนไทย โคราช รักษาโรค SLE ไขความลับวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคพุ่มพวง ( SLE)
รถตู้ให้เช่า ร้อยเอ็ด
หมอเอ ณัฐปราชญ์ คลินิก

korat_health

 

ช่วงของการรณรงค์ให้คน ทั้งประเทศลดการตายจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคเส้นเลือดในสมองตีบ แตก หรือแม้กระทั่งไตวาย ซึ่งมีเบาหวาน ความดันโลหิตสูงเป็นต้นเหตุ ด้วยการปลุกกระแสให้คนไทยมีวิถีสุขภาพที่ถูกต้องตามหลัก 3อ.และ 2ส.Ž อันประกอบด้วย อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ ลดการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และลดความอ้วน


ในบรรดา 3 อ. สิ่งที่ยากที่สุด คือ อารมณ์Ž

เวลา พูดถึงอาหาร ออกกำลังกาย สามารถพูดและสื่อเป็นรูปธรรมได้ง่าย แต่มาถึงเรื่องอารมณ์มันเป็นเรื่องที่สื่อยาก เพราะมันคือสิ่งที่เกิดจากจิตใจ เป็นเรื่องที่ยากแท้หยั่งถึง ทางการแพทย์และสาธารณสุขเรียกว่า Spiritual HealthŽ

ผู้ เขียนเคยกล่าวไปแล้วนั้น จิตŽ เป็นจุดสตาร์ตสำคัญที่สุด เพราะทำให้เห็นการกระทำต่อเนื่องอย่างน้อย 3 อย่าง คือ คิดŽ พูดŽ และ ทำŽ ผู้เขียน คาใจŽ หลายประเด็นๆ ที่เกี่ยวกับเรื่อง อารมณ์Ž ว่าจะสื่ออย่างไร? ในการที่จะมีผลต่อการลดความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง หรือเบาหวาน ตาม 7 สี จราจรชีวิต จากสีแดง ระดับ 3 รุนแรงที่สุดให้ลดเป็นสีส้มระดับ 2 สีเหลืองระดับ 1 สีเขียวเข้ม ระดับ 0 รูปแบบการรณรงค์มีหลายอย่าง เช่น ให้ หัวเราะŽ ยิ้มเข้าไว้Ž คิดในเชิงบวกŽ (Positive Thinking) คิดดี ทำดีเข้าไว้ ใจสบาย แล้วทุกอย่างจะดีเองในที่สุด ตามภาษาธรรมะ และผลของการกระทำทั้งหมด คือ ทุกข์Ž กับ สุขŽ เป็นผลพวงสุดท้ายที่มีผลกระทบต่อชีวิต‚และสัญญาณชีวิตก็คือ สุขภาพดีขึ้นหรือแย่ลง

การที่เราจะทำสิ่งใด แรงกระตุ้นที่จะมีส่วนช่วยผลักดันให้เราทำหรือไม่ทำคือ ศรัทธาŽ เพราะเป็นความเชื่อที่จิตใจพุ่งแล่นและคล้อยไปหา เข้าคู่กับ ปัญญาŽ ด้วยการพิจารณาไตร่ตรอง มองหาความจริงที่ว่า ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่วŽ ความดีŽ คือความสบายใจ ความสุขใจ หากแต่การ ทำชั่ว คือทุกข์ใจ วุ่นวายใจŽ กังวลใจ

เครียด ทุกข์Ž คือ ตัวปัญหา เรามีหน้าที่ต่อมันอย่างไร?

หน้าที่ ต่อปัญหา หรือความทุกข์ ก็คือ เราต้องทำความรู้จักว่ามันคืออะไร? อยู่ตรงไหน? มีขอบเขตเพียงไหน? กำหนดรู้ให้ชัดเจน จับให้ถูกต้องเสียก่อน จึงจะแก้ได้ถูกต้อง แล้วเรียนรู้สิ่งที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับปัญหาทั้งหมดเพื่อการคลี่คลาย ปัญหาได้ถูกต้องต่อไป..

จําไว้ว่า เราไม่มีหน้าที่ สร้างปัญหาŽ นะครับ

สุขŽ ‚ลักษณะของ จิตที่ดีงามŽ ที่เดินถูกทาง คือ คิดดี พูดดี ทำดี มีตัวอย่างเป็นปัจจัยส่งทอดต่อกันตามลำดับ คือ 3ป.Ž 2ส.Ž

1) ปราโมทย์ ได้แก่ ความแช่มชื่น ร่าเริง เบิกบานใจ

2) ปีติ ได้แก่ ความปลาบปลื้มใจ ใจฟูขึ้น

3) ปัสสัธิ ได้แก่ ความรู้สึกผ่อนคลายกายใจ ใจราบรื่น สงบเย็นสบาย

4) สุข ได้แก่ ความสุข ความคล่องใจ โปร่งใจ ไม่ติดขัด

5) สมาธิ เป็นผลสืบเนื่องจากเบิกบานใจ ปลื้มใจ ผ่อนคลายกายใจ

 



เมื่อสุขใจ‚จิตใจก็จะตั้งมั่น สงบ อยู่กับตัว อยู่กับงานที่ทำ หรือเรื่องที่เกี่ยวข้อง ไม่วอกแวก ไม่ฟุ้งซ่าน นั่นคือ สมาธิเกิดขึ้นแล้วŽ จิตใจก็มีสภาวะที่พร้อมและเหมาะแก่การทำงาน จะงานอะไรๆ ก็ทำได้อย่างสงบครับ‚ถ้ามีเพียงแค่ข้อแรก คือ ปราโมทย์Ž ก็ถือว่าเพียงพอแล้ว...ก็จะเกิด step ต่อไป...ซึ่งสิ่งที่สำคัญในการบรรลุเพียง ปราโมทย์Ž ข้อแรกให้ได้นั้น เราจะ ลงมือทำอย่างไร?Ž ปฏิบัติให้ถูกต้องอย่างเป็นระบบในตัวเรา (ค่อยๆ ทำไป) หลักสำคัญมี 4 ประเด็น 1 ทำความรู้จัก กำหนดให้ถูก อย่างที่ 2 กำจัดสาเหตุ อย่างที่ 3 เข้าถึงจุดหมาย และอย่างที่ 4 สุดท้าย คือ ลงมือทำทันที

ทาง ธรรมŽ แบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ สิ่งเป็นทุกข์ เป็นปัญหา เป็นจุดเกิดของปัญหา เช่น ร่างกาย จิตใจ ชีวิตโศกเศร้า ผิดหวัง สุข หรือทุกข์จาก รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ความเปลี่ยนแปลงความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อีกพวกเหตุก่อให้เกิดทุกข์ ต้องละเลิก แก้ไข ได้แก่ ความโลภ โกรธ หลง ความเห็นแก่ตัว เย่อหยิ่ง ริษยา ความประมาท โง่เขลา

อีกพวกที่เราต้องการหรือเป็นจุดหมายที่ควรทำให้ สำเร็จ ได้แก่ ความสงบ ร่มเย็น เบิกบาน ไร้ทุกข์ ความเป็นอิสระ ภาวะปลอดพ้นปัญหา ความไร้ทุกข์ ความสุขแท้ที่สุขภาพ และสุดท้ายเป็นข้อปฏิบัติ เป็นสิ่งที่ต้องทำ ต้องปฏิบัติบำเพ็ญเพื่อก้าวไปให้ถึงจุดหมาย เพื่อให้เจริญงอกงามเพิ่มพูนขึ้น หรือ ต้องลงมือทำŽ ลงมือปฏิบัติŽ ตัวอย่างเช่น เมตตา ไมตรี มิตรภาพ กรุณา ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความสำเร็จ ความขยันหมั่นเพียร ความมีกำลังใจ ฉันทะ ศรัทธา สงบ สมาธิ ปัญญา สัมปชัญญะ ฯลฯ (นั่นคือมรรค ไตรสิกขา สมถะ‚.และธรรมอื่นๆ)

เมื่อต้นเดือน กุมภาพันธ์ ที่บ้านพักสิงห์บุรี ผู้เขียนได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาง ปูน อำเภออินทร์บุรี คุณประเสริฐ และคุณวิเชียร พันธ์สุข เกี่ยวกับการรณรงค์ 3อ.Ž ประเด็น อารมณ์Ž นั้น ถกเถียงกันไปมาในแง่มุมต่างๆ ทั้งในเชิงวิเคราะห์และสังเคราะห์อย่างหลากหลาย แล้วก็ได้คำตอบในวงสนทนาว่า  การหัวเราะ ยิ้มแย้ม แจ่มใส ก็ใช่แนวทางของการสร้างอารมณ์ที่ดี เพราะคนไทยและคนต่างชาติว่าคนไทยอารมณ์ดี จนเป็น Motto ยิ้มสยามŽ เมืองไทยจึงเป็น เมืองยิ้มสยามŽ

การคิดเชิงบวก หรือ Positive Thinking ก็ถูก ก็ใช่ เป็นเรื่องกระแสและการสร้างค่านิยมของคนรุ่นใหม่ ทางด้านจิตใจในเรื่อง ความคิดในแง่บวกŽ คนที่เสนอตัวเองว่าเป็นอย่างนี้ คนคนนั้นจะได้รับความนิยมชมชอบ ยิ่งเป็นคนที่มีชื่อเสียงหรือดารา จะได้รับเสียงกรี๊ดกันเกรียวกราว กระแสความชื่นชอบในแง่บวก ผลักให้คนอื่นถูกมองว่ามีความคิดในแง่ลบไปไว้ในมุมมืด กลายเป็นคนไม่น่าคบหาสมาคม พูดคุยแล้วมีแต่ความไม่สบายใจ ก่อให้เกิดความขัดแย้งไปเสียอีกต่างหาก...เหมือนสังคมจะได้คำตอบที่เป็นพอ สรุปได้เลยว่า ความสุขของชีวิตคือการมองโลกในแง่บวกŽ ต้องรณรงค์ให้ครบโดยคิดบวกมากเยอะๆๆ

ถึงวันนี้ ความคิดของคนอยู่ในสังคมไทย มาถึงจุดแบ่งพวก แบ่งพ้อง แบ่งฝ่ายชัดเจน ค่านิยมมองโลกในแง่บวกนั้นยังดำรงอยู่ แต่ความเปลี่ยนแปลงเป็น มองเฉพาะพวกพ้องหรือคนร่วมแนวทางเดียวกับตนŽ ใครเป็นฝ่ายเดียวกัน ไม่ว่าจะคิด พูด ทำอะไร ก็ถูกไปหมด ขณะเดียวกัน พวกอยู่ฝ่ายตรงข้าม ทุกอย่างที่แสดงออกจะเป็นเรื่องเลวร้าย รับไม่ได้เสียหมดเลย ความคิดในแง่บวกกับความคิดในแง่ลบก็ได้ถูกนำมาใช้กับเรื่องพวกเรื่องฝ่าย ขึ้นมา เกิดบทสรุปทางความคิดที่ว่า สองมาตรฐานŽ ในคนเดียวกัน ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นกับสังคมไทยเราเรียบร้อยแล้ว

ทั้งหลายทั้งปวง วิวัฒนาการของเหตุการณ์บ้านเมือง ในสังคมไทยพัฒนาเรื่อยๆ‚คงหนีไม่พ้นกับ ความจริงŽ คืออะไร? ไม่มีอะไรถูกที่สุด และไม่มีอะไรไม่ถูกไม่ดีที่สุด‚หากเอาศาสนามาจับแนวคิดนี้น่าจะถูกต้อง เหมือนกับเป็นการค้นหา สัจธรรมŽ การมองปัญหาเริ่มจากต้นเหตุที่เป็นจริง ไม่ใช้การคิดเอาเอง ทั้งการคิดบวกคิดลบ จะทำให้เกิดการแก้ไขได้ผลกว่า

เอ๊ะ! คุยเรื่องจิตไหงมาการเมือง (ฮา)



ใน ที่สุดการสนทนาสามฝ่าย ได้ข้อเสนอจากคุณประเสริฐ ว่าสิ่งที่เรารณรงค์เรื่องอารมณ์จะสำเร็จได้ ต้องให้ชาวบ้านหรือคนไทยเข้าถึง ธรรมะŽ คุณวิเชียร ผู้เป็นสามีได้ฟังแล้วตาเบิ่ง เสริมทันทีว่าใช่เลย

ผู้เขียนสนับ สนุนและเล่าให้ฟังว่าได้อ่านหนังสือ ธรรมะŽ ฉบับเรียนลัดของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต) เมื่อสุขแท้ก็ถึงธรรมŽ ท่านกล่าวว่า มนุษย์ต้องการชีวิตที่มีความสุขที่แท้จริงและเราก็ดำเนินชีวิต เพียรพยายาม ทำทุกอย่างเพื่อหาสิ่งนี้ หลักในการสร้างชีวิตที่ดีและมีความสุขนี้ ไม่มีอะไรมากก็คือการเข้าถึง ธรรมŽ เป็นอันเดียวกัน เมื่อเราเข้าถึงชีวิตที่ดี มีความสุขที่แท้จริง ก็คือเข้าถึง ธรรมŽ พูดสั้นๆ ว่า เมื่อสุขแท้‚ก็ถึงธรรม

ผู้เขียน อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วบอกได้ว่าสร้างปัญญา แก้ปมหลายอย่างที่ คาใจŽ ดังที่เกริ่นไว้ตอนต้น ‚ปฏิบัติธรรมคืออะไร อะไรบ้าง อย่างไร และที่สำคัญคือ ศีล สมาธิ ปัญญา (ไตรสิกขากับทาน ศีล ภาวนา) เหมือน หรือต่างกันอย่างไร ผู้เขียนเชื่อว่าหลายๆ คนรู้หมดแล้ว แต่เชื่อว่ายังมีบางส่วนไม่รู้ ก็เลยอยากจะสื่อ ให้รับรู้ เข้าใจมากยิ่งขึ้น

โดยสรุปสั้นๆ ปฏิบัติธรรมŽ ก็คือการเอาธรรมมาปฏิบัติ เอาธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิต และการทำงาน ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตจริง ทำให้เป็นชีวิตที่ดีมีความสุข การปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องกว้างๆ ไม่เฉพาะการที่จะปลีกตัวออกจากสังคมไปอยู่วัด ไปอยู่ป่าแล้วก็ไปนั่งบำเพ็ญสมาธิ ไม่ใช่แค่นั้น อันนั้นมันเป็นส่วนหนึ่ง เป็นความพยายามนำธรรมะมาใช้ในขั้นลึกๆ ในการฝึกฝนจิตใจอย่างจริงๆ จังๆ‚

ที่ จริงนั้นการปฏิบัติธรรมต้องมีตลอดเวลาทุกขณะที่นั่ง นอน เดิน หรือทำภารกิจอะไรๆ ก็ตามแต่ ต้องมีการปฏิบัติธรรม คือเอาธรรมมาใช้ เมื่อปฏิบัติสิ่งนั้นอย่างถูกต้อง ก็เป็นการปฏิบัติธรรม เมื่อทำงานหรือทำหน้าที่ของตนอย่างถูกต้อง ตั้งใจทำดีให้เกิดคุณประโยชน์ให้สำเร็จความมุ่งหมายที่ดีงาม ก็เป็นการ ปฏิบัติธรรมŽ ถ้าตนเองมีหน้าที่เรียนก็เล่าเรียนให้ได้ผลก็เป็นการปฏิบัติธรรม เรื่องเล่าเรียนโดยมี อิทธิบาท 4Ž มีฉันทะ พอใจรักในการเรียน มีวิริยะ มีความเพียร ใฝ่รู้ มีจิตตะ เอาใจใส่รับผิดชอบ มีวิมังสา คอยไตร่ตรอง ตรวจสอบ ทดสอบให้ผลดียิ่งขึ้นอย่างนี้เรียกว่า ปฏิบัติธรรมŽ แม้ไปขับรถ วิ่งแข่งขัน ขายของ นั่งปาฐกถา พูดคุยกัน นอนหลับ  ฯลฯ เหล่านี้ปฏิบัติธรรมต้องมีอยู่ตลอดเวลา เพราะเราทุกคนต้องดำเนินชีวิตให้ดีงามถูกต้อง

ประเด็นศีล สมาธิ ปัญญา เป็น ไตรสิกขาŽ ส่วน ทาน ศีล ภาวนาŽ เรียกว่า บุญสิกขาŽ ว่าที่จริงทั้งสองชุดนี้ก็คือ เรื่องเดียวกันŽ



ทาน ศีล ภาวนา นี้ ท่านมุ่งเน้นสำหรับคฤหัสถ์ ชุดนี้เน้น ภายนอกŽ เน้นด้านหยาบ จัดเป็น ทาน ศีล และภาวนา โดยขยายด้านนอกออกเป็น 2 อย่าง คือ ทาน กับ ศีล เอาข้างในสองอย่างคือ สมาธิและปัญญา ไปยุบเป็น ภาวนาŽ อย่างเดียว ดังนั้น บุญสิกขาจึงเน้นข้อปฏิบัติขั้นต้นๆ หรือขั้นพื้นฐาน คือ ทาน เน้นที่อามิสทาน

ได้แก่ การให้วัตถุ ศีลเน้นที่ศีล 5 หรือขยับขึ้นเป็นศีล 8 ส่วนภาวนา ในที่นี้ก็เน้นแต่เมตตาภาวนา ก็คือเจริญเมตตาหรือไมตรี ที่จะเป็นฐานแห่งสันติสุขของสังคม ถ้าสามารถทำได้มากกว่านั้นก็ขยายออกไปนั้น จิตภาวนา หรือปัญญาภาวนา เต็มรูปแบบ

ส่วนชุด ศีล สมาธิ ปัญญา นั้น เอา ด้านในŽ คือ ภาวนาไปแยกละเอียดเป็น จิตใจ (สมาธิกับปัญญา) แต่ด้านนอกคือ ทานกับศีล รวมกันเป็นอันเดียว เพราะว่า ศีลŽ นั้น หลักการคือการอยู่ร่วมกันด้วยดีกับผู้อื่นในสังคม ส่วน ทานŽ ก็เป็นองค์ประกอบในการที่จะอยู่ร่วมกันด้วยดีกับผู้อื่นในสังคมก็เลยมาร่วม กันอยู่ คำว่า ศีลŽ เพราะฉะนั้นเมื่อท่านได้ฟังคำว่า ทาน ศีล ภาวนาŽ กับ ศีล สมาธิ ปัญญาŽ นี้ ก็ให้ทราบว่าที่จริงเป็นระบบเดียวกัน แต่เราแยกเพื่อให้เห็นจุดเน้นที่ต่างกัน สำหรับ คฤหัสถ์จะเน้นด้านนอกŽ จัดเป็น ทาน ศีล ภาวนา ก็คือการฝึกฝนความดี 3 อย่าง แต่สำหรับ พระสงฆ์จะเน้นด้านในŽ มีหลักเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา ก็คือการศึกษา 3 อย่าง สรุปแล้วทั้งสองชุดนี้ก็เป็นอันเดียวกัน ต่างกันที่จุดเน้นดังกล่าว

14 กุมภาพันธ์นี้ เป็นวัน Valentine หรือวันแห่งความรัก ตามสากล มีสัญลักษณ์เป็นรูปหัวใจที่เป็นสุข

ผู้ เขียนขออวยพรให้ทุกคนทั้งประเทศ 64 ล้านคน มีความสุข รักใคร่กัน สามัคคีกัน เป็นหนึ่งเดียวตั้งแต่ระดับรักตัวเอง รักครอบครัว รักชุมชน จนถึงระดับประเทศ จะด้วยยิ้มแย้มก็ดี หัวเราะก็ดี ด้วยการคิดในแง่บวกก็ดี ด้วยการปฏิบัติธรรมก็ดี เมื่อสุขแท้ก็ถึงธรรมŽ มีชีวิตจิตใจที่ดีงาม 5 ใจงามŽ คือ เบิกบานใจ..ปลื้มใจ..ผ่อนคลายกายใจ..สุขใจ..ใจสงบเป็นสมาธิŽ และได้ดีมีความรักใคร่กัน จากใจ‚ถึงใจ...ในที่สุดนะครับ

โดย นายแพทย์วิชัย เทียนถาวร อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ที่มา:http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1360820275&grpid=&catid=02&subcatid=0200

 

Go to top