แพทย์แผนไทย โคราช รักษาโรค SLE ไขความลับวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคพุ่มพวง ( SLE)
รถตู้ให้เช่า ร้อยเอ็ด
หมอเอ ณัฐปราชญ์ คลินิก
×

คำเตือน

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 2147483647

การเดินทางไปโรงเรียนในยามเช้าเป็นเรื่องทรมานใจสำหรับเด็ก ๆ หลายคน เพราะหากไม่มีพ่อแม่ขับรถไปส่ง นั่นหมายถึงหนู ๆ ต้องเดินทางไปด้วยตนเอง ซึ่งอาจต้องหอบข้าวของหนัก ๆ เจอรถติด โหนรถคนแน่น หรือรอรถนานบ้าง แต่สิ่งเหล่านี้กลายเป็นเรื่องจิ๋ว ๆ ไปเลย หากเทียบดูกับเด็ก ๆ อีกกลุ่มหนึ่งที่การเดินทางไปโรงเรียนลำบากประหนึ่งการเดินทางไกลแถมผจญภัยไปในตัว กว่าจะถึงโรงเรียนได้ก็คงต้องสวดขอบคุณพระเจ้าหลาย ๆ รอบ ที่ช่วยให้มีชีวิตรอดมาศึกษาหาความรู้ งั้นลองมาดู 10 เส้นทางไปโรงเรียนที่อันตรายที่สุดในโลกกัน

 

1. เดินไต่ไหล่เขาไปโรงเรียน ที่กุ้ยโจว ประเทศจีน 
             เด็กนักเรียนโรงเรียนประถมป่านโผ หมู่บ้านเก๋งกว่าง ในมณฑลกุ้ยโจว ประเทศจีน มีเส้นทางการเดินทางไปโรงเรียนที่เสี่ยงอันตรายไม่ต่างกับได้ไปเดินเขาทุกวัน เพราะโรงเรียนตั้งอยู่บนเขา เด็กจึง ๆ ต้องเดินเลาะไปตามทางแคบ ๆ กว้างเพียง 0.5 เมตร ที่เซาะไว้ตรงไหล่เขา อันเป็นทางสัญจรเก่าสร้างไว้ตั้งแต่เมื่อ 40 ปีที่แล้ว และจะต้องเดินลอดอุโมงค์ที่เจาะทะลุชั้นหินไปอีกทีจึงจะถึงที่หมาย ทั้งนี้เด็ก ๆ ยังมีเส้นทางที่ปลอดภัยกว่าในการไปโรงเรียน แต่ก็เป็นทางที่อ้อมไปไกลและต้องใช้เวลาเดินเท้ากว่า 2 ชั่วโมง ฉะนั้นคุณครูใหญ่จึงเป็นคนลงมารับเด็ก ๆ และคอยดูแลพาพวกเขาเดินขึ้นไปโรงเรียนในทุก ๆ วัน 
 
 
2. ไต่เชือกไปโรงเรียน ที่เกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย
             เด็กนักเรียนกว่า 20 คน ของโรงเรียนประถมแห่งหนึ่งบนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ต้องไต่เชือกที่ขึงอยู่สูงเหนือลำธารราว 10 เมตร เพื่อข้ามฝั่ง จากนั้นต้องเดินต่อไปอีกกว่า 11 กิโลเมตร เพื่อเข้าถึงโรงเรียนในเมืองปาดัง เด็ก ๆ เหล่านี้ ต้องอาศัยทักษะการทรงตัวอย่างสูงในการพาตัวเองไปและกลับจากโรงเรียนเช่นนี้เป็นเวลาเกือบ 2 ปีแล้ว หลังสะพานข้ามฝั่งเคยมีได้ถูกพัดทำลายตอนเกิดฝนตกหนัก 
 
 
3. ไต่สะพานพังข้ามฝั่งแม่น้ำไปเรียน ที่เกาะชวา อินโดนีเซีย 
             เด็ก ๆ ผู้โชคร้ายที่อาศัยอยู่อีกฟากหนึ่งของแม่น้ำซิเบรัง ในเขตหมู่บ้านซาเฮียงทันจัง ของจังหวัดบันเทน บนเกาะชวาของอินโดนีเซีย ต้องหาทางพาตัวเองข้ามแม่น้ำเพื่อเดินทางไปโรงเรียนในทันในทุก ๆ เช้า ซึ่งเด็กประถมตัวน้อย ๆ เลือกจะเกาะไต่ไปตามสะพานแขวนเก่าที่ทรุดพังไปแล้วครึ่งหนึ่งจากเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อปี 2012 แทนที่จะต้องเสียเวลากว่าครึ่งชั่วโมงในการเดินไปข้ามสะพานอีกแห่งที่อยู่ไกลออกไป จึงเกิดเป็นภาพการเดินทางไปโรงเรียนที่น่าหวาดเสียวเช่นนี้ 
 
อย่างไรก็ดีเป็นที่น่าดีใจแทนเด็ก ๆ เพราะตอนนี้ได้มีหน่วยงานใจดี เป็นบริษัทผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ที่สุดขออินโดนีเซีย มาทำการสร้างสะพานใหม่ให้แล้วเรียบร้อย 
 
4. ขี่จักรยานบนสะพานส่งน้ำ ที่เกาะชวา อินโดนีเซีย 
             เป็นเรื่องไม่ง่ายนักที่เด็ก ๆ จะต้องเดินทางไปกลับระหว่างบ้านและโรงเรียนที่อยู่ในหมู่บ้าน Suro กับหมู่บ้าน Plempangun บนเกาะชวา ของอินโดนีเซีย ซึ่งถูกแบ่งแยกออกจากกันด้วยแม่น้ำที่ไหลคั่นกลาง แม้จะมีทางเดินให้ไปถึงโรงเรียนได้อย่างปลอดภัย แต่เด็ก ๆ บอกว่าหากเขาต้องเดินไกลไปตามทางเส้นนั้นถึง 6 กิโลเมตร พวกเขายอมเดินหรือปั่นจักรยานไปบนทางส่งน้ำนี้ดีกว่า จึงเกิดเป็นภาพหวาดเสียวที่เด็ก ๆ ต้องทรงตัวเดินหรือปั่นจักรยานไปบนทางแคบ ๆ  ที่กว้างเพียงแค่ไม่กี่คืบเท่านั้น 
 
 
 
5. เกาะห่วงยางข้ามแม่น้ำไปโรงเรียน จังหวัด Rizal ประเทศฟิลิปปินส์
             บรรดาเด็กประถมตัวน้อย ๆ จากหมู่บ้าน Rizal ประเทศฟิลิปปินส์ ใกล้ชิดกับน้ำเสียยิ่งกว่าอะไร เมื่อพวกเขาต้องเกาะห่วงยางเพื่อพาตัวเองข้ามฝั่งแม้น้ำในการเดินทางทั้งขาไปและกลับจากโรงเรียน บางครั้งเด็ก ๆ ก็จำต้องหยุดเรียนหรือแวะพักค้างคืนบ้านญาติอย่างช่วยไม่ได้ ในกรณีที่เกิดฝนตกหนักจนน้ำในแม่น้ำเอ่อท้นและเชี่ยวกรากจนไม่สามารถเดินทางข้ามไปได้ ชาวบ้านละแวกนั้นต่างร้องขอให้ทางการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำที่มั่นคงแข็งแรง อย่างน้อยก็จะช่วยให้เด็ก ๆ เดินทางไปโรงเรียนได้รวดเร็วขึ้นและปลอดภัยกว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ 
 
 
6. เด็กประถมชาวเวียดนามว่ายน้ำข้ามฝั่งไปโรงเรียน 
             นักเรียนวัยประถมตั้งแต่ประถม 1-5 ราว 10 คน ต้องว่ายน้ำวันละ 2 รอบ เพื่อเดินทางไปและกลับจากโรงเรียนที่อยู่ในเขตหมินฮ่าว ของเวียดนาม และเพื่อที่จะไม่ให้เสื้อและหนังสือเรียนของพวกเขาเปียก เด็ก ๆ จึงถอดเสื้อผ้าและห่อกระเป๋านักเรียนไว้ในถุงพลาสติกมัดปากแน่นหนา บ้างก็ถือชูไว้เหนือน้ำขณะว่ายข้ามไป ในขณะที่แม่น้ำสายนี้กว้าง 15 เมตร และมีจุดที่ลึกที่สุดถึง 20 เมตรเลยทีเดียว
 
7. เด็ก ๆ เนปาลโหนสลิงไปโรงเรียน 
             การเดินทางไปโรงเรียนของเด็ก ๆ ชาวเนปาลช่างยากลำบาก ถนนหนที่มีอยู่น้อยและสร้างขึ้นไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทำให้เด็ก ๆ ต้องใช้สลิงโหนข้ามฝั่งแม่น้ำในการเดินทางไปโรงเรียนแทน แม้สลิงที่ใช้จะเป็นสลิงสายเดี่ยวที่ไร้ซึ่งอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยใด ๆ แต่เด็ก ๆ ก็ไม่มีทางเลือก หากต้องการไปเรียนหนังสือก็ต้องเดินทางด้วยวิธีนี้เท่านั้น อย่างไรก็ดีโชคดีที่ตอนนี้มีหน่วยงานเกี่ยวข้องริเริ่มโครงการสร้างสะพานและทางเดินให้ข้ามไปได้แล้ว 
 
8. เด็กโคลอมเบียโหนสลิงข้ามหุบเขากว่า 800 เมตร เพื่อไปเรียน  
             ในระยะทางราว 60 กว่ากิโลเมตร ห่างจากกรุงโบโกตา เมืองหลวงของประเทศโคลอมเบีย ออกไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ประชาชนจำนวนหนึ่งยังคงอาศัยอยู่ในเขตป่า แต่ลูก ๆ ของพวกเขาจำเป็นต้องได้รับการศึกษา เด็ก ๆ เหล่านี้จึงต้องเดินทางมาโรงเรียนแม้ว่านั่นจะหมายถึงการโหนสลิงที่ยาวเกือบ 800 เมตร และสูงเหนือแม่น้ำริโอ นิโกร ที่อยู่เบื้องล่างถึง 400 เมตรก็ตาม
เด็กหญิงในภาพโหนสลิงข้ามแม่น้ำไปอีกฝั่ง โดยในกระสอบคือน้องชายวัย 5 ขวบของเธอ ที่ยังเด็กเกินกว่าจะโหนสลิงไปได้เอง การเดินทางข้ามหุบเขาที่ห่างไกลกันด้วยสลิงที่น่าหวาดเสียวนี้ใช้เวลาเพียง 60 วินาทีเท่านั้น
 
9. ไต่เลาะภูเขาไปโรงเรียน ที่เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์
             เด็ก ๆ ราว 80 คน ที่อาศัยอยู่ที่เขตผีหลี่ (Pili) ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ประเทศจีน มีทางเดินไปโรงเรียนที่สุดแสนวิบากและน่าหวาดเสียวเหลือใจ โดยเฉพาะในช่วงใกล้ปิดภาคเรียนซึ่งตรงกับฤดูหนาว เด็ก ๆ ต้องคอยเลาะไปตามภูเขาหลายลูก ข้ามแม่น้ำที่กลายเป็นน้ำแข็ง 4 สาย ข้ามสะพานอีก 5 แห่ง ระยะทางทั้งหมดไกลกว่า 200 กิโลเมตร และต้องเดินทางกันถึง 2 วันเต็ม ๆ เลยทีเดียว 
 
 
10. ฝ่าดงสงครามไปโรงเรียน ที่แคมป์ผู้อพยพใกล้กรุงเยรูซาเลม
             ภาพที่น่าสะเทือนใจนี้เป็นฝีมือของช่างภาพข่าวจากสำนักข่าวรอยเตอร์ส ที่ถ่ายไว้ได้ในปี 2010 บริเวณแคมป์ผู้อพยพชัวฟัต ใกล้กรุงเยรูซาเลม เด็กหญิงตัวน้อยเดินอย่างมุ่งมั่นไปโรงเรียน ไม่มีทีท่าสนใจต่อสถานการณ์ตึงเครียดที่เกิดขึ้นรอบตัวเลยแม้แต่น้อย โดยด้านหลังเป็นกองกำลังทหารอิสราเอลที่ถูกส่งมาตรึงกำลังดูแลสถานการณ์ ส่วนก้อนหินที่เกลื่อนกลาดอยู่เต็มพื้นนั้นถูกขว้างมาจากกลุ่มผู้ต่อต้านชาวปาเลสไตน์ 
 
 
  สำหรับเด็ก ๆ ในเมืองของบ้านเรา แค่ฝนตกรถติดก็ไม่อยากจะเดินทางไปโรงเรียนกันแล้ว แต่พอได้มาเห็นภาพเหล่านี้ ก็แทบลืมความลำบากที่เราต้องเดินทางไปโรงเรียนเองไปเลยจริง ๆ ไม่ว่าจะยากลำบากหรืออยู่ในพื้นที่ทุรกันดารขนาดไหน หากมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาได้ พวกเขาก็เต็มใจที่จะไปโรงเรียนทุก ๆ วัน 
 
Go to top