ในปี 1919 นาย Ri-ichi Ezaki ริ-อิชิ อีซากิ ผู้ที่เป็นผู้ก่อตั้งบริษัท กูลิโกะแกเคยอ่านหนังสือพิมพ์ลงข่าวว่า Glycogen ที่สะสมอยู่ในหอยนางรม เป็นสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมาก นายอีซากิ จึงไปขอซื้อมาจากชาวประมงที่กำลังต้มหอยนางรม และเอา Glycogen ไปเข้าที่ห้องทดลองของ โรงพยาบาลของ มหาวิทยาลัย คิวชู อิมพีเรียล
การทดลองยังไม่ทันได้ผลอะไรออกมา ลูกชายของนายอีซากิ เกิดเป็นโรคไทฟอยด์หมอไม่รู้จะรักษาได้อย่างไร เมื่อสิ้นหวังดังนั้น ผู้เป็นพ่ออย่างนายอิซากิ ก็อนุญาตหมอขอให้ลูกชายได้มีโอกาสได้กิน Glycogen ที่สกัดออกมาจากหอยนางรม
นาย ริอิชิ อีซากิ
ปรากฏว่า ลูกชายแกหายป่วยจริงๆ นายอีซากิจึงเกิดความคิดว่า ถ้าเด็กของญี่ปุ่นได้มีโอกาสกิน Glycogen นี้แบบง่ายๆ เด็กญี่ปุ่นน่าจะแข็งแรง ไม่ป่วยง่าย นายอีซากิ จึงคิดที่จะเอาGlycogen นี้ใส่ลงในคาราเมลล์ หรือน้ำตาลเหนียวๆ และทำออกมาขายด้วยความที่ Glycogen เป็นสิ่งที่ดีมาก แกจึงตั้งชื่อสินค้าว่า Glyco หรือ Glico ในภาษาญี่ปุ่นอ่านว่า กูลิโกะ และใส่ในกล่องแบบนี้ สินค้าและบริษัทของแกจึงมีชื่อว่า Ezaki Glico จากนั้นเป็นต้นมา
เรื่องโลโก้นี้ แกได้ไอเดียมาจากการที่เห็นเด็กวิ่งแข่งกัน และ วิ่งเข้าเส้นชัยคนที่ชนะจะชูแขนขึ้น แกจึงเอามาเป็นสัญญลักษณ์ของการบอกว่า แข็งแรงและสัญญลักษณ์คนวิ่งเข้าเส้นชัยนี้ก็ถูกเก็บรักษาให้เป็นโลโก้ของ Glico ตลอดมาครับ
ขนมที่มี Glycogen คือ Glico Caramel Candy เม็ดรูปหัวใจครับ
หลายปีต่อมา สีของกล่องและโลโก้นี้ก็ได้ถูกพัฒนาต่อมาอย่างที่เราเห็นกัน
ต่อมา บริษัทก็ได้ออกสินค้าที่ทำให้บริษัทมีชื่อเสียงมากถึงทุกวันนี้ นั่นก็คือกูลิโกะ ป๊อกกี้ ที่เรารู้จักกันดี แทบจะไม่มีใครไม่เคยทานเจ้าขนมชนิดนี้แน่ๆ
ในปี 1970 กูลิโกะก็เริ่มออกมาตั้งโรงงานนอกประเทศญี่ปุ่น โดยเลือกประเทศไทยเป็นประเทศแรกเลยครับ ใครที่เกิดทันคงจำกันได้ว่า ป๊อกกี้ เป็นขนมที่แพงมาก
ขอขอบคุณ trachoo.com/2013/09/29/ประวัติ-กูลิโกะ/