แพทย์แผนไทย โคราช รักษาโรค SLE ไขความลับวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคพุ่มพวง ( SLE)
รถตู้ให้เช่า ร้อยเอ็ด
หมอเอ ณัฐปราชญ์ คลินิก

แพทย์เตือนอากาศร้อนจัดปีนี้ ต้องเตรียมร่างกายให้พร้อมรับมือโรคลมแดด “” (Heat Stroke)ด้วยการดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย แนะเครื่องดื่มสมุนไพรคลายร้อนทำง่าย ๆ ด้วยมือคุณ

newscms thaihealth c belnrvyz1457

นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกประกาศการเข้าสู่ฤดูร้อนของประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงต้นเดือนพฤษภาคมนั้น โดยฤดูร้อนปีนี้คาดว่าอุณหภูมิสูงสุดจะอยู่ที่ 42-43 องศาเซลเซียส จากความร้อนดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนที่พบบ่อย ได้แก่ อาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืดตาลาย ใจสั่นจากการเสียเหงื่อ จนถึงภาวะของโรคลมแดด “ฮีทสโตรค” (Heat Stroke) ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวกับความร้อนที่เกิดขึ้นจนเกิดภาวะวิกฤต เพราะในภาวะปกติร่างกายจะมีระบบการปรับสมดุลความร้อน โดยการทำงานของต่อมใต้สมองส่วนหน้า

อาการของโรคลมแดดเริ่มจากวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ อ่อนแรงและคลื่นไส้ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อย ๆ อาจทำให้เกิดอาการผิดปกติได้ เช่น สับสน พูดไม่ชัดเจน กระสับกระส่าย หรือเห็นภาพหลอน หากรุนแรงมาก อาจทำให้เกิดการชักเกร็ง และมีอาการโคม่าได้ในที่สุด เมื่อสัมผัสผู้มีอาการจะพบว่าตัวร้อนมากและมีผิวสีแดงกว่าปกติ การช่วยเหลือเบื้องต้นนำผู้ที่มีอาการเข้าในร่ม นอนราบ ยกเท้าสูง เพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือด ถอดหรือคลายเสื้อผ้kให้หลวม ใช้น้ำเย็นประคบบริเวณใบหน้า ข้อพับ ขาหนีบ และใช้พัดลมเป่าเพื่อระบายความร้อน ใช้น้ำเย็นราดลงบนตัวเพื่อลดอุณหภูมิร่างกายให้เร็วที่สุด และรีบนำส่งโรงพยาบาล

คลินิกแพทย์แผนไทย

การป้องกันควรดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายวันละไม่น้อยกว่า 2 ลิตร หลีกเลี่ยงอากาศร้อนถ่ายเท ไม่สะดวก หากร้อนมากควรลดความร้อนด้วยการอาบน้ำ เปิดแอร์ เปิดพัดลม รับออกซิเจนจากร่มไม้ใหญ่ ไม่ควรออกกำลังกายหักโหม เมื่อรู้สึกเหนื่อยมากควรรีบพักทันที ก่อนและหลังออกกำลังกายควรมีการอบอุ่นร่างกาย สวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายความร้อนได้ดี การทำงานกลางแจ้งควรสวมหมวกป้องกันแดด หรือเดินกลางแดดร้อน ๆ ควรใช้ร่มที่มียูวีกันแดด หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ หรือยาบางชนิดที่เพิ่มความร้อนให้ร่างกาย

นอกจากการดื่มน้ำให้เพียงพอแล้ว เครื่องดื่มสมุนไพรคลายร้อน จะช่วยให้ร่างกายสดชื่นดับร้อนแก้กระหายได้อีกวิธีหนึ่ง โดยเลือกดื่มเครื่องดื่มสมุนไพรรสเย็น เช่น น้ำใบเตยหอม น้ำว่านหางจระเข้ น้ำบัวบก น้ำยาอุทัย น้ำตรีผลา น้ำเก็กฮวย เป็นต้น ส่วนเครื่องดื่มสมุนไพรที่อยากแนะนำอีกหนึ่งเมนูคือ ตำรับชาเบญจเกสร หรือ ชาเกสรดอกไม้ทั้งห้า ประกอบด้วย 1. ดอกมะลิ มีรสหอมเย็น สรรพคุณแก้ไข้ ร้อนในกระหายน้ำ ดับพิษร้อน บำรุงหัวใจ เป็นยาชูกำลัง 2. ดอกพิกุล มีรสหอมสุขุม สรรพคุณแก้จับไข้ แก้ไข้ บำรุงหัวใจ กระตุ้นระบบไหลเวียน 3. ดอกบุนนาค มีรสหอมเย็นขม สรรพคุณบำรุงโลหิต แก้ร้อนใน กระหายน้ำ และเป็นยาชูกำลัง 4. ดอกสารภี มีรสหอมเย็นขม สรรพคุณบำรุงโลหิต แก้ร้อนใน กระหายน้ำ 5. เกสรบัวหลวง มีรสฝาดหอม สรรพคุณทำให้สดชื่น แก้ไข้ กระตุ้นระบบไหลเวียน สามารถปรุงเองง่าย ๆ ดังนี้ นำเกสรดอกไม้ทั้งห้าอย่างละ 1 กำมือ (3-4 ช้อนโต๊ะ) ผสมกับน้ำร้อน 1 ลิตร แช่ทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาที จะมีกลิ่นหอมและสีของน้ำจะเข้มขึ้น จากนั้นกรองเอากากออก ดื่มได้ทันทีทั้งร้อนและเย็นที่สำคัญต้องเลือกวัตถุดิบที่สะอาด

สนใจข้อมูลสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 02 591 7007 ต่อกองวิชาการและแผนงาน กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สุดท้ายโปรดสำรวจในกระเป๋าของท่านด้วยว่ามียาหอม และยาดมสมุนไพรแล้วหรือยัง สามารถนำมาใช้ได้ในยามฉุกเฉิน

ขอขอบคุณบทความจาก http://www.thaihealth.or.th

Go to top