แพทย์แผนไทย โคราช รักษาโรค SLE ไขความลับวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคพุ่มพวง ( SLE)
รถตู้ให้เช่า ร้อยเอ็ด
หมอเอ ณัฐปราชญ์ คลินิก

images ภูมิปัญญาในการรับประทานข้าวเหนียว

 ในชีวิตประจำวันของชาวอิสานนิยมรับประทานข้าวเหนียว ซึ่งอาจจำแนกบุคคลในการรับประทานดังต่อไปนี้

 

 1. ข้าวเหนียวสำหรับบุคคลทั่วไป  มี 2 ชนิดคือ ข้าวเหนียวขาว และข้าวเหนียวก่ำ (ดำ)  ข้าวเหนียวขาวใช้รับประทานทุกวัน ข้าวเหนียวดำใช้ทำขนมเช่น ข้าวหลาม   ทั้งนี้จะตวงข้าวเหนียวเท่าที่คนในครัวเรือนรับประทาน  การนึ่งข้าวเหนียวจะใช้มือวัดปริมาณน้ำ โดยเหยียดมือทั้ง 5 นิ้วจุ่มลงให้ถึงก้นหม้อนึ่ง  น้ำในมือสูงถึงระดับนิ้วมือทั้งสี่นิ้วย่อมใช้ได้  นิยมนึ่งข้าวเหนียวด้วยหวดไม่ไผ่ น้ำล้างหวดให้รองไว้รดผัก ถ้านึ่งข้าวเหนียวตอนเช้าควรมีภาชนะแยกสำหรับถวายพระและเอาไว้รับประทานใน ครัวเรือนเอง ปัจจุบันในชนบทยังปฏิบัติกันอยู่ ถ้านึ่งข้าวเหนียวตอนเย็นควรหม่าข้าว(แช่) ไว้ตั้งแต่ตอนกลางวัน

ly011

เนื่องจากการอุ่นข้าวเหนียวค้างคืนบ่อยๆจะทำให้เหนียวมากรับประทานกับ อาหาร อื่นไม่อร่อย จึงมีการแปรรูปเป็นข้าวจี่ อาหารเช้าจานด่วนสำหรับครอบครัว โดยปั้นข้าวเหนียวคลุกเกลือเล็กน้อยเอาไปปิ้งไฟ ให้เหลืองกรอบ แล้วเอาไปชุบไข่เจียวที่ปรุงรสไว้  จากนั้นนำไปปิ้งอีกครั้ง ให้สุกทั่วกัน อาจใส่ไส้ไว้ข้างใน เช่นไส้ปลาป่น(น้ำพริกปลาร้าที่คั่วจนแห้ง ) เป็นข้าวจี่สำหรับผู้ใหญ่  คนแก่อาจใส่ไส้น้ำอ้อย เป็นต้น

นอกจากคัดแปลงเป็นข้าวจี่แล้ว ข้าวเหนียวนึ่งยังสามารถนำไปทำเป็นข้าวหมากได้ด้วย โดยทำจากข้าวเหนียวนึ่ง หมักด้วยแป้งเชื้อ  หมักไว้ 1 วัน 1 คืนจะหอมหวานรับประทานได้ แต่ถ้าทิ้งไว้หลายวันจะกลายเป็นสาโท เคล็ดลับในการทำนั้นจะต้องได้แป้งเชื้อที่ดี ก่อนทำควรทำร่างกายให้สะอาด ห้ามสูบบุหรี่ กินหมาก หญิงมีรอบเดือนห้ามมาปรุง

t_1562


2. ข้าวเหนียวสำหรับคนป่วย  ควรให้กินอาหารอ่อน จึงควรเปลี่ยนมานึ่งข้าวเหนียวในถ้วยหรือชาม  โดยให้ปริมาณข้าวเหนียวต่อน้ำ 3-4 ส่วน เพื่อให้ได้ข้าวที่นิ่ม
3.ข้าวเหนียวสำหรับเลี้ยงทารก คือ การเคี้ยวข้าวเหนียวกับอาหารต่างๆ ตามความเหมาะสมแล้วนำไปป้อนลูก  เช่น เด็กอ่อน มารดาจะเคี้ยวข้าวเหนียวกับกล้วยสุก คายใส่ใบตองห่อ แล้วนำไปปิ้งไฟ แล้วนำมาผสมน้ำป้อนลูก   ถ้าโตขึ้นมาหน่อยอาจปั้นข้าวเหนียวเป็นคำๆ ให้เด็กหยิบรับประทานเอง การเคี้ยวข้าวป้อนลูกปัจจุบันจึงไม่ค่อยมีคนทำกันแล้ว

2086

 

 

(คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : 245-247)

Go to top