ค้นพบหลักฐานสำคัญเก่าแก่ระดับโลกที่ชี้ชัดได้ว่าธงช้างเผือก ธงชาติสยามนั้นได้มีการใช้จริงมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่3
"ธงช้างเผือก" หรือธงชาติของสยามประเทศถือเป็นสัญลักษณ์ที่คนไทยคุ้นตาในฐานะเป็นธงชาติไทย รองจากธงไตรรงค์ซึ่งเริ่มใช้ในสมัยรัชกาลที่ 6 ปี พ.ศ.2460 แต่จะมีใครทราบบ้างว่าธงช้างเผือก ธงแห่งชาติสยามนั้นเริ่มมีการใช้จริงตั้งแต่เมื่อไร และมีหลักฐานที่เชื่อได้มากน้อยแค่ไหน
ย้อนกลับไปในอดีต พ.ศ.2434 ตรงกับปีที่ 110 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำริให้สยามจัดทำกฎหมายเพื่อระบุรูปแบบธงชาติเป็นครั้งแรกใน ประวัติศาสตร์เรียกว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยาม ซึ่งพระราชบัญญัติธงฉบับนี้ได้มีการระบุรูปแบบธงชาติสยามอยู่ในลำดับที่ 13 แต่พระราชบัญญัติธงฉบับนี้มิได้เกริ่นนำหรือกล่าวถึงความเป็นมาของธงชาติ สยามในอดีต จึงทำให้ต้องมีการออกพระราชบัญญัติธงฉบับ ร.ศ.118 โดยในฉบับนี้ได้มีการพิมพ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับความเป็นมาของธงชาติสยามในอดีต ไว้อย่างชัดเจน นับตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ซึ่งมีการระบุไว้ดังนี้...
“ธงอันเปนสำคัญเครื่องหมาย แห่งสยามประเทศนี้แต่ก่อนมาใช้ผ้าสีแดงเกลี้ยง ครั้นถึงในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ ทรงพระราชดำริห์ว่า เรือหลวงกับเรือราษฎร ควรมีเครื่องหมายสำคัญให้เห็นต่างกัน จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าฯ สั่งให้บรรดาเรือหลวงทั้งปวง ทำรูปจักรอันเปนนามสัญญาพระบรมราชวงษ์แห่งพระองค์ลงไว้ในกลางธงพื้นแดงนั้น เปนเครื่องหมายใช้ในเรือหลวง” หมายความว่า ธงสีแดงใช้กับเรือของราษฎรชาวสยามโดยทั่วไป ส่วนเรือของพระมหากษัตริย์หรือที่เรียกว่ากำปั่นหลวงใช้ธงสีแดงและมีรูปวง จักรสีขาวอยู่ตรงกลาง
นอกจากนี้ในพระราชบัญญัติธงฉบับ ร.ศ.118 ยังระบุต่อไปว่า “ต่อมาถึงในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย ครั้งนั้นมีสารเสวตรอันอุดมด้วยลักษณ มาสู่พระราชสมภารถึงสามช้าง เปนการพิเศษไม่มีได้ในประเทศอื่นเสมอเหมือน ควรจะอัศจรรย์อาไศรย์คุณพิเศษอันนั้น จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าฯ ให้ทำรูปช้างเผือกลงไว้กลางวงจักรในธงเรือหลวงนั้นด้วย” หมายความว่าพอขึ้นสมัยรัชกาลที่ 2 สยามได้ช้างเผือกมากถึงสามช้างในรัชกาลเดียว คือ พระยาเศวตกุญชร พระยาเศวตไอยรา และพระยาเศวตคชลักษณ์ พระองค์ท่านจึงมีพระราชดำรินำรูปช้างเผือกสีขาววางไว้กลางวงจักรสีขาว เป็นที่มาของธงชาติสยามในสมัยรัชกาลที่ 2 และใช้จวบจนกระทั่งถึงรัชกาลที่ 3
ถัดจากความข้างต้นที่กล่าวมาแล้วนั้นในพระราชบัญญัติธง ร.ศ.118 ก็ได้ระบุถึงการเริ่มใช้ธงช้างเผือกเป็นธงชาติสยามดังนี้ “ครั้นถึงในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระรำพึงถึงเรือค้า ขายของชนชาวสยาม ที่ใช้ธงสีแดงเกลี้ยงอยู่นั้นไม่เปนการสมควร เหตุว่าซ้ำกับประเทศอื่นยากที่จะสังเกต เห็นเปนการควรจะใช้ธงอันมีเครื่องหมายเหมือนอย่างเรือหลวงทั่วไป แต่ว่ารูปจักรเปนของสูงไม่สมควรที่ราษฎรจะใช้จึงมีพระบรมราชโองการดำรัส เหนือเกล้าฯ ให้ยกรูปจักรออกเสีย คงแต่รูปช้างเผือกบนพื้นแดง ให้ใช้ทั่วไปทั้งเรือหลวงแลเรือราษฎร” ขยายความได้ว่าเมื่อขึ้นสมัยรัชกาลที่ 4 พระองค์ท่านได้ตัดสินพระทัยให้ราษฎรชาวสยามเริ่มใช้สัญลักษณ์รูปช้างเผือก แทนธงสีแดงเกลี้ยงเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นที่มาของคำเรียกขานธงชาติแบบนี้ว่า "ธงช้าง" จนกระทั่งถึงปัจจุบัน
จากหลักฐานข้างต้นที่กล่าวมานี้ ถือเป็นข้อมูลทางวิชาการที่ประเทศไทยใช้อ้างอิงรวมไปถึงใช้สำหรับการเรียน การสอนประวัติศาสตร์ของธงชาติไทยมาร่วมร้อยกว่าปีจนถึงปัจจุบัน กระทั่งเมื่อไม่นานมานี้วงการธัชวิทยาโลกได้มีการพูดถึงการใช้ธงช้างเผือก ของสยามว่ามีความเป็นไปได้ที่มีการใช้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 แล้ว แต่ยังไม่สามารถค้นพบหลักฐานสำคัญที่นำมาสนับสนุนความเชื่อนี้ ต่อมาหน่วยงานที่ค้นคว้าเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ธงของโลก หรือที่เรียกว่า Flag of The World (FOTW) ก็ได้มีการถกเถียงและพูดถึงประเด็นเรื่องการเริ่มใช้ธงช้างของประเทศสยามกัน อีกครั้ง
พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทยโดยมี อ.พฤฒิพล ประชุมผล และคุณจันทกาญจน์ คล้อยสาย ในฐานะผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ฯ ซึ่งทำหน้าที่เก็บรวบรวมหลักฐานและอนุรักษ์งานวัตถุชิ้นเอกที่เกี่ยวเนื่อง กับธงชาติไทยมากที่สุดในประเทศไทย จึงได้ลงมือค้นคว้าสืบหาหลักฐานอย่างจริงจังต่อเนื่องกันเป็นเวลานานกว่าห้า ปี จนในที่สุดก็ได้ค้นพบหลักฐานสำคัญเก่าแก่ระดับโลกที่ชี้ชัดได้ว่าธงช้าง เผือก ธงชาติสยามนั้นได้มีการใช้จริงมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้า อยู่หัว รัชกาลที่ 3 แล้ว (พ.ศ.2367 ถึงพ.ศ.2394)
หลักฐานสำคัญที่ ค้นพบนี้มีถึงสามหลักฐาน ได้แก่ ผังธงสำคัญของโลกที่มีชื่อว่า "The Flags of the Principal Nations in the world" พิมพ์โดย S.A. Mitchell Philadelphia, Pennsylvania ในปีพ.ศ.2380 ซึ่งเป็นงานพิมพ์ที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีการค้นพบในปัจจุบัน เป็นการพิมพ์ลงสีด้วยมือและใช้สำหรับการเดินเรือในสมัยโบราณ จากรูปจะเห็นได้ว่ามีการระบุรูปแบบธงช้างเผือกบนผังธงโลกนี้จริงซึ่งเป็น เวลาเดียวกับที่รัชกาลที่ 3 ยังทรงครองราชย์อยู่
หลักฐานสำคัญชิ้น ที่สองที่ระบุอย่างชัดเจนถึงการใช้ธงช้างเผือกในสมัยรัชกาลที่ 3 คือผังธงสำคัญของโลกจากหนังสือ Atlas Classique et Universel de Geographie ancienne et moderne (Flags and cockades of the major powers of the world)พิมพ์โดย J. Andriveau Goujon ในปี พ.ศ.2383 ผังธงโลกนี้พิมพ์หัวไว้ว่า "Pavillons et cocardes des principales puissances du globe" ใช้เทคนิคการพิมพ์แบบแกะสลักแม่พิมพ์ทองแดงและลงสีด้วยมือ (copper engraving and original hand colored) โดยในผังธงสำคัญของโลกชิ้นนี้ได้มีการระบุรูปและลงสีธงช้างเผือกด้วยมือ ซึ่งปีที่พิมพ์นั้นยังอยู่ในช่วงที่รัชกาลที่ 3 ทรงครองราชย์เช่นกัน
หลัก ฐานสำคัญของโลกชิ้นล่าสุดที่เป็นการยืนยันว่าธงช้างเผือกธงชาติสยามใช้มา ตั้งแต่รัชกาลที่ 3 คือ ผังธงสำคัญของโลกที่เป็นงานพิมพ์แบบ “ประติมานวิทยา” (Iconography antique engraved print) ใช้กระบวนการพิมพ์สี แกะสลักบนโลหะ (Original steel engraving) แกะสลักโดย G. Feldweg ใช้ต้นแบบการแกะสลักภาพของ Heck และใช้การลงสีด้วยมือ พิมพ์ช่วงปีพ.ศ.2392
ดัง นั้นจะเห็นได้ว่าหลักฐานต่างๆ ที่ทางพิพิธภัณฑ์ธงชาติไทยได้ทำการศึกษาค้นคว้า จนกระทั่งค้นพบและนำกลับสู่ประเทศไทยนั้น ล้วนมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการศึกษาประวัติศาสตร์ชาติสยามในสาขาวิชาธัช วิทยาหรือการศึกษาว่าด้วยเรื่องธงสำคัญของแผ่นดิน นับได้ว่าเป็นการเปิดองค์ความรู้ใหม่ในเรื่องประวัติธงของชาติในรอบร้อยกว่า ปีเลยทีเดียว จากที่แต่เดิมเชื่อกันว่าการเริ่มใช้ธงช้างเผือกในกรุงสยามเริ่มใช้กันใน สมัยรัชกาลที่ 4 จากการอ้างอิงเพียงหลักฐานเดียวคือพระราชบัญญัติธง ร.ศ.118
นับ ได้ว่าเป็นข่าวดีอีกข่าวหนึ่งที่จะทำให้นักประวัติศาสตร์ของไทยตื่นตัวและนำ ประโยชน์จากการค้นพบหลักฐานใหม่นี้เพื่อไปชำระประวัติศาสตร์แขนงอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องราวของธงช้างเผือก ธงชาติสยามให้มีความถูกต้องแม่นยำในเชิงวิชาการมากยิ่งขึ้นในอนาคต
ที่มาจากห้องสมุด pantip.com