แพทย์แผนไทย โคราช รักษาโรค SLE ไขความลับวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคพุ่มพวง ( SLE)
รถตู้ให้เช่า ร้อยเอ็ด
หมอเอ ณัฐปราชญ์ คลินิก

w เทคโนโลยี จรวดของ ทอ. เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ประเทศตกอยู่ในภาวะคับขัน จากภัยคุกคามทั้งภายในและภายนอกประเทศ ประกอบกับเหตุการณ์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาลดความช่วยเหลือทางการทหาร อันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ทำให้ ทอ. ขาดแคลนอาวุธยุทธภัณฑ์ เช่นจรวดอากาศ กระสุนปืน และลูกระเบิด ซึ่งจะเป็นผลกระทบต่อความมั่นคง ของชาติโดยส่วนรวม

 

เทคโนโลยี จรวดของ ทอ. เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ประเทศตกอยู่ในภาวะคับขัน จากภัยคุกคามทั้งภายในและภายนอกประเทศ ประกอบกับเหตุการณ์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาลดความช่วยเหลือทางการทหาร อันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ทำให้ ทอ. ขาดแคลนอาวุธยุทธภัณฑ์ เช่นจรวดอากาศ กระสุนปืน และลูกระเบิด ซึ่งจะเป็นผลกระทบต่อความมั่นคง ของชาติโดยส่วนรวม

h
ในขณะนั้น ทอ. ได้มีแนวความคิดที่จะผลิตอาวุธยุทธภัณฑ์ขึ้นใช้เอง พล.อ.ต.ประภา เวชปาน (ยศขณะนั้น) ขณะดำรงตำแหน่ง จก.สพ.ทอ. จึง ได้ริเริ่มรวมกลุ่มคณะทำงานขึ้นชุดหนึ่ง เพื่อทดลอง หาความเป็นไปได้ในการ ผลิตจรวดอากาศขึ้นใช้งาน ประกอบด้วย น.ท.มรกต ชาญสำรวจ(ยศขณะนั้น) เป็นหัวหน้าโครงการ ร่วมกับ น.ท.สมศักดิ์ รักงาม (ยศขณะนั้น) และ น.ท.สมหมาย ยอดประสิทธิ์ (ยศขณะนั้น) กับ น.ท.พินิจ สุระกูล (ยศขณะนั้น) ร่วมกันจัดตั้ง โครงการวิจัยและพัฒนาจรวดอากาศ เมื่อ ๑๔ ก.พ.๑๗ ซึ่งต่อมา ได้รับอนุมัติให้จัดตั้ง หน่วยงานวิจัยขึ้นเรียกว่า "สำนักงานวิจัยและพัฒนาอาวุธยุทธภัณฑ์"
ผลการวิจัย บรรลุเป้าหมาย จรวด "เห่าฟ้า" นัดแรก ติดตั้งกับ บ.ต.๒ (O-1A) ทดลองยิงจาก อากาศสู่พื้นเมื่อ ๔ พ.ย.๑๘ ทอ.สร้างโรงงานผลิตจรวดที่ บน.๒ และที่ทุ่งสีกัน มีการพัฒนาจรวด เพื่อเพิ่มความเหมาะสม ในการใช้งาน และเพิ่มความแม่นยำได้แก่ จรวด ๒.๒๕ นิ้ว เห่าฟ้า-๑ หางเลื่อน จรวด ๒.๒๕ นิ้ว เห่า ฟ้า-๒ หางนิ่ง ลำตัวหมุน จรวด ๒.๒๕ นิ้ว เห่าฟ้า-๓ หางพับ โดยจรวด เห่าฟ้า-๒ ผ่านการ รับรองมาตรฐานระบบอาวุธของ ทอ. ในปี ๒๑ กับได้มีการนำไปใช้ งานทางยุทธการ (ใช้กับ บ.O-1A) และจรวดชนิดนี้ได้รับรางวัลที่ ๑ สาขาวิศวกรรม จาก คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เมื่อปี ๒๓ ส่วนจรวดเห่าฟ้า-๓ ได้ผ่านการ รับรองมาตรฐานระบบอาวุธของ ทอ. เมื่อ ก.พ.๒๗
ต่อมา ในปี ๒๕ สำนักงานวิจัย และพัฒนาอาวุธยุทธภัณฑ์ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานพัฒนา การสร้างอาวุธ (สพอ.ศวอ.ทอ.) เป็นหน่วยขึ้นตรงของ ศวอ.ทอ. และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ศวอ.ทอ. จึงเป็นแหล่งรวมเทคโนโลยีจรวดของ ทอ.

q
จรวด ๒.๒๕ นิ้ว "เห่าฟ้า" ในช่วงแรกเป็นจรวดที่ใช้ดินขับ ชนิดสองฐาน (Double Base) ผลิตขึ้นโดยใช้วัสดุในประเทศ ทั้งสิ้น แท่งดินขับ เป็นแบบดินเปลือย ไม่มีการหุ้มดินขับ เนื่องจากขณะนั้น ยังขาดวัสดุซึ่งจำเป็นสำหรับการหุ้มดินขับ จรวดจึงมีสมรรถนะจำกัด เนื่องจาก ต้องใช้ท่อจรวดที่สร้าง จากเหล็กที่ทนความร้อน จากการเผาไหม้ของดินขับจรวด จึงมีน้ำหนักมาก
ต่อมา ในปี ๒๘ ทอ. มีวัสดุสำหรับการหุ้มดินขับจรวด และมีเทคโนโลยีในการหุ้ม (Inhibit) ดินขับ จึงได้ทำการพัฒนาจรวดเห่าฟ้า-๓ เป็นจรวดเห่าฟ้า-๓ ไอ (Inhibited) ซึ่งจรวดแบบนี้ได้ใช้ยิงแสดง ในการสาธิตการใช้กำลังทางอากาศ เมื่อวันที่ ๒๖ ธ.ค.๓๒ และนับเป็นการ สาธิตการใช้กำลังทางอากาศครั้งสำคัญของ ทอ. ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จพระราช ดำเนิน ทอดพระเนตร พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร
นอกจากการวิจัย และพัฒนาดินขับจรวดชนิดสองฐานแล้ว ศวอ.ทอ. ยังได้สั่งสมเทคโนโลยีเกี่ยวกับดินขับจรวดชนิดฐานผสม หรือ Composite มาอย่างต่อเนื่อง ด้วยเล็งเห็นว่าเป็นเทคโนโลยีดินขับจรวดที่ทันสมัย และมีสมรรถนะสูงกว่า ดินขับจรวดชนิดสองฐาน โดยในปี ๒๖ ได้ทดลองจรวดดินขับ Composite ขนาด ๒.๕ นิ้ว "เห่าฟ้า ๔" ประสบความสำเร็จ มีการนำไปยิงแสดง ในการสาธิตการใช้อาวุธ เมื่อปลายปี ๒๖ ด้วยจำนวนหนึ่ง ในช่วงปี ๒๗ ศวอ.ทอ. มีขีดความสามารถสูงพอ ที่จะดำเนินการวิจัยและพัฒนา จรวดขนาดใหญ่ได้ เมื่อได้รับความเห็นชอบ โดยได้รับการสนับสนุนจาก พล.อ.อ.ประพันธ์ ธูปะเตมีย์ ผบ.ทอ. ในขณะนั้น จึงดำเนินการวิจัยและพัฒนาจรวด ขนาด ๑๔๐ มม.
จรวดขนาด ๑๔๐ มม. เป็นจรวดที่ยิงจากภาคพื้น พัฒนาขึ้นเพื่อการวิจัย บรรทุกน้ำหนักได้สูงสุด ๒๔ กก. มีระยะยิง (จากการคำนวณ) ประมาณ ๗๐ กม. ได้มีการผลิตและจุดทดสอบ ทั้งภาคสถิตและยิงจริงภาคพลวัต รวม ๑๕ นัด

s
การดำเนินงานวิจัยและพัฒนาในช่วงแรก นับเป็น การปูพื้นฐาน ทางเทคโนโลยี ดินขับจรวด ส่วนการวิจัยและพัฒนาจรวดขนาดมาตรฐานโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อผลิตทดแทนจรวดแบบที่กองทัพจัดหามาจากต่างประเทศเพื่อใช้ราชการ เริ่มต้น จากการวิจัยและพัฒนาจรวดขนาด ๒.๗๕ นิ้ว โดยในปี ๒๙ ศวอ.ทอ. ได้รับ อนุมัติให้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาจรวดอากาศ ขนาด ๒.๗๕ นิ้ว ดินขับ Composite ใช้ชื่อว่า "จรวดเห่าฟ้า-๕ MOD 1" ซึ่งได้ดำเนินการจนประสบผลสำเร็จ และได้มี การทดลองยิงจรวดดังกล่าวจาก บ.จ.๕ (OV-10C) จำนวน ๒ ครั้ง ใช้จรวดรวม ๖๐ นัด ผลการทดสอบเป็นที่น่าพอใจ จรวดทำงานได้อย่างถูกต้อง และมีความแม่นยำ

q
   ต่อมาในปี ๓๑ สพ.ทอ.ได้ปรับปรุงโรงงานผลิตจรวดที่ บน.๒ เพื่อผลิตจรวดอากาศขนาด ๒.๗๕ นิ้ว แบบ Mk 40 อันเป็นจรวดสมรรถนะปานกลางที่ใช้ในการฝึก ซึ่ง คณก.มาตรฐานระบบอาวุธ ทอ. ได้รับรองมาตรฐานจรวดอากาศขนาด ๒.๗๕ นิ้ว Mk 40 ของ สพ.ทอ. เมื่อปี ๓๔ และมีการผลิตใช้งานใน ทอ. สืบต่อมา
ในช่วงเวลา ประมาณปี ๓๐ - ๓๔ ทอ.ของประเทศต่าง ๆ รวมถึงประเทศในกลุ่ม NATO และทอ.ไทย ได้รับจรวดอากาศขนาด ๒.๗๕ นิ้ว แบบใหม่เข้าประจำการคือ จรวด CRV - 7 (Canadian Rocket Vehicle - 7) ผลิตในประเทศแคนาดา เป็นจรวดซึ่งใช้ดินขับ Composite มีสมรรถนะสูงกว่าจรวด ๒.๗๕ นิ้ว ที่ใช้ดินขับ Double Base แบบเดิม ศว อ.ทอ.จึง พัฒนาปรับปรุงจรวดเห่าฟ้า-๕ MOD 1 ให้มีสมรรถนะสูงเทียบเท่า จรวดมาตรฐาน NATO โดยเรียกชื่อว่า "จรวดเห่าฟ้า-๕ MOD X" ทั้งนี้มีเป้าหมายที่ จะพัฒนาคุณภาพ ของจรวดที่ผลิตให้มีความปลอดภัย ในการใช้งาน และมีความเชื่อถือได้สูงอยู่ใน ระดับมาตรฐานสากล เช่นเดียวกับ จรวดมาตรฐาน NATO ด้วย กรรมวิธีการวิจัย และพัฒนาจรวด ให้มีสมรรถนะ เทียบเท่ากับจรวดมาตรฐาน NATO ใช้ข้อมูลสมรรถนะของจรวดมาตรฐาน NATO เป็นตัวตั้ง แล้วจึงออกแบบจรวดให้มีสมรรถนะตามตัวตั้งนั้น แต่ด้วยข้อจำกัด ของงบประมาณ จึงมิได้มีการซื้อเทคโนโลยีสำเร็จรูปมาจากต่างประเทศ เทคโนโลยีที่ใช้ ค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ และการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และ อุปกรณ์เครื่องมือ กับมิตรประเทศ ซึ่งอยู่ในระหว่างดำเนิน การวิจัยพัฒนาจรวดชนิดเดียวกัน การทดสอบความ เป็นมาตรฐาน ของจรวด ได้ดำเนินการทดสอบตามมาตรฐานต่างประเทศ ซึ่งประกอบด้วยการยิงทดสอบจรวดจำนวน ๓๑๔ นัด และการทดสอบ จำลอง สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ตามมาตรฐาน MIL-STD-810 ของ กห.สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นวิธีการทดสอบจำลองสภาพแวดล้อมรุนแรงต่าง ๆ เช่น การตกกระแทก การแช่ในน้ำ สภาพอุณหภูมิต่ำ-สูง -๕๔ ถึง +๖๖ องศาเซลเซียส การสั่นสะเทือนจากการติดตั้งกับอากาศยาน และจากการ ขนส่งทางบก รวมถึงจำลองสภาพการเก็บรักษาเป็นเวลานาน ๑๐ ปี จรวดจะต้องใช้งานได้เป็นปกติหลังจากผ่านการทดสอบเหล่านี้มาแล้ว

w
   การพัฒนาจรวดให้มีสมรรถนะเทียบเท่าจรวดมาตรฐาน NATO นับเป็นเป้าหมายที่บรรลุได้ยากพอสมควร เนื่องจากจรวดแบบนี้มีสมรรถนะสูง จนอาจเรียกได้ว่ามีสมรรถนะสูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ด้วยเทคโนโลยีด้านดินขับ Composite ที่มีอยู่ในโลกขณะนั้น การดำเนินงาน ในครั้งแรกประสบปัญหาทางเทคนิคในบางขั้นตอน เช่นยังขาดอุปกรณ์ตรวจสอบคุณภาพในการผลิต และสารเคมี ที่เป็นวัตถุดิบเสื่อมสภาพ ลงตามระยะเวลา ในระหว่างที่ยังมีข้อขัดข้อง ในการวิจัยจรวดขนาด ๒.๗๕ นิ้ว ศวอ.ทอ.ได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาจรวดควัน Smokey Sam ขึ้น ตามความต้องการทางด้านยุทธการ โดยจรวดควัน Smokey Sam เป็นจรวดที่มีลำตัวสร้างจากกระดาษและโฟม บรรจุดินขับ Composite ชนิดควันมาก ได้พัฒนาขึ้นเพื่อจำลองการยิงของอาวุธนำวิถีพื้นสู่อากาศ SA-7 สำหรับใช้ฝึกทางยุทธวิธี ของนักบินให้มี ความคุ้นเคยกับการถูก ต่อต้านจากกำลังภาคพื้น ทอ.ได้รับรองมาตรฐานจรวดควัน Smokey Sam เมื่อต้นปี ๓๕ และให้ผลิตได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อนำมาใช้ ราชการ สืบต่อมา

s

ใน ปี ๓๘ ศวอ.ทอ. ได้รับงบประมาณจาก สวพ.กห. มาซื้อวัสดุ อุปกรณ์เครื่องมือที่ยังขาดอยู่ จึงสามารถดำเนินการวิจัยจรวด ขนาด ๒.๗๕ นิ้ว ดินขับ Composite ได้จนบรรลุวัตถุประสงค์ จรวดผ่านการทดสอบตามขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้ รวมถึงการยิงภาคอากาศจาก บ.ขฝ.๑ (L-39) จำนวน ๑๐๐ นัด และ ทอ.ได้รับรองมาตรฐานของจรวด เมื่อต้นปี ๔๑ แม้ปัจจุบัน ยังไม่มี การดำเนินการผลิต จรวดชนิดนี้ขึ้นเพื่อใช้งาน แต่ในการวิจัยและพัฒนาได้กำหนดกรรมวิธีและ รปป.ต่าง ๆ สำหรับทุกขั้นตอนการผลิต และการตรวจสอบควบคุมคุณภาพ ดังนั้น ศวอ.ทอ. จึงสามารถดำเนินการผลิตได้ทันที เมื่อกองทัพมีความต้องการ
ต่อมาโครงการวิจัยและพัฒนาจรวดขนาด ๒.๗๕ นิ้ว ดินขับ Composite ได้รับรางวัลสิ่งประดิษฐ์คิดค้นของ ทอ. ประจำปี ๔๒ และยังได้รับรางวัลชมเชย ผลงานประดิษฐ์คิดค้น ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและอุตสาหกรรม ประจำปี ๔๓ จากสภาวิจัยแห่งชาติ

q
ผลที่ได้รับ จากการดำเนินโครงการวิจัย และพัฒนาจรวด ๒.๗๕ นิ้ว ดินขับ Composite นอกจากจะเกิด ความร้ ูความ ชำนาญ ในการผลิต จรวด สมรรถนะสูง ที่เป็นมาตรฐานแล้ว ผลที่นับว่ามีคุณค่าอย่างมากคือ ได้เทคโนโลยีในการออกแบบ ผลิต ควบคุมคุณภาพ และทดสอบจรวด รวมถึงการจำลองสภาพแวดล้อม (Environmental Test) และ การจำลองการเก็บรักษา (Aging) เทคโนโลยีเหล่าน ี้ได้ นำมาใช้พัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ และใช้ทดสอบ เพื่อเป็นข้อมูล ประกอบการพิจารณา ยืดอายุใช้งานอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ ในเวลาต่อมา รวมทั้งการ พิจารณายืดอายุอาวุธนำวิถีด้วย ตัวอย่าง การนำเทคโนโลยี ที่ได้รับมาใช้ พัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ ได้แก่ โครงการจรวดลากระเบิดสาย ซึ่งกรมการทหารช่าง (กช.) ดำเนินการวิจัยร่วมกับ ศวอ.ทอ. มีวัตถุประสงค ์เพื่อ พัฒนาอุปกรณ์ สำหรับ ใช้เจาะช่องในสนามทุ่นระเบิด เพื่อให้รถถังเคลื่อนที่ผ่านได้ โดยใช้จรวดลากสาย ซึ่งเป็นท่ออ่อนบรรจุวัตถุระเบิด ให้สายระเบิดนั้นตกลงมาพาดผ่าน สนามทุ่นระเบิด แล้วจุดให้ สายระเบิด เกิดการระเบิดแรงอัดจะทำลาย ทุ่นระเบิดที่ฝังอยู่โดยรอบ เป็นช่องทางให้กำลังฝ่ายเราเคลื่อนที่ผ่านไปได้ ศว อ.ทอ.ดำเนินการในส่วนของจรวดครั้งแรกเมื่อปี ๓๗ -๓๘ ทดลองใช้จรวดขนาด ๒.๗๕ นิ้ว ลากสายระเบิด แต่แรงขับสูงเกินไป ทำให้สายระเบิดขาด จึงได้มีการชะลอโครงการไว้ และดำเนินการต่อในปี ๔๑ หลังจาก เสร็จสิ้นการวิจัยและพัฒนาจรวด ขนาด ๒.๗๕ นิ้ว ดินขับ Composite โดย ศวอ.ทอ.ได้ออกแบบจรวดขึ้นใหม่ เป็นจรวดขนาด ๑๖๙ มม. ซึ่งออกแบบ ให้มีแรงขับเหมาะกับการลากระเบิดสายโดยตรง การวิจัย ได้ผลตาม ความต้องการ โดย กช. พัฒนา รถพ่วงบรรจุสายระเบิด พร้อมแท่นยิงจรวดและระบบ สายบรรจุวัตถุระเบิด นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ออกแบบระบบหน่วงให้สายระเบิดตึงเมื่อตกลงพาดพื้น ผลของโครงการทำให้ ศวอ.ทอ. ได้รับเทคโนโลยีสำคัญหลายประการเช่น เทคโนโลยีการออกแบบ ระบบ ฉนวนกัน ความร้อน และดินขับสำหรับจรวดขนาดใหญ่ กับเทคโนโลยี การใช้แบบ จำลอง ทางคณิตศาสตร์ร่วมกับ การคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อออกแบบจรวดให้มีสมรรถนะตรงตามความต้องการใช้งาน นอกจากนั้น ศวอ.ทอ. ยังดำเนินการศึกษา เทคโนโลยีพื้นฐานเกี่ยวกับดินขับจรวด เช่นการศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตดินขับ Composite ชนิดแอมโมเนียมไนเตรท เพื่อทดลองใช้สารแอมโมเนียมไนเตรทที่ผลิตได้ในประเทศ และมีราคาถูก มาเป็นตัวให้ออกซิเจน ในการผลิตดินขับ จรวดราคาต่ำ เช่น จรวดสำหรับ ส่งเครื่องบินเป้าขึ้นจากรางปล่อย หรือ ในอุปกรณ์การผลิต ก๊าซความดันสูง สำหรับขับพื้น บังคับ ของอาวุธ นำวิถี และจากผล การศึกษาพบว่า แอมโมเนียมไนเตรท มีข้อจำกัดหลายประการ เช่นจุดตัวได้ยาก เผาไหม้ได้เฉพาะ ในสภาพความดันสูง และดูดความชื้นได้รวดเร็ว การใช้งานจึงกระทำได้เพียง ในบางกรณี ซึ่งอยู่ในระหว่างการศึกษาต่อไป

a
โครงการวิจัยและพัฒนาในปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นก้าวต่อไปของเทคโนโลยีจรวดของ ศวอ.ทอ. คือโครงการพัฒนาส่วนลำตัวจรวด ขนาด ๑๒๗ มม. ที่มุ่งเน้นการออกแบบ และผลิตส่วนขับเคลื่อนจรวดขนาดใหญ่ให้ มีสมรรถนะพิเศษตามแบบที่ต้องการ ในปัจจุบัน อัน เป็นยุคของ อาวุธนำวิถีความแม่นยำสูง ระยะยิงไกลพ้นระยะสายตา อาจมองว่าการขับเคลื่อนของจรวดเป็นเทคโนโลยีต่ำ มีความสำคัญ ลดน้อยลง แต่วิชาการในด้านนี้ก็ยังมีความจำเป็นในระบบอาวุธต่าง ๆ อยู่มาก เทคโนโลยีจรวด จึงยังคงเป็น สิ่งที่จำเป็นต้องติดตาม และพัฒนาขีดความสามารถต่อไป ซึ่งในระยะสั้นนอกจากจะนำเทคโนโลยีนี้มาใช้สร้างอุปกรณ์ เช่น อุปกรณ์เครื่องช่วยฝึกต่าง ๆ แล้ว ประโยชน์ที่สำคัญคือ การใช้ความรู้และเทคโนโลยีที่มีอยู่ ในการให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้บังคับบัญชา เพื่อการตกลงใจ เลือกแบบ อาวุธนำวิถี หรือพิจารณายืดอายุ การใช้งานของอาวุธนำวิถี และอุปกรณ์อื่น ๆ ในลักษณะผู้ซื้อและผู้ใช้ที่ชาญฉลาด ส่วนในระยะยาว อาจนำเทคโนโลยี มาใช้ใน การผลิตดินขับเพื่อทดแทนหรือ ปรับปรุงส่วนขับเคลื่อน ของอาวุธนำวิถีที่ดินขับเดิม เสื่อมอายุไปแล้ว หรือใช้เทคโนโลยีออกแบบส่วนขับเคลื่อนของอาวุธนำวิถีที่เป็นของประเทศไทยเอง ซึ่งต้องมีการพัฒนาต่อไป

                                    {youtube width="380" height="300"}sf5swOjQ6jE{/youtube}

 

บทความโดย น.อ.เจษฎา คีรีรัฐนิคม

จากเว็บ

http://www.rdc.rtaf.mi.th/html/Others/rocketdevelop.html

Go to top