แพทย์แผนไทย โคราช รักษาโรค SLE ไขความลับวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคพุ่มพวง ( SLE)
รถตู้ให้เช่า ร้อยเอ็ด
หมอเอ ณัฐปราชญ์ คลินิก

d  

ทุกวันนี้วิทยาการทางการแพทย์ของไทยก้าวล้ำนำหน้าไปมาก หลายๆ โรคที่เคยรักษาไม่หาย ก็สามารถฉีดวัคซีนป้องกันได้ หรือบางโรคที่จำเป็นต้องทำการผ่าตัด แผลผ่าตัดปัจจุบันนี้ก็สามารถทำให้ยาวได้ไม่เกินนิ้วก้อยเด็กด้วยซ้ำ


แล้วสัตว์ล่ะ? วงการสัตว์แพทย์ไทยก้าวไปถึงไหนกันแล้ว?

 

 

ได้มีโอกาสไปร่วมทัวร์คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม เมื่อวันที่ 21 กันยายนที่ผ่านมา ซึ่งจัดการแถลงข่าวความสำเร็จในการผ่าตัดแก้ไขภาวะนิ่วในช้างได้เป็นครั้งแรกของโลก!!

f
ทำได้อย่างไรนั้น ผศ.น.สพ.ดร.สิทธวีร์ ทองทิพย์ศิริเดช อาจารย์จากภาควิชาเวชศาสตร์คลินิกสัตว์ใหญ่และสัตว์ป่าคณะสัตวแพทยศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เล่าให้ฟังว่า โรงพยาบาลสัตว์ (ใหญ่) ที่กำแพงแสน เราได้รับ "พังคำมูล" ช้างเพศเมียวัย 45 ปี มารับการรักษาจาก นายอลงกต ชูแก้ว ผู้อำนวยการกองทุนวิจัยและอนุรักษ์ช้างไทย เมื่อวันที่ 14 กันยายนที่ผ่านมา ด้วยอาการบวมบริเวณฝีเย็บใต้ทวารหนัก โดยมีขนาดก้อนใหญ่ถึง 30 เซ็นติเมตร ร่วมกับอาการปัสสาวะกะปริบกะปรอย และจากการซักประวัติทราบว่าพังคำมูลทำงานด้วยการรับนักท่องเที่ยวขึ้นขี่หลังชมธรรมชาติที่เกาะพงัน จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อห้าปีที่แล้ว ก่อนจะย้ายมาที่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ในปีนี้  แล้วอาการก็ทรุดหนักลงเรื่อยๆ เจ้าของจึงตัดสินใจนำส่งโรงพยาบาลในที่สุด

d
ผศ.น.สพ.ดร.สิทธวีร์ กล่าวต่อว่า เมื่อมาถึงและเราพบสภาพว่าช้างมีอาการป่วยที่หนักมาก เราจึงทำการตรวจด้วยการส่องกล้องเอนโดสโคปผ่านทางช่องคลอดและการอัลตร้าซาวด์ผ่านทวารหนักและผิวหนัง พร้อมกับเจาะเก็บตัวอย่าง ผลการตรวจพบวัตถุแข็งจำนวนมากอยู่ภายใน ทีมสัตวแพทย์จึงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นภาวะนิ่วอุตตัน เพราะผลการตรวจเห็นภาพเป็นก้อนกลมแข็งอยู่ภายใน

 

"พังคำมูล" ในสภาพที่ดีขึ้นมากแล้ว และระหว่างการเยี่ยมชมก็ทั้งปัสสาวะและอุจจาระโชว์ผู้สื่อข่าวทันที

f
"ตอนแรกที่เราเห็นจากภาพนึกว่าเป็นลูกช้างตายอยู่ในนั้นด้วยซ้ำ เพราะมีลักษณะกลมโตใหญ่มากซึ่งเป็นไปได้ว่าจะเป็นส่วนหัวของลูกช้าง แต่เมื่อสอบถามพบว่าพังคำมูลไม่เคยมีประวัติผสมพันธุ์มาก่อนเลย ทำให้ทีมสัตวแพทย์มุ่งไปที่ประเด็นของการเป็นนิ่ว"

f
ผศ.น.สพ.ดร.สิทธวีร์ กล่าวต่อว่า หลังประเมินสุขภาพเรียบร้อยแล้ว รุ่งขึ้นเช้าวันเสาร์ที่ 15 กันยายน ทีมสัตวแพทย์ได้ทำการวางยาซึมและให้ยาเฉพาะที่และทำการ่าตัดเอานิ่วที่อุตตันทางเดินปัสสาวะออก ก็พบว่ามีก้อนนิ่วอยู่ภายในตัวพังคำมูลมีมากถึง 162 ก้อน โดยแต่ละก้อนนั้นมีขนาดตั้งแต่เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เซ็นติเมตรไปจนถึง 10 เซ็นติเมตร หรือขนาดเท่ากับผลแอปเปิ้ลหนึ่งลูกเลยทีเดียว ซึ่งยังไม่รวมถึงก้อนละเอียดเล็กๆ ที่มีลักษณะคล้ายเม็ดทรายอีกเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ก้อนนิ่วทั้งหมดมีน้ำหนักรวมถึง 8 กิโลกรัม และใช้เวลาผ่าตัดไปนานถึง 3 ชั่วโมง แม้ว่าหลังผ่าตัดจะมีอาการข้างเคียงคือท้องอืด แต่ก็ได้ทำการรักษาจนกระทั่งหายเป็นปกติ และกลับมาปัสสาวะและอุจจาระได้ดีอีกครั้ง

 

ก้อนนิ้วทั้ง 162 ก้อน น้ำหนักรวม 8 กก. ลูกใหญ่สุดเท่ากับแอปเปิ้ลเลยทีเดียว

d
"การผ่าตัดครั้งนี้ถือเป็นการการผ่าตัดแก้ไขภาวะนิ่วอุดตันทางเดินปัสสาวะในช้าสำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก อย่างไรก็ตาม การศึกษาย้อนหลังไปถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะนิ่วในช้างเชือกนี้ น่าสนใจมาก เพราะทราบมาว่ายังมีช้างที่เกาะพงันอยู่อีกจำนวนมาก ซึ่งมีวิถีการกินคล้ายกับพังคำมูล คือดื่มน้ำจากน้ำตกและรับประทานทางมะพร้าว ซึ่งเป็นพืชที่ให้น้ำน้อยมาก เพราะโดยปกติแล้วช้างจะต้องกินน้ำให้ได้อย่างน้อยวันละ 200 ลิตร จึงทำให้น่ากังวลว่าช้างที่เกาะพงันอาจจะมีภาวะเป็นนิ่วอยู่เป็นจำนวนมากก็ได้"

f
นายอลงกต ชูแก้ว ผู้อำนวยการกองทุนวิจัยและอนุรักษ์ช้างไทย กล่าวชื่นชมทีมสัตวแพทย์ไทย รพ.สัตว์ มก. ว่า ขอชื่นชมในความสามารถของคุณหมอและทีมสัตวแพทย์ มก.ทุกท่าน ด้วยความที่ท่านมีฝือมือและเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านต่อมไร้ท่อของช้าง ทำให้เรามั่นใจว่าคุณหมอจะสามารถช่วยชีวิตพังคำมูลได้ เพราะต้องบอกเลยว่าในสภาพแรกที่มานั้น เราคิดว่าคงต้องเสียพังคำมูลไปแน่แล้ว เพราะอาการนั่นทั้งเซื่องซึม หูหางตก และก็ยังนั่งไม่ได้ เรียกได้ว่าอาการเข้าขั้นตรีภูติเลย แต่หลังการผ่าตัดแล้วพังคำมูลเปลี่ยนไปอย่างมาก สดใส กินได้ ถ่ายได้ แทบจะไม่เหลือสภาพก่อนหน้านี้ไว้เลย และจากการที่ทำงานกับเอ็นจีโอเรื่องช้างในต่างประเทศมามาก ทำให้ตนมั่นใจว่าทีมสัตวแพทย์ไทย โดยเฉพาะที่ มก.แห่งนี้เป็นทีมสัตวแพทย์ด้านช้างมือหนึ่งของโลกแน่นอน


"ดีใจแทนพังคำมูล เพราะเค้าเป็นช้างที่ใจดี และแถมยังเป็นผู้ช่วยที่ดีในการช่วยพัฒนาฝึกเด็กออทิสติกอีกด้วย เราไม่อยากเสียช้างที่ดีๆ อย่างนี้ไป เพราะอาจเรียกได้ว่าพังคำมูลมีบุญคุณต้องมนุษย์อย่างพวกเรา ถ้าอะไรที่จะช่วยชีวิตเค้าได้เราก็อยากที่จะทำ และเร็วๆ นี้ทางทีมงานก็เตรียมที่จะลงพื้นที่ไปสำรวจเกาะพงัน ซึ่งเราเชื่อว่ายังมีช้างอีกหลายตัวมีพฤติกรรมการกินแบบพังคำมูล และอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนิ่วได้ ก็จะเป็นการดีทั้งในแง่ของการศึกษาวิจัยและการอนุรักษ์ช้างต่อไป"

 

นายอลงกต ชูแก้ว ผู้อำนวยการกองทุนวิจัยและอนุรักษ์ช้างไทย

d
อีกความสำเร็จที่น่ายินดีคือ การผ่าตัดแก้ไขสภาวะลำไส้ใหญ่ (Small Colon) อุตตันในม้า โดยการทำศัลยกรรมตัดต่อลำไส้ใหญ่สำเร็จครั้งแรกของประเทศ ผศ.ดร.วรกิจ เชิดชูธรรม หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์คลินิกสัตว์ใหญ่และสัตว์ป่า คณะสัตวแพทยศาสตร์ มก. กำแพงแสน กล่าวว่า เมื่อปลายปี 2544 คลินิกม้าของโรงพยาบาลสัตว์ มก. ประสบผลสำเร็จเป็นครั้งแรกของประเทศในการทำศัลยกรรมโดยวิธีตัดต่อลำไส้ใหญ่ส่วน Small Colon ในม้าพันธุ์ผสมพื้นเมืองของไทย 2 ตัว จากปัญหาการอัดแน่นของกากอาหารจนเกิดเนื้อตายที่ลำไส้ใหญ่ โดยจำเป็นจะต้องตัดส่วนเนื้อตายออกประมาณ 1 ฟุต ซึ่งต้องอาศัยคามพร้อมและทีมศัลยกรรมที่มีความชำนาญการอย่างมาก อย่างไรก็ตาม หลังการผ่าตัดเรียบร้อยแล้ว ก็พบว่าม้าทั้งสองตัวสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนเป็นเวลานานถึง 10 เดือนด้วยกัน นับเป็นความสำเร็จอีกคขั้นของการพัฒนา ความพร้อมในการเป็นโรงพยาบาลสัตว์อ้างอิงของการทำศัลยกรรมแก้ไขความผิดปกติ ภาวะเสียดในม้าได้เป็นครั้งแรกของประเทศไทย

 

เทียบกันให้เห็นจะจะ

f
ด้าน รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดี มก. กล่าวว่า ทั้งสองผลงานเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัย ซึ่งเรามีความมั่นใจว่าคณะสัตวแพทย์ ของ มก. เป็นทีมสัตวแพทย์ระดับชั้นนำของอาเซียน และยิ่งเมื่อเราเป็นประชาคมอาเซียนแล้ว ตนเชื่อว่าคณะสัตวแพทย์จะเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคญของมหาวิทยาลัยแน่นอน อย่างไรก็ตาม อยากฝากรัฐบาลเรื่องการยกระดับคณะสัตวแพทย์ว่า น่าจะทำให้มีความเทียบเท่ากับคณะแพทย์ เพราะอย่าลืมว่าปัจจุบันนี้โรคในสัตว์สามารถติดต่อไปยังคนได้แล้ว หากได้มีการดูแลด้านงบประมาณให้มีความทัดเทียมกัน เชื่อว่าวงการสัตวแพทย์ไทยจะก้าวหน้าไปอีกมาก และเราจะกลายเป็นที่หนึ่งในอาเซียนแน่นอน

 

ขอบคุณข้อมูล  : http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1348299382&grpid=01&catid=&subcatid=

 

Go to top