แพทย์แผนไทย โคราช รักษาโรค SLE ไขความลับวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคพุ่มพวง ( SLE)
รถตู้ให้เช่า ร้อยเอ็ด
หมอเอ ณัฐปราชญ์ คลินิก

c  การแสดงโขนรามเกียรติ์ ชุด "จองถนน" มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จัดแสดงขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา รวมทั้งต้องการเผยแพร่ความรู้นาฏศิลป์ชั้นสูงของไทยตามพระราชปณิธาน อีกทั้งอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมดั้งเดิมของชาติไว้ไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา

 

 การจัดแสดงโขนครั้งนี้เป็นปีที่ 4 แล้ว เป็นตอนที่ชื่อ "จองถนน" มาจาก "พระรามจองถนน" โดยจัดแสดงระหว่างวันที่ 2-30 พฤศจิกายน 2555 ที่หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

 คำว่า "จองถนน" มีใช้กันมาแต่โบราณ หมายถึงถมที่ลุ่มขึ้นเป็นถนน หรือหากว่าตามพจนานุกรม ฉบับอาจารย์เปลื้อง ณ นคร ความหมายก็ไม่แตกต่างกัน คือการระดมกำลังถมที่ดินที่กำหนดไว้เพื่อทำถนน "พระรามจองถนน" เป็นตอนหนึ่งในรามเกียรติ์ ซึ่งมีเนื้อเรื่อง เริ่มจาก พระรามจะเดินทางไปกรุงลงกา ซึ่งต้องผ่านมหาสมุทร  "ชามพูวราช"ได้เสนอว่าการที่พระรามจะข้ามไปลงกาด้วยฤทธิ์อำนาจที่เหล่าทหารขันอาสานั้นย่อมทำได้ แต่จะทำให้เสียพระเกียรติยศ ควรจะให้ไพร่พลนำเอาหินไปทิ้งเพื่อสร้างถนนในมหาสมุทร พระรามจึงสั่งให้สุครีพพาไพร่พลไปเร่งสร้างถนน โดยให้นิลพัทควบคุมไพร่พลเมืองชมพู หนุมานควบคุมไพร่พลเมืองขีดขิน ผลัดกันรับส่งหินไปทิ้งลงมหาสมุทร เพื่อทำเป็นถนนข้ามไปยังกรุงลงกา และนี่กลายเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้นิลพัทและหนุมานเกิดลองฝีมือกัน สุครีพเห็นสองพญาวานรต่อสู้กัน ก็ร้องห้ามเท่าไรก็ไม่ฟัง นิลพัทโกรธท้าหนุมานต่อสู้ดังกึกก้อง

v

พระรามจึงออกมาดูว่าเกิดอะไรขึ้น เมื่อทราบเรื่องจากสุครีพก็ทรงกริ้วมากเห็นว่าทั้งสองคงอยู่ด้วยกันนั้นไม่ได้ จึงให้หนุมานอยู่กับพระราม ส่วนนิลพัทให้กลับไปช่วยท้าวชมพูดูแลเมืองขีดขิน ทำหน้าที่ส่งเสบียงให้กองทัพเดือนละครั้ง ถ้าขาดราชการจะประหารเสีย ฝ่ายพระรามได้สั่งให้หนุมานจองถนนไปกรุงลงกาเสร็จภายในเจ็ดวัน หากไม่เสร็จจะประหารชีวิต

c

ฝ่ายพวกยักษ์เห็นมีกองทัพเคลื่อนมาจากแผ่นดินใหญ่ทำสะพานจะข้ามมายังกรุงลงกาจึงรีบไปทูลทศกัณฐ์ทราบ ทศกรรฐ์รู้ข่าวการจองถนน คิดถึงภัยข้างหน้า จึงให้ "นางสุพรรณมัจฉา" บุตรีที่มีแม่เป็นปลานำเหล่าบริวารปลาขนหินไปทิ้งกลางทะเลลึกไม่ให้ถนนเสร็จได้ ฝ่ายสุครีพและหนุมานเห็นว่าจองถนนเท่าไรก็ไม่เต็มเสียที หนำซ้ำหินที่ถมยุบหายไปหมด

v

หนุมานอาสาดำลงไปดูใต้ทะเล และพบว่ามีฝูงปลากำลังเร่งขนหินไปทิ้ง โดยมีนางสุพรรณมัจฉาเป็นผู้บงการ จึงรีบจับตัวมานางสุพรรณมัจฉา และด้วยความกลัวนางสุพรรณมัจฉาจึงยอมสารภาพและร้องขอชีวิต ด้วยนางมีใบหน้าอ่อนหวานงดงามอีกทั้งน้ำเสียงก็ไพเราะ หนุมานจึงตกหลุมรักและได้นางเป็นเมีย นางจึงช่วยขนหินกลับมาตามเดิม

v

ต่อมานางสุพรรณมัจฉาตั้งครรภ์แต่กลัวอาญาจากทศกัณฐ์จึงแอบมาสำรอกลูกไว้บนชายฝั่งเป็นโอรสผิวขาวกายเป็นลิงหางเป็นปลา มีชื่อว่า "มัจฉานุ" แล้วนางได้สั่งกับลูกว่า "วันหนึ่งเมื่อพบหนุมาน มีกุณฑล ขนเพชร เขี้ยวแก้ว หาวเป็นดาวเป็นเดือน ผู้นั้นคือพ่อของเจ้าเอง"

c

ฝ่ายไมยราพที่ครองเมืองบาดาล ฝันว่ามีเทวดา นำแก้วใสสว่างมาให้ โหรทำนายว่าจะได้บุตรบุญธรรมผู้มีฤทธิ์ ต่อมาเทวดาดลใจให้ออกไปประพาสป่าพบมัจฉานุ จึงได้พามัจฉานุไปเลี้ยงไว้ที่เมืองบาดาล

v

ฝ่าย พระรามเมื่อจองถนนข้ามไปสู่ลงกาเสร็จก็ออกเดินทัพ พระอินทร์หรือท้าวสหัสนัยน์ใช้ตาทิพย์ส่องมายังโลกมนุษย์ก็เห็นกองทัพพระราม เตรียมพล เพื่อเดินทางไปปราบทศกัณฐ์ เห็นพระรามต้องเดินด้วยพระบาทไม่มีรถทรงแต่อย่างใด จึงสั่งมาตุลีนำรถแก้วเวไชยันต์มามอบให้พระราม พร้อมกับมาตุลีเป็นสารถีประจำรถม้ารับใช้ไปจนกว่าจะเสร็จศึกสงคราม  พระรามยินดีเป็นยิ่งนัก แล้วทรงประทับรถทรงเวไชยันต์เคลื่อนขบวนทัพผ่านถนนที่จองเสร็จสู่เขาเชิง มรกตโดยให้ประคนธรรมล่วงหน้าไปตรวจชัยภูมิก่อนเพื่อตั้งทัพอีกครั้งจึงพักรอ ที่ริมน้ำ

v

ฝ่ายกองคอยเหตุยักษ์เมื่อเห็นมีกองทัพข้ามมาจึงไปรายงานให้ทศกัณฐ์ทราบว่าคณะพระรามได้มาหยุดพักอยู่ที่ริมน้ำ ทศกัณฐ์จึงสั่งยักษ์ชื่อ "ภานุราช" ให้รีบไปป่านิมิตพรรณไม้นานาที่มีผลชวนรับประทาน มีน้ำท่าและภูมิประเทศสวยงาม แต่เจือไปด้วยยาพิษ ส่วนต้นไม้ที่ออกดอกออกผลมีกลิ่นหอมหวานแต่ใบต้นเบื่อเมา แล้วภานุราชก็แทรกแผ่นดินลงไป เอาสองมือยันพื้นแผ่นดิน เมื่อประคนธรรมมาดูสถานที่เพื่อตั้งทัพพลับพลาเห็นที่นิมิตของยักษ์กว้างขวาง น้ำท่า ผลหมากรากไม้อุดมสมบูรณ์จึงกลับมาทูลพระราม

v

ฝ่ายพระรามเมื่อถึงลงกาได้ให้ประคนธรรพ์ดูเลตั้งทัพ เห็นป่าเนรมิตก็ชอบ พระรามสงสัยจึงถามพิเภก พิเภกทูลว่าที่กรุงลงกาไม่มีป่าอย่างนี้ น่าจะเป็นอุบาย พระรามให้หนุมานไปดู หนุมานดูแล้วก็รู้ว่าเป็นกลของยักษ์ เพราะในป่ามีผลไม้สุกแต่ไม่มีนกจิกกินผลไม้ น่าจะมีศัตรูอยู่ใต้พื้นดิน จึงแทรกแผ่นดินไปพบภานุราช เอามือแบกแผ่นดินไว้  หนุมานจึงชักตรีออกฆ่าภานุราชตาย  เมื่อกลับมารายงาน พระรามโกรธประคนธรรมมาก จึงไล่ประคนธรรพ์ไปเนื่องจากเสียรู้ข้าศึก

และนี้คือเรื่องย่อในตอนจองถนน ที่จะแสดงในครั้งนี้

 

 {youtube width="550"}73Ye3clwcaI{/youtube}

การแสดงโขนนั้น สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งนอกเหนือจากเครื่องแต่งกาย และท่าร่ายรำของเหล่านักแสดงแล้วก็คือ "ฉากและอุปกรณ์ประกอบฉาก" ซึ่งจะช่วยทำให้การดูโขนออกรสชาติและสนุกสนาน ผู้ออกแบบฉากการแสดง 3 ครั้งที่ผ่านมา คือ อาจารย์สุดสาคร ชายเสม พูดถึงฉากโขนชุดจองถนน ว่ามีฉากมากถึง 10 ฉาก เป็นการเนรมิตขึ้นมาใหม่ทั้งหมด โดยไฮไลต์อยู่ที่สถาปัตยกรรมเกี่ยวเนื่องกับราชสำนัก เช่น ฉากพลับพลาที่ประทับกลางป่าของพระราม เป็นพลับพลาเครื่องไม้ที่งดงามและยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โขนไทย


"ขณะนี้งานทั้งหมดคืบหน้าไปมากแล้ว เหลือไม่กี่เปอร์เซ็นต์ ส่วนมากเป็นเรื่องของเพ้นต์ติ้ง และรายละเอียดของอุปกรณ์ประกอบฉาก"


อาจารย์สุดสาครอธิบายถึงฉากสำคัญๆ ได้แก่ ฉาก "ตำหนักน้ำกรุงลงกา" สถานที่ที่ทศกัณฐ์เรียก "นางสุพรรณมัจฉา" ลูกที่เกิดจากนางปลามาเข้าเฝ้า


ฉาก "พลับพลาพระราม" ซึ่งตั้งอยู่กลางป่า ผู้ชมจะได้เห็นเครื่องตกแต่งตามโบราณราชประเพณีครบถ้วน


ฉากใต้น้ำ ซึ่งมีทั้งก้อนหินและถ้ำของนางสุพรรณมัจฉา ต้องใช้เทคนิคจากกรรมการหลายฝ่ายมาทำงานร่วมกัน และฉากทศกัณฐ์ตรวจพล ที่นำพระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์ สมัยพระเจ้าปราสาททองมาเป็นฉากหลัง ใช้ช่างเขียนลายกว่า 100 ชีวิต

ฉาก "เฉลิมพระเกียรติ" ลักษณะเป็นม่านผ้าขนาดใหญ่ 22x10 เมตร เขียนลายโคมราชวัตร มีเทพนมอยู่กลางโคม ผู้ออกแบบได้แนวคิดมาจากจิตรกรรมฝาผนังวัดไชยวัฒนาราม ศิลปะสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ฉากนี้จะใช้เป็นฉากหลัง ในการรำถวายพระพร เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ก่อนการแสดงโขนจะเริ่ม


อุปกรณ์ที่สำคัญครั้งนี้ คือ "ราชรถ" ซึ่งสร้างขึ้นใหม่ถึง 3 คัน ทำจากไม้สักทอง ปิดด้วยทองทั้งคัน ศึกษาต้นแบบจากราชรถในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และ ราชรถของกองการสังคีต กรมศิลปากร ที่ใช้แสดงในโรงละครแห่งชาติ

{youtube width="550"}3-EM0v8Bglk{/youtube}
ดูโขนชุดนี้แล้ว อิ่มอกอิ่มใจกับศิลปะอันงดงามของราชสำนัก ที่ทั้งสุขุม ละเอียดอ่อน และยิ่งใหญ่อลังการ

 

ที่มา:http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1350642960&grpid=09&catid=12

 

Go to top