แพทย์แผนไทย โคราช รักษาโรค SLE ไขความลับวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคพุ่มพวง ( SLE)
รถตู้ให้เช่า ร้อยเอ็ด
หมอเอ ณัฐปราชญ์ คลินิก
boook   มีคนเคยกล่าวไว้ว่า "ลิ้น" อาจเป็นอวัยะที่ชั่วร้ายที่สุดในร่างกายของคนเรา ก็เห็นจะเป็นจริงเช่นนั้น ยกตัวอย่างจากพระคริสตธรรมคัมภีร์ ของท่านยากอบได้กล่าวถึงเรื่อง "ลิ้น" สอนใจไว้อยู่หลายข้อในบทที่ 3

2 เพราะเราทุกคนทำผิดพลาดกันไปหลายๆอย่าง ถ้าผู้ใดมิได้ทำผิดทางวาจา ผู้นั้นก็เป็นคนดีรอบคอบแล้ว และสามารถบังคับทั้งตัวไว้ได้ด้วย

5 เช่นนั้นแหละลิ้นก็เป็นอวัยวะเล็กๆด้วย และพูดโอ้อวดอ้างการใหญ่ จงดูเถิด ไฟนิดเดียวอาจเผาไหม้มากเท่าใด

6 และลิ้นนั้นก็เป็นไฟ เป็นโลกแห่งการชั่วช้าซึ่งตั้งอยู่ในบรรดาอวัยวะของเรา เป็นเหตุให้ทั้งกายเป็นมลทินไป ทำให้วิถีแห่งธรรมชาติเผาไหม้ และมันเองก็ติดไฟจากนรก    "ลิ้น" แม้จะเป็นอวัยวะเล็กๆ ส่วนหนึ่งในร่างกาย แต่อาจล้างทำลายชีวิตของคนเราได้ไม่ยากเย็นนัก หากเราใช้ลิ้นอย่างไม่เหมาะสม ไม่ถูกคน ไม่ถูกกาละเทศะ เช่นในการบริภาษ วิพากษ์วิจารย์ผู้อื่นเสียๆ หายๆ การเสียดเย้ย การพูดสะกิดแผลใจผู้อื่น การนินทาให้ร้าย การพูดจาเพ้อเจ้ออันหาสาระมิได้ และอีกสารพัดครับการพูดโดยปราศจากการไตร่ตรองไว้ก่อน เมื่อพูดไปแล้วส่วนใหญ่ผู้พูดมักมานั่งนึกเสียใจในภายหลัง นั่นเพราะขาดการยับยั้งชั่งใจนั่นเอง ตอร์เกเนฟ(Ivan Sergeevich Turgenev) นักวรรณคดีนามอุโฆษชาวฝรั่งเศส เคยกล่าวว่า "ก่อนพูด ควรวนปลายลิ้นสักสิบรอบในช่องปาก" เป็นคติเตือนใจว่าก่อนพูดอะไรควรที่จะคิดให้รอบคอบก่อนนั่นเองครับท่าน

มาฟากข้างพี่ไทยเรา ก็มีคำประโยคที่คุ้นหูเกี่ยวกับด้วยเรื่องลิ้นอยู่มากมาย อาทิ "พูดดีเป็นศรีแก่ตัว พูดชั่วอัปราชัย" หรือ "ปลาหมอตายเพราะปาก" ตัวอย่างเรื่องเล่ามากมายของคนที่ใช้ลิ้นโดยปราศจากสติปัญญา ซึ่งนำผลร้ายมาสู่ตัว
เรื่องมีว่า ในสมัยโบราณกาลโน้น มีบัณฑิตหนุ่มผู้หนึ่ง นามว่า "ซิ่วไจ๋" มีนิสัยถือดีอวดตน หยิ่งทะนงในความรู้ความสามารถของตนเป็นหนักหนา วันหนึ่งเขาคิดลองดีหมายทำให้ฌานาจารย์ขายหน้า [1]"หลวงพ่อ พุทธองค์ทรงเมตตา ไม่เคยปฏิเสธคำวิงวอนของเหล่าสรรพสัตว์เสมอมา นี่เป็นเรื่องจริงหรือไม่?" ฌานาจารย์ตอบทันควัน "ใช่แล้ว" ซิ่วไจ๋จึงถามต่อด้วยสีหน้าเจ้าเล่ห์ว่า "ถ้า อย่างนั้น หากข้าต้องการไม้เท้าในมือหลวงพ่อ หลวงพ่อคงไม่ถึงกับตระหนี่จนปฏิเสธการร้องขอของข้ากระมัง?" "อาตมาจะให้โยมได้อย่างไร? วิญญูชนไม่แย่งชิงของของหวงของผู้อื่น โยมอ่านตำรามามายเช่นนี้ เหตุผลธรรมดาเช่นนี้ โยมยังไม่เข้าใจอีกหรือ?" ซิ่วไจ๋รู้ตัวว่าขาดเหตุผล แต่นังดันทุรังตอบว่า "ข้าไม่ใข่วิญญูชน" ฌานาจารย์จึงตอบว่า "ข้าก็ไม่ใช่พระพุทธองค์" ซิ่วไจ๋โกรธมากไม่ยอมเลิกรา เมื่อฌานาจารย์เดินผ่านมาเขาทำทีไม่สนใจใยดี ฌานาจารย์จึงสั่งสอนว่า "คนหนุ่มเห็นผู้อาวุโสเดินมา ไฉนจึงไม่ลุกขึ้นยืน?"นี่คือมารยาทนะโยม!" ซิ่วไจ๋หลวมตัวว่าเข้าถึงธรรมแบบฌาณจึงตอบว่า "ข้านั่งทำความเคารพเท่ากับลุขึ้นยืนทำความเคารพแล้ว" ฌานาจารย์ไม่โต้ตอบ ทว่าฉับพลัน ยื่นมือมาตบซิ่วไจ๋ดังฉาด ซิ่วไจ๋ตกใจมากร้องถามว่า "ตบข้าทำไม ถือดีอย่างไร!" ฌานาจารย์พนมมือตอบเนิบนาบว่า "ในเมื่อโยมนั่งอยู่เท่ากับลุกขึ้นยืน อาตมาตบหน้าโยมก็เท่ากับไม่ได้ตบหน้าโยม" ([1]จากตอนหนึ่งในหนังสือ วิธีใช้ลิ้นสองนิ้ว อย่างแยบยล)เป็นไงล่ะท่านนายบัณฑิตซิ่วไจ๋ถึงกับหน้าชากริบ ได้บทเรียนมาครั้งใหญ่ (เอ..หรือว่าจะยังไม่เข็ด)
นี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของการใช้ลิ้นโอ่อวดแต่ความเป็นจริงแล้วข้างในกลวงเปล่า ดั่งกบในกะลา  ขงจื๊อเคยกล่าวว่า " คนชอบเล่นลิ้น พูดจาลื่นหู ประจบเอาใจ น้อยนักคือผู้เมตตา"
เบนจามิน แฟลงคลิน ยังเคยกล่าวว่า "การโต้แย้งคือเกมที่คนสองคนเล่นกัน มันเป็นเกมที่ประหลาด ไม่เคยมีฝ่ายใดเป็นผู้ชนะ"
ฉะนั้น เราจึงไม่ควรเป็นวีรชนด้วยน้ำลาย บางคนทำงานไม่เป็น วันๆ ถนัดแต่เล่นลิ้น บิดเบือนความจริง หมายใช้ลิ้นเพื่อล่อหลอกหาผลประโยชน์ส่วนตัว (คุ้นๆ กับอาชีพหนึ่งของบ้านเราแฮะ) คนพวกนี้ชีวิตมักล้มเหลว เพราะขาดความจริงใจ
จริงอยู่แม้ว่า "ลิ้น" จะเป็นอวัยวะที่ควบคุมได้ยากที่สุด หากแต่ใช้ลิ้นด้วยสติปัญญา รู้จักพลิกแพลงตามโอกาสและสถานการณ์ต่างๆ อย่างเหมาะสม ลิ้นนั้นก็สามารถก่อให้เกิดประโยชน์มหาศาลต่อคนเราได้เช่นกัน ยังมีเรื่องเล่าอีกเรื่องหนึ่ง ที่เป็นตัวอย่างของการรู้จักใช้ลิ้นสร้างโอกาสและสถานการณ์ให้เป็นประโยชน์แก่ตนเอง
เรื่องมีอยู่ว่า "ในสมัยจักรพรรดิ์เฉียนหลง แห่งราชวงศ์ชิง มีนักประพันธ์อัจฉริยะผู้หนึ่ง นามว่า "จี้เสี่ยวหลัน" วันหนึ่งเขาถกเถียงกับหลิวหลัวกวอ ขุนนางผู้ใหญ่ [2]จี้เสี่ยวหลันถามว่า "หัวผักกาด เป็นพืชที่ชานตุงของท่านใหญ่แค่ไหน?" หลิวหลัวกวอทำมือให้ดู ชานตุงขึ้นชื่อเรื่องหังวผักกาด เป็นพืชผลที่มีชื่อที่สุดของชานตุง จี้เสี่ยวหลันก็ว่า หัวผักกาดข้าที่จื้อลี่ใหญ่กว่า ทั้งคู่เถียงไปเถียงมาต่อหน้าพระพักตร์เฉียนหลง พระองค์นึกสนุกจึงตรัวให้แต่ละคนนำหัวผักกาดมาให้ขุนนางในท้องพระโรงดู ทุกคนตะลึงในความใหญ่ของหัวผักกาดของหลิวหลัวกวอส่วนจี้เสี่ยวหลันนั้นเล่า กลับล้วงมือเข้าไปในแขนเสื้อหยิบหัวผักกาดเท่าหัวแม่มือออกมา ฝ่าบาทโกรธหน้าดำหน้าแดงหาว่าจี้เสี่ยวหลันคิดเล่นตลก จี้เสี่ยวหลันรีบกราบทูลว่า"มณฑลจื้อลี่ดินจืด และแห้งแล้งอย่างหนัก ผลิตผลทางการเกษตรตายเกือบหมด ราษฎรส่งส่วยภาษีได้ไม่มากนัก ขอทรงโปรดสืบดูให้แน่ชัด"หลิวหลัวกวอถึงรู้ว่าโดนเล่นงานเข้าให้แล้ว([2]จากตอนหนึ่งในหนังสือ วิธีใช้ลิ้นสองนิ้ว อย่างแยบยล)ลำพัง ถ้าจี้เสี่ยวหลันกราบทูลว่ามณฑลตนแห้งแล้งอาจไม่ได้รับความสนใจนัก ทว่าเมื่อเพิ่ม "อุปกรณ์" บางอย่าง ผ่านการนำเสนอ สร้างภาพราวกับแสดง ก็ช่วยให้คนทั้งหลายรับทราบด้วยความรู้สึกประทับใจมากยิ่งขึ้น นี่คือข้อดีอขงการ "สร้างภาพ" หรือศิลปะในการ "หีบห่อ" นั่นเอง! จี้เสี่ยวหลันรู้จักพลิกแพลงสร้างภาพด้วยใช้ลิ้นสร้างสถานการณ์ที่เป็น ประโยชน์
การ ใช้สติปัญญาไตร่ตรองว่าควรใช้ลิ้นในสถานการณ์ใดเป็นกลยุทธ์ที่เรียนรู้ได้ จากประสบการณ์ทั้งจากตัวเองและผู้อื่น เราจึงจะเป็นคนที่น่านับถือยกย่อง
บราวส์กล่าวว่า "คนพูดเก่งอย่างแท้จริง ไม่ต้องจดจำคำพูดของคนอื่นมาพูด แต่จะพูดเรื่องที่ทำให้คนอื่นจดจำตลอดไป"
book

 หนังสือ วิธีใช้ลิ้นสองนิ้ว อย่างแยบยล สำนักพิมพ์เต๋าประยุกต์ เขียนโดย เห่ง เจี่ย อธิคม สวัสดิญาณ เรียบเรียง เป็นหนังสือกลยุทธ์อีกเล่มในการพัฒนาวาทะศิลป์ของเราให้แยบคายยิ่งขึ้น ในเล่มเราได้จะได้เรียนรู้วิธีการใช้ลิ้น กลั่นความคิด ลับฝีปาก "ชนะศึกด้วยลิ้นสองนิ้ว"ปัญหาจำนวนมากไม่จำเป็นต้องแก้ด้วย "กำปั้น" ถ้ารู้จักตั้งสติยั้งคิด คำนึงถึงส่วนรวม และ "ปากพ่นดอกบัวได้"
หนังสือ วิธีใช้ลิ้นสองนิ้ว อย่างแยบยล ได้สอนกลยุทธ์ในการใช้ลิ้นแก้ปัญหาต่างๆ อย่างแยบยล ผ่านเรื่องเล่าต่างวาระและโอกาสต่างๆ กันทำให้อ่านสนุกในระดับหนึ่ง แต่ใช่ว่าเมื่ออ่านหนังสือเล่มนี้จบลงคุณจะกลายเป็นคนที่มีวาทะศิลป์เป็น เลิศ เพราะการใช้ลิ้นต้องอาศัยการฝึกฝนผ่านกระบวการคิดอย่างรอบคอบ
อย่าง ไรก็ดีการใช้ลิ้นในความรู้สึกของคนส่วนใหญ่อาจให้ภาพลักษณ์ในแง่ลบมากกว่า ด้านดี ไม่ว่าจะเป็นการใช้ลิ้นเล่นแง่เหลี่ยมการแสดงถึงความใจแคบ คิดเล็กคิดน้อย ขาดคุณธรรมด้านลิ้น ฯลฯ แต่ทว่าทุกสิ่งอย่างย่อมมีสองด้าน ด้านที่ก่อให้เกิดคุณประโยชน์กับด้านที่ก่อให้เกิดโทษ ก็อยู่ที่ว่าเรามีความสามารถเลือกเค้นสติปัญญานำออกมาใช้อย่างไร
"แต่ เหนือสิ่งอื่นใดไม่ว่าท่านจะเป็นคนที่วาทะศิลป์เป็นเลิศเพียงใด แต่หากใจไร้ซึ่งคุณธรรมแล้วล่ะก็ วาจาของท่านก็มิอาจพูดสิ่งดีสิ่งใดออกมาได้เลย เพราะคำพูดที่ออกจากปากของเรานั้นล้วนออกมาจากส่วนลึกภายในจิตใจ ฉะนั้นเพียงท่านคิดดีทำดี ข้าพเจ้าเชื่อว่าลิ้นของท่านย่อมต้องเป็นลิ้นที่เปี่ยมด้วยคุณธรรมจริงอย่าง แน่นอน"



ชื่อหนังสือ   :   วิธีใช้ลิ้นสองนิ้ว อย่างแยบยล
ชื่อผู้เขียน    :   เห่ง เจี่ย
ชื่อผู้เรียบเรียง : อธิคม สวัสดิญาณ
สำนักพิมพ์   :   สำนักพิมพ์เต๋าประยุกต์
พิมพ์เมื่อ      :  พิมพ์ครั้งที่ 1 กันยายน 2553

Go to top