แพทย์แผนไทย โคราช รักษาโรค SLE ไขความลับวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคพุ่มพวง ( SLE)
รถตู้ให้เช่า ร้อยเอ็ด
หมอเอ ณัฐปราชญ์ คลินิก

bf  วิ่งควาย นับเป็นประเพณีดั้งเดิมของจังหวัดชลบุรี ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณกาล
ไม่อาจหาข้อสรุปชัดเจนได้ว่ามีมาตั้งแต่เมื่อไหร่ สมัยใด และใครเป็นผู้ริเริ่ม แต่ที่แน่ๆ ทุกคนต่างรู้ดีว่าประเพณีนี้เป็นวันของควายและชาวไร่ชาวสวน หรือเกษตรกรอย่างแท้จริง ที่จะมีโอกาสพบปะสังสรรค์ ประกวดประชันการบำรุงเลี้ยงควายของกันและกัน ว่าควายของใครสมบูรณ์กว่ากัน

  เพื่อสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีเพียงแห่งเดียวในเมืองไทยและแห่งเดียวในโลก
กระทรวง วัฒนธรรม ร่วมกับ จังหวัดชลบุรี องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี เทศบาลเมืองชลบุรี การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดงาน วิ่งควาย ขึ้น โดยปีนี้ต่อเนื่องมาถึง 141 ปีแล้ว ในชื่องาน "วิ่งควาย ชลบุรี 141 ปี กระบือไทย บันลือโลก" ที่สนามหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองชลบุรี

เดโช คงชยาสุขวัฒน์ นายกเทศมนตรีเมืองชลบุรี เล่าว่า จังหวัดชลบุรีเป็นจังหวัดที่มีการทำเกษตรกรรมมาตั้งแต่อดีต พอสิ้นสุดฤดูฝนของทุกปีซึ่งจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 และเป็นวันก่อนวันออกพรรษา 1 วัน เกษตรกรจะเอาควายเทียมเกวียนมาพักเพื่อรอทำบุญวัดใหญ่ ที่วัดใหญ่อินทารามทุกปี ระหว่างนั้นชาวนา ชาวสวนก็จะพาควายไปกินน้ำที่สระน้ำของวัดเขาบางทราย ซึ่งมีระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร
bf
"ระหว่างที่พาควายไปกินน้ำที่สระน้ำของวัดเขาบางทรายนั้น ก็มีชาวนาเกิดคิดสนุกขึ้นมา เลยมีการแข่งขันประลองฝีเท้าควายเกิดขึ้นว่าใครจะไปถึงก่อน หลังจากนั้นทุกปีชาวบ้านจังหวัดชลบุรีทั้งสองฝั่งจะเห็นควายวิ่งแข่งขันกัน ก่อนออกพรรษา 1 วัน เป็นประจำเช่นนี้เรื่อยมา" เดโชกล่าว

เดโช บอกอีกว่า ประเพณีวิ่งควาย 141 ปี หนึ่งเดียวในไทย หนึ่งเดียวในโลก ครั้งนี้จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่กว่าที่เคยมีมา ใช้เวลาเตรียมงานกว่า 3 เดือน ที่พิเศษกว่านั้นคือกิจกรรมวิ่งควายครั้งนี้ยังเป็นปีครบรอบ 100 ปี ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เสด็จฯประภาส จ.ชลบุรี และได้ทอดพระเนตรการแข่งขันวิ่งควายที่หน้าศาลากลางจังหวัดชลบุรี

ด้าน สุกุมล คุณปลื้ม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม บอกว่า การจัดงานประเพณีวิ่งควายครั้งนี้เป็นงานในโอกาสครบรอบ 141 ปี ถือเป็นการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมที่สำคัญและยังให้ความรู้กับชาวบ้านและ นักท่องเที่ยว รวมถึงสนับสนุนการท่องเที่ยวและสุขภาพด้วย

"นับเป็น ภารกิจหลักของกระทรวงวัฒนธรรมที่จะสืบสาน สร้างสรรค์ และบูรณาการต่อกันมา ซึ่งนโยบายของกระทรวงวัฒธรรมก็ให้การสนับสนุนในทุกกิจกรรมในทุกพื้นที่ เพราะฉะนั้นการจัดงานครั้งนี้ก็เป็นการสืบสานประเพณีที่ดีงามถือว่าสืบทอด กันยาวนานด้วย" สุกุมลกล่าว

ประเพณีวิ่งควายของชาวเมืองชลปีนี้ เริ่มต้นที่พิธีทำขวัญควายอันศักดิ์สิทธิ์ที่จัดขึ้นเป็นประจำก่อนเริ่ม กิจกรรมวิ่งควายอย่างเป็นทางการ

bf

ทิพย์ อ่วมปลั่ง อายุ 73 ปี ชาวเมืองศรีราชา จังหวัดชลบุรี รับหน้าที่เป็นพราหมณ์ ซึ่งเป็นเพียงคนเดียวใน จ.ชลบุรี ที่สามารถทำขวัญควายได้ เล่าให้ฟังว่า ทำพิธีทำขวัญควายเช่นเดียวกับ 5 ปีที่ผ่านมา พิธีกรรมจะเป็นการกล่าวทำขวัญที่มีต้นแบบมาจากภาคอีสาน การทำสู่ขวัญควายก็เพื่อให้ควายมีชีวิตที่ดีขึ้น ควายมีขวัญ คนทำพิธีจะต้องเป็นผู้ชายเท่านั้น

กิจกรรมดำเนินต่อไป แม้จะเป็นช่วงเวลาที่อากาศร้อนจัดก็ตาม ทั้งกิจกรรมวิ่งเเข่งระหว่างคนกับควาย ที่งานนี้คนสามารถคว้าชัยไปได้อย่างเฉียดฉิว วินาทีต่อวินาที, การแข่งขันจิตรกรรมบนตัวควาย, ขบวนพาเหรดควายสุดยิ่งใหญ่ "ซุปเปอร์พาเหรด วัฒนธรรมงามสง่า มหาชล" รวมถึงไฮไลต์ของงานการเเข่งขันวิ่งควาย รุ่นซุปเปอร์แชมป์ ชิงถ้วยพระราชทาน

นอกจากสนามเเข่งควายที่กำลังขับเคี่ยวอย่างดุเดือดแล้ว รอบนอกก็ร้อนระอุไม่เเพ้กัน

ทั้ง เวทีการประกวดน้องนางบ้านนา ของบรรดาสาวหน้าหวานจากเมืองชลบุรี การประกวดสาว(เหลือ)น้อยบ้านนา ที่เรียกเสียงฮาได้ตลอดการประกวด ก็ยังมีกิจกรรมกีฬาพื้นบ้าน ทั้งตะกร้อลอดห่วง และการปีนเสาน้ำมันสุดลุ้นระทึก สร้างสีสันและเสียงหัวเราะไม่หยุด

นอก จากความสนุกในส่วนนิทรรศการที่ให้ความรู้ก็มีอยู่ไม่น้อย เช่น นิทรรศการแปลงนาข้าวสาธิต และ ลานหีบอ้อย ที่โชว์การหีบอ้อยด้วยแรงควาย ในวิธีแบบโบราณ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้าน หาชมได้ยากมาก ที่พิเศษคือควายที่มาโชว์หีบอ้อยครั้งนี้คือควายเผือกเเสนเชื่อง ควายเพชร วัย 7 ปี และควายเมือง อายุ 1 ปี ที่มีเด็กเล็กๆ พัวพันปีนป่ายอย่างสนุกสนานและปลอดภัย
bf
อรรถพล วรรณกิจ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพัทยา เล่าว่า งานในปีนี้ จะเป็นการให้ความรู้และศึกษาอดีต เพราะปัจจุบันความเจริญของชุมชนเมืองทั้งภาคอุตสาหกรรมที่เข้ามาทำให้ภาคการ เกษตรเกิดปัญหาเรื่อง จำนวนเกษตรกรลดลง กิจกรรมวิ่งควายในครั้งนี้จะช่วยให้ความสำคัญในเรื่องวิถีชีวิตการเกษตรถูก ให้ความสำคัญอีกครั้ง ซึ่งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยก็ช่วยเหลือเรื่องการประชาสัมพันธ์กับนัก ท่องเที่ยวเพื่อเข้าร่วมในเทศกาลวิ่งควายและยังมีกิจกรรมต่อเนื่องอีกคือ การประชาสัมพันธ์รวมถึงการให้ข้อมูลเส้นทางท่องเที่ยวใน จ.ชลบุรี

งานครั้งนี้นับเป็นงานระดับโลก เพราะมีสื่อจากหลายประเทศก็ให้ความสนใจ

เป็นความภาคภูมิใจของชาวไทย ที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตที่ผูกพันกับภาคเกษตรกรรม


และระหว่าง "คน" กับ "ควาย"

 

ที่มา:http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1352777690&grpid=&catid=09&subcatid=0901

 

Go to top