แพทย์แผนไทย โคราช รักษาโรค SLE ไขความลับวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคพุ่มพวง ( SLE)
รถตู้ให้เช่า ร้อยเอ็ด
หมอเอ ณัฐปราชญ์ คลินิก

korat_musicianแม่ ของ พี่แอ๊ด คาราบาว 
เพิ่งรูว่า พี่แอ๊ด มีแฝดด้วย ชื่อ พี่อี๊ด ยิ่งยง




korat_musician
korat_musician

 

 

korat_musician

เกิดเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497 ที่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี ในครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีน 
มีชื่อเล่นว่า " อี๊ด " เป็นพี่ชายฝาแฝดกับยืนยง โอภากุล หรือ แอ๊ด คาราบาว จบการศึกษา จาก คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร



korat_musician

 ยิ่งยง เป็นนักดนตรีเช่นเดียวกับแอ๊ด ยืนยง น้องชาย แต่ไม่ได้เข้าร่วมวงคาราบาว โดยมีผลงานของตัวเองชุดแรก ชื่อ ลับ ลม คม ใน ในปี พ.ศ. 2531 โดยมียืนยงร่วมร้องและเล่นดนตรีให้ ซึ่งยิ่งยงก็ได้เขียนในปกอัลบั้มว่า ตนเป็นผู้ดูแลรายละเอียดและให้กำลังใจน้องชายตัวเองในการทำงานทุกด้าน

korat_musician

 

หน้าปกอัลบั้ม พฤษภา

จากนั้นในปี พ.ศ. 2533 ได้ร่วมอัลบั้มกับค่ายเอส พี ศุภมิตร ในเครือของช่อง 3 ชื่อชุด อิ๊ด เป็นอิ๊ด คิดเอาเอง มีเพลงดังชื่อเพลง เพื่อชีวิต และหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ก็ได้ออกอัลบั้มพิเศษร่วมกับยืนยงน้องชาย คือ พฤษภา ที่มีเพลงดังอย่าง ทะเลใจ อยู่ในนั้น โดยที่ชุดนี้หน้าปกเป็นรูปของทั้งคู่เมื่อยังเป็นทารกในอ้อมกอดของแม่ พร้อมกับมีคำโปรยว่า " ..อย่าไปเลยลูก...แม่เป็นห่วง.. " ซึ่งเป็นคำที่แม่ของทั้งคู่กล่าวไว้เมื่อครั้งรู้ว่าลูกชายตนเองจะเข้าร่วม ชุมนุมในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ

 อี๊ด ยิ่งยง มีอุปนิสัยแตกต่างจากแอ๊ดน้องชาย โดยเป็นคนที่ไม่ใคร่ใฝ่ใจทางการเมืองหรือปัญหาทางสังคมมากนัก ดังนั้น เพลงของยิ่งยงส่วนมากจะเป็นแนวง่าย ๆ ฟังสบาย ๆ หรือสนุกสนานมากกว่า
ปัจจุบัน เป็นสถาปนิกและมีร้านจำหน่ายสินค้าให้กับชาวต่างชาติ ในโรงแรมย่านถนนเจริญนคร



ยิ่งยง (ซ้าย) กับน้องชายฝาแฝด ยืนยง บนหน้าปกนิตยสารไปยาลใหญ่ เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2530

ยืนยง โอภากุล หรือที่รู้จักกันในชื่อ แอ๊ด คาราบาว

เกิดเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497 ที่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี ในครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีน (บิดา-มนัส โอภากุล แซ่โอ มารดา-แซ่ตั้ง) ยืนยง เดินทางเข้าสู่กรุงเทพมหานครเพื่อศึกษาต่อเหมือนเด็กต่างจังหวัดทั่วไป โดยเข้าเรียนใน สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตอุเทนถวาย(โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย) และต่อในระดับปริญญาตรี สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่สถาบันเทคโนโลยีมาปัว ประเทศฟิลิปปินส์ ยืนยงได้พบกับเพื่อนคนไทยที่ไปเรียนหนังสือที่นั้น คือ สานิตย์ ลิ่มศิลา หรือ ไข่ และ กีรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร หรือ เขียว ทั้ง 3 จึงร่วมกันตั้งวงดนตรีขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่า "คาราบาว" เป็นวงดนตรีที่เล่นดนตรีในเนื้อหาที่สะท้อนสภาพปัญหาและความเป็นจริงของ สังคม

เมื่อ กลับมาเมืองไทย ไข่ ได้แยกตัวออกไป แอ๊ดและเขียวยังคงเล่นดนตรีต่อไป ในเวลากลางคืน โดยกลางวันแอ๊ดทำงานอยู่ที่การเคหะแห่งชาติ ส่วนเขียวทำงานอยู่กับบริษัทของฟิลิปปินส์ที่มาเปิดสาขาในประเทศไทย

จุด เปลี่ยนของชีวิตยืนยง โอภากุล อยู่ที่การรับหน้าที่เป็นโปรดิวเซอร์อัลบั้มชุดแรกให้กับวงแฮมเมอร์ ในปี พ.ศ. 2522 ซึ่งประสบความสำเร็จในเวลาต่อมา เป็นแรงดลบันดาลใจให้กับยืนยงว่า ถ้าจะออกอัลบั้มของตัวเอง คงจะประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน จึงร่วมกับเขียว ออกอัลบั้มชุดแรกของวงคาราบาวในชื่อชุด "ขี้เมา" ในปี พ.ศ. 2524 ซึ่งไม่ประสบความสำเร็จมากนัก

คา ราบาว มาประสบความสำเร็จในอัลบั้มชุดที่ 5 ของวง คือ ชุด "เมด อิน ไทยแลนด์" ที่ออกในปลายปี พ.ศ. 2527 ซึ่งมียอดจำหน่ายสูงถึง 5 ล้านตลับ และนับตั้งแต่นั้น ชื่อของ แอ๊ด คาราบาว ก็เป็นที่รู้จักกันดีของคนไทย

โดย ยืนยง โอภากุล หรือ แอ๊ด คาราบาว ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าวง เป็นผู้มีบุคคลิกเป็นตัวของตัวเองสูง กล้าพูดกล้าวิพากษ์วิจารณ์เรื่องราวต่าง ๆ ในสังคมอย่างแรงและตรงไปตรงมา โดยสะท้อนออกมาในผลงานเพลง ที่เจ้าตัวจะเป็นผู้เขียนและร้องเองเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีออกมามากมายทั้งอัลบั้มในนามของวงและอัลบั้มเดี่ยวของตนเอง จนถึงวันนี้ไม่ต่ำกว่า 900 เพลง รวมถึงการแสดงออกในทางอื่น ๆ ด้วย ซึ่งก็มีทั้งผู้ที่ชอบและไม่ชอบ โดยผู้ที่ไม่ชอบคิดเห็นว่า เป็นการแสดงออกที่ก้าวร้าว รวมถึงตั้งข้อสังเกตด้วยถึงเรื่องการกระทำของตัวยืนยงเอง

ยืนยง โอภากุล ไม่จำกัดตัวเองแต่ในบทบาทของศิลปินเพลงเท่านั้น แต่ยังได้มีผลงานเขียนหนังสือและแสดงละคร ภาพยนตร์ต่าง ๆ ด้วย อาทิ เช่น เรื่องพรางชมพู กะเทยประจัญบาน (พ.ศ. 2545) ละครเรื่อง เขี้ยวเสือไฟ ทางช่อง 9 (พ.ศ. 2544) ลูกผู้ชายหัวใจเพชร ทางช่อง 7 (พ.ศ. 2546) เป็นต้น รวมถึงการทำงานภาคสังคมและมูลนิธิต่าง ๆ และยังได้แต่งเพลงประกอบโฆษณาหรือโครงการต่าง ๆ ของหน่วยงานภาครัฐในแต่ละโอกาสด้วย

ใน ปลายปี พ.ศ. 2545 ยืนยง โอภากุล ได้เปลี่ยนบทบาทของตัวเองอย่างสำคัญอีกครั้งหนึ่ง โดยเป็นหุ้นส่วนสำคัญคนหนึ่งของเครื่องดื่มชูกำลัง ยี่ห้อ "คาราบาวแดง" โดยใช้ชื่อวงดนตรีของตัวเองมาเป็นจุดขาย ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างในสังคมว่า สมควรหรือไม่ กับผู้ที่เคยสู้เพื่ออุดมการณ์มาตลอด มาเป็นนายทุนเสียเอง

ชีวิต ส่วนตัว ยืนยง โอภากุล มีชื่อเป็นภาษาจีนกลางว่า "หูฉุนฉาง" แปลว่า "เกิดบนดิน" ชอบเลี้ยงไก่ชนซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงที่ชื่นชอบมาตั้งแต่เด็ก ๆ และมีฟาร์มไก่ชนเป็นของตัวเอง นอกจากคาราบาวแดงแล้ว ยังมีกิจการทางดนตรีอีก คือ มีห้องอัดเสียงที่บ้านของตัวเอง ชื่อ เซ็นเตอร์ สเตจ สตูดิโอ ซึ่งเป็นสตูดิโอระดับชั้นแนวหน้าแห่งหนึ่งของเมืองไทย และมีบริษัทเพลงชื่อ มองโกล เรคคอร์ด สมรสกับนางลินจง โอภากุล หญิงชาวบุรีรัมย์ มีบุตรด้วยกัน 3 คน เป็นหญิง 2 คน คือ ณิชา (เซน) และ ณัชชา (ซิน) โอภากุล และชาย 1 คน คือ วรมันต์ โอภากุล (โซโล)

หมายเหตุ

 

korat_musician

 

 

 

korat_musician



ยืนยง โอภากุล มีพี่ชายฝาแฝดอีก 1 คน เป็นศิลปินเพลงเพื่อชีวิตเหมือนกัน คือ ยิ่งยง โอภากุล ชื่อเล่น "อี๊ด" และเคยออกอัลบั้มร่วมกัน 1 อัลบั้ม คือ อัลบั้ม พฤษภา ในปี พ.ศ. 2535 หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ  ซูซู เคยแต่งเพลงเพื่อยกย่องยืนยง ชื่อเพลง ราชาสามช่า ในปี พ.ศ. 2534

 

ที่มา:http://men.postjung.com/644491.html

 

 

Go to top