วันพุธที่ผ่านมา หาข้อมูลและเส้นทาง " เที่ยวไปแวะไป " ปลายทางที่ ... สามพันโบก ... ตามรอยพี่เบิร์ดออกเดินทางเช้าวันพฤหัส ถึงแค่บ้านจอหอ ก.ม.7 จากเมืองโคราชก็ต้องเลี้ยวรถกลับ เพราะรถมีเสียงผิดปกติ ก็ต้องเข้าศูนย์ กว่าจะตรวจเช็คเสร็จว่าเกิดจากคนขับขยันเกิน เอากรองอากาศมาเป่าแล้วใส่ฝาปิดไม่เข้าที่ก็ปาเข้าไป 11 โมงเช้า
เลยเปลี่ยนเส้นทาง " เที่ยวไปแวะไป "ปลายทางที่ ... วังน้ำเขียว ... ตามรอยคุณ ravio คนขับบอกว่า อยากแวะที่ไหนก็บอกก็บอกว่า ไปดูสิม ( โบสถ์ หรืออุโบสถ ) เก่าที่บ้านตะคุ ปักธงชัยสิมเก่าอยู่ที่วัดหน้าพระธาตุ ตำบลตะคุ ปักธงชัย
จากทางหลวงหมายเลข 304 นครราชสีมา - กบินทร์บุรีเลี้ยวไปยังบ้าน " ตะคุ " ไปยัง " วัดหน้าพระธาตุ " ราว 4 ก.ม.
พระพุทธรูปองค์ใหญ่ ศาสนิกชนชาวพุทธร่วมกันสร้างถวายองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
สิมเก่า อยู่ระหว่าศาลาการเปรียญ และ สิมใหม่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย หรือตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จิตรกรรมฝาผนัง เชื่อว่าราวรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าอยู่หัว
มีเจดีย์อยู่สามองค์ ด้านหน้าสิม สององค์ และด้านหลังสิม 1 องค์
ด้านหน้า เจดีย์สององค์มีมาก่อนสร้างวัด ไม่ทราบว่าผู้ใดสร้างจึงเรียกชื่อวัดนี้ว่า " วัดหน้าพระธาตุ "เป็นแบบอย่างพื้นบ้าน คือฐานเตี้ย เรือนธาตุสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยอดธาตุเรียวสอบมี 2 ชั้นมีลักษณะคล้ายกลีบดอกบัว เรียกว่าทรงบัวเหลี่ยมอันเป็นลักษณะพระธาตุแบบลาวโดยเฉพาะ เช่นเดียวกับพระธาตุศรีสองรักของจังหวัดเลย
องค์ใหญ่สุด ด้านขวา
องค์เล็กกว่า ด้านซ้าย
ด้านหลังสิม เป็นเจดีย์ของวัด เป็นทรงสี่เหลี่ยม ย่อมุม
พระอุโบสถโบราณสร้างขึ้นพร้อมวัดเมื่อก่อนหลังคามุงหญ้าแฝก ปัจจุบันมุงด้วยกระเบื้อง ส่วนของหลังคาซึ่งไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์เช่นโบสถ์ที่พบเห็นทั่วไป
คล้าย "ศิลปะพระราชนิยม" ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโบสถ์ ขนาด 3 ช่องหน้าต่างฐานโบสถ์มีลักษณะแอ่นโค้ง ศัพท์ทางช่างเรียกว่า ตกท้องสำเภา หรือท้องช้าง หรือท้องเชือก เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ช่างนิยมทำกันในช่วงปลายกรุงศรีอยุธยา และต้นกรุงรัตนโกสินทร์
หน้าบันเป็นไม้แกะด้านหน้าสิม ทิศตะวันออก
หน้าบันด้านหลัง
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง สมัยรัชการที่ 3 ด้านหน้าเหนือประตูทางเข้า เป็นภาพพระพุทธเจ้า สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เจดีย์จุฬามณี สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา เนมิราชชาดก
(เป็นเรื่องราวที่พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าเนมิราช ครองนครมิถิลา เมื่อทรงพระเยาว์ก็สนพระทัยในการให้ทาน ถือศีลอุโบสถและปฏิบัติธรรมและอธิษฐานที่จะปฏิบัติเช่นนั้นเรื่อยมา เมื่อขึ้นครองราชย์แทนพระบิดาที่ออกบรรพชาไปแล้ว ก็ได้สั่งสอนให้ประชาชนรักษาศีล ทำบุญทำทานทั่วราชอาณาเขต
ผลแห่งการทำความดีนี้เป็นที่สรรเสริญทั่วทั้งสวรรค์ นรก และมนุษย์โลก )
ภายในสิม พระประธานเป็นพระหมู่บูชา มีรูปถ่ายสิมเก่า และศาลาการเปรียญเก่า
จิตรกรรมฝาผนังเป็นภาพชาดกในจุลปทุมชาดก และทศชาติชาดก ภาพรอยพระพุทธบาทห้ารอย มีวิถีชีวิตของคนสมัยนั้น เช่น ชนไก่ เล่นว่าว
ด้านหน้าสิม มีบึงและหอไตรกลางน้ำ
กุฏิเจ้าอาวาสเก่า
จบด้วยก๋วยเตี๋ยวเนื้อที่ทานมาเกือบ ๆ 20 ปีละมั้ง ตั้งแต่ร้านอยู่ฝั่งตรงข้าม แล้วย้ายมาที่ปัจจุับันออกจากวัดเริ่มหิวจะไปทานก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นยักษ์ ปักธงชัย ไปไม่ถูกเพราะไม่ได้หาเตรียมไว้จึงไปร้านที่คุ้นเคยก๋วยเตี๋ยวเนื้อ " ธัญรส "ร้านอยู่ถนน 304 ที่ผ่านตัวอำเภอปักธงชัย ใกล้ ๆ และฝั่งเดียวกับโลตัสปักธงชัย ถ้าออกจากที่ว่าการอำเภอ จะอยู่ฝั่งขวามือ เลยโลตัสไปเล็กน้อย
เกาเหลาเนื้อ
เส้นหมี่เนื้อ
ลืมราคา แต่ เกาเหลา + ข้าว 1 ถ้าย + เส้นหมี่ = 75 บาท