แพทย์แผนไทย โคราช รักษาโรค SLE ไขความลับวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคพุ่มพวง ( SLE)
รถตู้ให้เช่า ร้อยเอ็ด
หมอเอ ณัฐปราชญ์ คลินิก

c   นอกจาก เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหิน ดินด่านเกวียน  ขอเพิ่มข้าวโพดหวาน ที่ไร่ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่อำเภอปากช่อง เริ่มขาย8.00-16.00น.ราคาฝักละ15บาท หรือเป็นน้ำนมก็ขวดละ15บาทเช่นกัน    จุดสังเกตุฝักข้าวโพดปูนปั้นสูงประมาณ3เมตร ริมถนนมิตรภาพ 

 

 

  ข้าวโพดหวานไร่สุวรรณ  ผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อของศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติหรือที่รู้จักกัน ในนามไร่สุวรรณ แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งอยู่ริมถนนมิตรภาพ ช่วงหลักกิโลเมตรที่ 155-156 บ้านปางอโศก ต.กลางดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ที่ปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีจุดเด่นอยู่ที่ความหอมหวาน รสชาติอร่อยอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการสูงเหมาะสำหรับคนรักสุขภาพ

c
อ.สุรพล เช้าฉ้อง นักวิชาการเกษตร (ชำนาญการ) ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ (ไร่สุวรรณ) ซึ่งรับผิดชอบสายงานการผลิตน้ำนมข้าวโพดหวาน ของศูนย์ เล่าว่า ศูนย์เริ่มปลูกข้าวโพดหวานพันธุ์อินทรี 2 เมื่อปี 2540 หลังจากที่ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ปรับปรุงพันธุ์ดังกล่าว ขึ้นมา จากนั้น 3 ปีต่อมาก็นำข้าวโพดหวานสายพันธุ์ดังกล่าวมาส่งเสริมให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ บริเวณใกล้เคียงปลูก โดยศูนย์จะรับซื้อผลผลิตทั้งหมดในราคาประกันกิโลกรัมละ 8 บาท

d
"น้ำนมข้าวโพดเรา เริ่มทำในปี 2545 ตอนนั้นข้าวโพดหวานที่นำไปส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกนั้นผลผลิตเริ่มออกมามาก การจำหน่ายข้าวโพดดิบออกสู่ตลาดเริ่มมีปัญหา เราจึงนำมาทดลองแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าวโพดหวาน ปรากฏว่าขายดีมาก เป็นที่นิยมของผู้บริโภค จากนั้นเป็นต้นมาผลผลิตที่เก็บเกี่ยวทั้งหมดเราจึงนำมาทำผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าวโพด"
นัก วิชาการเกษตรคนเดิมระบุอีกว่า ปัจจุบันพื้นที่ไร่สุวรรณจะปลูกข้าวโพดเพื่อการทดลองวิจัยเท่านั้น แต่ข้าวโพดที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำนมข้าวโพดนั้น จะเป็นของเกษตรกรที่เป็นลูกไร่ของศูนย์ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 60 ราย โดยผลผลิตทุกแปลงของชาวบ้านจะอยู่ในความควบคุมดูแลจากเจ้าหน้าที่ของศูนย์ ตลอดตั้งแต่เริ่มปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยว เพราะเราต้องการให้ได้ข้าวโพดที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานเพื่อนำมาทำผลิตภัณฑ์ น้ำนมข้าวโพด

c
 จุดเด่นของข้าวโพดหวานสายพันธุ์นี้อยู่ที่ความหอมกว่าข้าวโพดหวานสายพันธุ์อื่น เมื่อนำมาผลิตเป็นน้ำนมข้าวโพดทำ ให้ มีรสชาติหอมหวานชวนดื่ม ซึ่งในระยะแรกมีปริมาณการผลิตอยู่ที่ 400-500 ขวด โดยใช้เครื่องปั่น แต่ปัจจุบันใช้เครื่องจักรที่ทันสมัย ซึ่งขณะนี้ศูนย์สามารถผลิตน้ำนมข้าวโพดออกสู่ตลาดเฉลี่ยวันละ 6,000 ขวด โดยใช้วัตถุดิบผลผลิตข้าวโพดอยู่ที่ประมาณ 3.5 ตันต่อวัน ปัจจุบันสนนราคาจำหน่ายอยู่ที่ขวดละ 14 บาท
"ที่จริงข้าวโพดหวานทุกสายพันธุ์สามารถนำมาทำน้ำนมข้าวโพดได้ หมด แต่พันธุ์อินทรี 2  เด่นกว่าสายพันธุ์อื่นตรงที่มีความหอมมากกว่า ที่สำคัญเป็นสายพันธุ์ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ปรับปรุงขึ้นมา เราจึงต้องการเผยแพร่ผลงานวิจัยของเราด้วย นี่คือเหตุผลที่เรานำข้าวโพดหวานสายพันธุนี้มาทำน้ำนมข้าวโพด แต่ปีหน้า (2553) เราจะสร้างโรงงานผลิตต้นแบบอีกโรง ผู้สนใจเยี่ยมโรงงานและกระบวนการผลิตติดต่อได้ที่โทร.08-9946-2916 "อ.สุรพล กล่าวย้ำ พร้อมเชิญชวนผู้สนใจร่วมงานเกษตรแฟร์ปากช่องครั้งที่ 7 ประจำปี 2552 ซึ่งจัดขึ้น ณ ไร่สุวรรณ ระหว่างวันที่ 26-29 พฤศจิกายนนี้ ซึ่งภายในงานจะมีการสาธิตกระบวนการผลิตน้ำนมข้าวโพดหวานสูตรไร่สุวรรณอย่างละเอียดในทุกขั้นตอนด้วย
น้ำนมข้าวโพดหวาน สูตรไร่สุวรรณ นับเป็นผลิตภัณฑ์เด่นของศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ไม่เพียงสร้างเงินสร้างงานให้ชาวบ้านรอบศูนย์ เท่านั้นยังเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพมีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสำหรับคนรัก สุขภาพอีกด้วย
c
กระบวนการผลิตน้ำนมสูตรไร่สุวรรณ
อ.สุรพล เช้าฉ้อง นักวิชาการเกษตรไร่สุวรรณ อธิบายถึงกระบวนการผลิตน้ำนมข้าวโพดหวาน สูตรไร่สุวรรณ เริ่มจากการนำข้าวโพดดิบมาปอกเปลือก จากนั้นก็เข้ากระบวนการฝานเพื่อเอาแต่เนื้อข้าวโพด โดยผ่านเครื่องจักร เมื่อได้เนื้อข้าวโพดตามที่ต้องการแล้วก็นำมาผสมกับน้ำสะอาดและเกลือใน อัตราส่วน เนื้อข้าวโพด 15 กิโลกรัม น้ำสะอาด 25 กิโลกรัม และเกลือเม็ด 2 ช้อนโต๊ะ จากนั้นก็นำมาใส่หม้อต้มในน้ำเดือดประมาณ 15-20 นาที ก่อนนำเข้าเครื่องบดเพื่อแยกกากออกให้เหลือแต่น้ำนมแล้วก็นำมากรองในตะแกรง ละเอียดอีกครั้งเพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีเศษกากข้าวโพดปะปนอยู่ จากนั้นเข้าสู่ขั้นตอนปรุงรสปรับความหวาน โดยเติมน้ำเชื่อมและเกลือ 1 ช้อนชา แล้วนำไปนึ่งในซึ้งต่ออีกประมาณ 10 นาที จากนั้นนำมาบรรจุขวดปิดฝาแล้วนำมาแช่ในถังน้ำแข็งต่ออีกประมาณ 10 นาที ก่อนนำไปเก็บในถังน้ำแข็งและพร้อมส่งจำหน่ายต่อไป

c

 

ที่มา : http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=nisomsak&month=25-09-2012&group=1&gblog=62

 

 

 

Go to top