เมืองโคราช เป็นเมืองที่สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพื่อเป็นเมืองหน้าด่าน โดยพระยายมราช หรือ พระยาสังข์ เป็นผู้สร้างโดยมีช่างชาวผรั่งเศสเป็นผู้ช่วยออกแบบผังเมือง เมื่อสร้างเมืองเสร็จแล้ว จึงโปรดเกล้าให้ประชาชน คฤหบดี และขุนนาง สร้างวัด 6 วัด ซึ่งตอนนี้ในเขตกำแพงเมืองเก่าก็มีแค่หกวัดนี้ คือ
วัดกลาง หรือกลางเมือง คือวัดพระนารายณ์มหาราช
วัดพายัพ วัดอิสาน วัดบูรพ์ ( หรือบูรพา ) วัดสระแก้ว และวัดบึง
วัดกลาง วัดบึง วัดสระแก้ว นั้น กลุ่มขุนนางเป็นผู้สร้าง ซึ่งงานทางด้านสถาปัตยกรรมจะมีความประณีตอ่อนช้อยงดงามมาก
วัดอิสาน วัดบูรพ์ วัดพายัพ นั้นเป็นวัดที่ คฤหบดี และประชาชนเป็นผู้สร้าง โดยจะเห็นว่าความงดงามประณีตไม่ค่อยมี วันนี้เราจะพาไป วัดอิสาน ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๒๒๐
ซุ้มประตูด้านทิศใต้
ด้านหน้าวัด อยู่ทางทิศตะวันออก
อุโบสถเก่า ได้มีการบูรณะมาแล้ว 4 ครั้ง
การบูรณะครั้งแรก พ.ศ. 2446 ปูพื้นใหม่ และเปลี่ยนจากกระเบื้องหลังคาดินเผาเป็นกระเบื้องซิเมนต์
อุโบสถ เป็นศิลปแบบอยุธยา คือแอ่นเป็นรูปเรือสำเภา เป็นอุโบสถเก่าแก่ที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ( ... ถือว่าที่ดินของทั้งประเทศเป็นของพระเจ้าแผ่นดิน แล้วพระเจ้าแผ่นดินจะพระราชทานที่ดินให้เป็นวัด ... ) เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2240
หน้าบันเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
มีใบเสมาคู่
มีข้อสันนิษฐานถึงนัยยะที่ซ่อนอยู่ก็คือ มีการผูกพัทธสีมาที่ต่างวาระ ต่างนิกายในที่เดียวกัน
ฝ่าย ที่มาทีหลัง เมื่อต้องการใช้พื้นที่ในเขตสังฆกรรมแห่งนั้น ไม่มีความเชื่อมั่นในความบริสุทธิ์ในเขตสีมาอันก่อน จึงได้ทำการสวดผูกพัทธสีมาขึ้นมาใหม่อีกครั้ง
หรืออีกความหมายหนึ่งก็คือวัดในสมัยโบราณนั้นมีด้วยกัน 2 ฝ่ายคือฝ่ายอรัญวาสีและฝ่ายคามวาสี
เมื่อ พระเจ้าแผ่นดินทรงสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้น(วัดหลวง) เพื่อไม่ให้ถูกตั้งข้อสังเกตว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ ก็จะอาราธนาพระสงฆ์ทั้ง 2 ฝ่าย ให้มาร่วมผูกพัทธสีมาพร้อมๆกัน วัดหลวงจึงมักเห็นมีสีมา 2 ใบแต่นั้นมา
ประตูกลาง มีช่องยื่นออกมา เพื่อพระสงฆ์จะได้พรมน้ำมนต์ให้ญาติโยม
ประตูโบสถ์
พระประธานวัดอิสานคือ
พระศรีรัตนปาติการส แปลว่า “พระแก้วมงคลผู้ให้ความปรารถนาสำเร็จยิ่งกว่าปรารถนา”
ซึ่งยังคงอยู่ในสภาพสมบูรณ์ คงเอกลักษณ์ศิลปะสมัยเชียงแสน สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยาไว้อย่างครบถ้วน
เช่น พระวรกายบอบบาง พระนลาฏกว้าง มีไรพระศก เส้นพระศกขมวดก้นหอยเล็กถี่ พระขนงเกือบเป็นเส้นตรง พระโอษฐ์กว้าง
สังฆาฏิปลายตัดหรือแซงแซว
พระหัตถ์และนิ้วพระหัตถ์ตรงไม่เรียว
นั่งสมาธิราบบนพื้นฐานแอ่น
บานหน้าต่าง
พระพุทธรูปตั้งอยู่เป็นพระประธานในโรงอุโบสถกว้าง ๑๑ เมตร ๒๘ เซนติเมตร ยาว ๒๒.๖๐ เมตร สูง ๑๔ เมตร
เสา ๑๒ ต้น เป็นเสาแปดเหลี่ยม มีบัวอยู่บนหัวเสา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เสามรรค ๘ ฐานแอ่นโค้งทรงสำเภา
การ บูรณะ ครั้งที่สอง พ.ศ. 2466 มีการแกะรูปดาว รูปสัตว์ เช่น หงส์ ตัวต่อ แกะด้วยไม้สักประดับมุก ติดเพดานอุโบสถ และลงรักปิดทองใหม่ทั้งองค์
ครั้งที่สาม พ.ศ. 2550 เขียนพระพุทธรูป เหนือช่องหน้าต่างภายในพระอุโบสถ 10 ภาพ ทำนองพระพุทธเจ้า 10 ทิศ
พื้นพระอุโบสถ
หน้าบันหลังอุโบสถ เป็นรูป ครุฑ
หอระฆัง คล้ายกับที่วัดกลาง
ต้นโพธิ์
ตอนนี้อุโบสถวัดอิสาน อายุกว่า 313 ปี ชำรุดทรุดโทรมอย่างมาก
โดยเฉพาะหลังคารั่วเวลาฝนตกจนไม่สามารถปฏิบัติศาสนกิจได้
และจะทำให้สิ่งที่อยู่ภายในชำรุดไปด้วย
ทางวัดจึงได้บอกบุญให้ญาติโยมทุกท่านได้รับทราบ เพื่อที่จะได้ร่วมอนุโมทนาบุญ รักษาสมบัติอันทรงคุณค่านี้ให้อยู่ต่อไป
ทางวัดจะรับบริจาคไปเรื่อย ๆ จนจะได้ตามงบประมาณที่ตั้งไว้คือ 2 ล้านบาท
ตอนนี้หลวงพ่อบอกว่าได้รับบริจาคมาได้ประมาณสองหมื่นกว่าบาทค่ะ
ที่มา:http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=tuk-tukatkorat&month=10-2010&date=22&group=40&gblog=18