ภาพจาก-http://board.postjung.com/713460.htm
lจังหวัดนครราชสีมา หรือที่เรียกกันว่า “โคราช” เป็นเมืองใหญ่บนดินแดนที่ราบสูง ที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวกทุกรูปแบบ ผู้มาเยือนจะได้เพลิดเพลินกับธรรมชาติที่งดงามจนได้รับการยกย่องให้เป็นมรดก โลก สนุกสนานไปกับกิจกรรมท่องเที่ยวที่หลากหลาย ได้ชื่นชมความยิ่งใหญ่ของอารยธรรมขอมโบราณ เรียนรู้วัฒนธรรมพื้นบ้าน ได้ความรู้ด้านการเกษตรจากการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ทั้งยังได้อิ่มอร่อยกับอาหารอีสานต้นตำรับ และเลือกซื้อหาสินค้าเกษตรและหัตถกรรมพื้นบ้าน ในดินแดนที่เปรียบเสมือนเป็นประตูสู่ภาคอีสานแห่งนี้ด้วยทำเลที่ตั้งที่อยู่ ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ มีการคมนาคมที่สะดวกสบาย จังหวัดนครราชสีมาจึงเป็นจุดหมายปลายทางในการท่องเที่ยวพักผ่อนวันหยุดที่ เป็นที่นิยมอันดับต้นๆ แห่งหนึ่งของชาวเมืองหลวงและจังหวัดใกล้เคียงในปัจจุบัน
จังหวัดนครราชสีมา มีเนื้อที่ประมาณ 20,494 ตารางกิโลเมตร หรือ 12,808,728 ไร่ เป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย สภาพพื้นที่มีทั้งบริเวณที่สูงทางตอนกลาง พื้นที่ลูกคลื่นและที่ราบลุ่มทางตอนเหนือ และบริเวณเทือกเขาและที่สูงทางตอนใต้ของจังหวัด อันเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำลำธารหลายสายที่ไหลไปทางตะวันออกของภูมิภาค มีแม่น้ำสายสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำมูล แม่น้ำลำเชียงไกร ลำแซะ ลำพระเพลิง ลำตะคอง และลำปลายมาศจากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบอยู่ทั่วไปในเขตจังหวัดนครราชสีมา ทำให้เชื่อได้ว่าบริเวณนี้เคยมีชุมชนโบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์ตั้งอยู่ จนกระทั่งเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ก็ยังคงความเจริญรุ่งเรืองมาตลอดตั้งแต่ สมัยทวารวดี โดยมีศูนย์กลางความเจริญอยู่ที่เมืองเสมา เป็นเมืองใหญ่อยู่ในบริเวณที่เป็นอำเภอสูงเนินในปัจจุบันต่อมาในสมัยขอม เรืองอำนาจ มีการสร้างเมืองโคราฆะปุระ หรือเมืองโคราช ขึ้นในบริเวณใกล้เคียง และมีเมืองพิมายเป็นเมืองใต้ปกครองที่สำคัญ จนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองขึ้นใหม่ โดยเอาชื่อเมืองเสมากับเมืองโคราฆะปุระมาผูกกันเป็นนามเมืองใหม่ เรียกว่า “เมืองนครราชสีมา” แต่คนทั่วไปนิยมเรียกกันว่า “เมืองโคราช” โคราชมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นเรื่อยๆ จนมีฐานะเป็นเมืองเจ้าพระยามหานคร และเมื่อถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เจ้าอนุวงศ์ผู้ครองเมืองเวียงจันทน์ได้ก่อการกบฏ ยกกองทัพมาตีเมืองนครราชสีมาและกวาดต้อนพลเมืองกลับไปเป็นเชลย คุณหญิงโม ภริยาปลัดเมืองนครราชสีมาในขณะนั้น ได้คิดอุบายแสร้งทำกลัวและประจบเอาใจทหารลาว จนกระทั่งเมื่อขบวนเชลยถูกกวาดต้อนมาหยุดพักที่ทุ่งสัมฤทธิ์ในเขตอำเภอพิมาย เมื่อสบโอกาส คุณหญิงโมก็นำทัพชาวเมืองโจมตีกองทหารเวียงจันทน์จนแตกพ่ายไป วีรกรรมอันหาญกล้าของคุณหญิงโมในครั้งนี้เป็นที่เลื่องลือและสรรเสริญไปทั่ว ต่อมารัชกาลที่ 3 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาฐานันดรศักดิ์ให้คุณหญิงโมเป็น “ท้าวสุรนารี” โคราชมีความเจริญรุ่งเรืองต่อมาจนกลายเป็นชุมทางการค้าที่สำคัญระหว่างภาค ตะวันออกเฉียงเหนือกับภาคกลาง จนในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดตั้งมณฑลนครราชสีมาขึ้นเป็นมณฑลแรกของประเทศ เพื่อควบคุมดูแลหัวเมืองในบริเวณใกล้เคียงปัจจุบันจังหวัดนครราชสีมาเป็น เมืองศูนย์ราชการที่สำคัญรองจากกรุงเทพมหานคร และเป็นศูนย์กลางทางด้านต่างๆ ของภูมิภาค รวมทั้งเป็นที่ตั้งของกองกำลังรบหลักของกองทัพบกและกองทัพอากาศด้วย
จังหวัดนครราชสีมา แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 32 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครราชสีมา อำเภอครบุรี อำเภอเสิงสาง อำเภอคง อำเภอบ้านเหลื่อม อำเภอจักราช อำเภอโชคชัย อำเภอด่านขุนทด อำเภอโนนไทย อำเภอโนนสูง อำเภอขามสะแกแสง อำเภอบัวใหญ่ อำเภอประทาย อำเภอปักธงชัย อำเภอพิมาย อำเภอห้วยแถลง อำเภอชุมพวง อำเภอสูงเนิน อำเภอขามทะเลสอ อำเภอสีคิ้ว อำเภอปากช่อง อำเภอหนองบุญมาก อำเภอแก้งสนามนาง อำเภอโนนแดง อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเมืองยาง อำเภอบัวลาย อำเภอสีดา อำเภอเทพารักษ์ อำเภอพระทองคำ และอำเภอลำทะเมนชัย
ทิปส์ท่องเที่ยว
- ช่วงเวลาที่เหมาะที่สุดสำหรับการล่องแก่งลำตะคอง คือ ประมาณเดือนมิถุนายน-ตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงที่สายน้ำสวยงามและมีปริมาณน้ำเหมาะสมกับการล่องมากที่สุด
- สำหรับกิจกรรมล่องแก่ง นักท่องเที่ยวควรตรวจสอบระดับน้ำในลำน้ำในช่วงเวลานั้นๆ ก่อนออกเดินทาง เนื่องจากในบางช่วงของฤดูน้ำหลาก ระดับน้ำในลำน้ำอาจสูงและไหลเชี่ยวจนเกินไป ไม่สามารถลงล่องแก่งได้ สามารถสอบถามโดยตรงได้จากโรงแรมที่พัก หรือผู้ประกอบการนำล่องแก่งที่คุณใช้บริการ
- ข้อปฏิบัติในการล่องแก่ง คือ ควรละเว้นการดื่มสุราและของมึนเมาในขณะลงล่องแก่ง สวมชูชีพและหมวกกันน็อกตลอดเวลา และควรปฏิบัติตามคำแนะนำของไกด์นำทางโดยเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัย
- อุทยานแห่งชาติฯ ไม่อนุญาตให้นำสัตว์เลี้ยงเข้าไปในเขตอุทยานฯ เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว
- ตลอดสองข้างทางในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มักจะเจอฝูงลิงป่าอยู่เป็นจำนวนมาก นักท่องเที่ยวไม่ควรให้อาหารลิงป่าโดยเด็ดขาด
การเดินทาง
นครราชสีมาอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 259 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางสู่จังหวัดนครราชสีมาได้หลายวิธี ทั้งทางรถยนต์ส่วนตัว รถประจำทาง และรถไฟ
โดยรถไฟ
การรถไฟแห่งประเทศไทยมีบริการรถไฟออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ไปยังจังหวัดนครราชสีมาทุกวัน ทั้งรถธรรมดา รถเร็ว รถด่วน และรถด่วนพิเศษ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4-5 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690 เว็บไซต์ www.railway.co.th
โดยรถยนต์
จากกรุงเทพฯ สามารถไปได้ 3 เส้นทาง คือ
1. ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) จนถึงจังหวัดสระบุรี บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 107 แยกขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) ไปจนถึงจังหวัดนครราชสีมา เป็นเส้นทางที่นิยมที่สุด
2. ใช้ทางหลวงหมายเลข 304 ผ่านเขตมีนบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอพนมสารคาม กบินทร์บุรี วังน้ำเขียว ปักธงชัย ไปจนถึงจังหวัดนครราชสีมา รวมระยะทางประมาณ 273 กิโลเมตร
3. ใช้ทางหลวงหมายเลข 305 (รังสิต-นครนายก) จนถึงจังหวัดนครนายก แยกใช้ทางหลวงหมายเลข 33 ไปจนถึงอำเภอกบินทร์บุรี แล้วแยกซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 304 ผ่านวังน้ำเขียว ปักธงชัย ไปจนถึงจังหวัดนครราชสีมา
โดยรถประจำทาง
มีรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศของบริษัท ขนส่ง จำกัด และของเอกชน สายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต 2) ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร.1490 www.transport.co.th
ปัจจุบันบริษัท ขนส่ง จำกัด ได้เปิดให้บริการจองตั๋วรถโดยสารออนไลน์แล้ว ติดต่อได้ที่ www.thaiticketmajor.com นอกจากนี้ยังสามารถซื้อตั๋วออนไลน์ได้ที่ไทยรูท ดอทคอม www.thairoute.com
โดยเครื่องบิน
มีสายการบินขนาดเล็ก 32 ที่นั่ง Happy Air ยินตรงจากนครราชสีมา – เชียงใหม่ , นครราชสีมา – กรุงเทพฯ และ นครราชสีมา – ภูเก็ต สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.happyair.co.th โทร. 0 7632 7777 – 8 , 08 -6470 -5064
การเดินทางภายใน นครราชสีมา
ในตัวจังหวัดนครราชสีมามีรถชนิดต่างๆ ให้บริการ นักท่องเที่ยวสามารถเลือกใช้บริการยานพาหนะต่างๆ ได้หลายรูปแบบตามความเหมาะสม
รถแท็กซี่มิเตอร์ มีจุดจอดอยู่ที่สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 และศูนย์การค้าเดอะมอลล์นครราชสีมา
รถสองแถว มีวิ่งบริการภายในเขตเทศบาลและบริเวณใกล้เคียง รวมถึงไปยังอำเภอต่างๆ หลายสาย นักท่องเที่ยวอาจเหมารถสองแถวไปเที่ยวได้ทั้งในเมืองและต่างอำเภอ คิดราคาขึ้นอยู่กับระยะทางและการต่อรอง
รถสามล้อเครื่องและมอเตอร์ไซค์รับจ้าง จอดอยู่ตามจุดต่างๆ ในจังหวัด เช่น หน้าตลาดเทศบาล หน้าสถานีขนส่ง ค่าบริการมีทั้งแบบตกลงกันตามแต่ระยะทางและแบบเหมาจ่าย
ระยะทางจากอำเภอเมืองนครราชสีมาไปยังอำเภอต่างๆ คือ
อำเภอเฉลิมพระเกียรติ 18 กิโลเมตร
อำเภอขามทะเลสอ 22 กิโลเมตร
อำเภอโนนไทย 29 กิโลเมตร
อำเภอโนนแดง 30 กิโลเมตร
อำเภอโชคชัย 31 กิโลเมตร
อำเภอปักธงชัย 34 กิโลเมตร
อำเภอสูงเนิน 36 กิโลเมตร
อำเภอโนนสูง 37 กิโลเมตร
อำเภอพระทองคำ 37 กิโลเมตร
อำเภอจักราช 40 กิโลเมตร
อำเภอสีคิ้ว 45 กิโลเมตร
อำเภอขามสะแกแสง 50 กิโลเมตร
อำเภอหนองบุนนาก 52 กิโลเมตร
อำเภอครบุรี 58 กิโลเมตร
อำเภอพิมาย 60 กิโลเมตร
อำเภอห้วยแถลง 65 กิโลเมตร
อำเภอวังน้ำเขียว 70 กิโลเมตร
อำเภอคง 79 กิโลเมตร
อำเภอด่านขุนทด 84 กิโลเมตร
อำเภอบ้านเหลื่อม 85 กิโลเมตร
อำเภอปากช่อง 85 กิโลเมตร
อำเภอสีดา 85 กิโลเมตร
อำเภอเสิงสาง 88 กิโลเมตร
อำเภอเทพารักษ์ 90 กิโลเมตร
อำเภอประทาย 97 กิโลเมตร
อำเภอชุมพวง 98 กิโลเมตร
อำเภอบัวใหญ่ 101 กิโลเมตร
อำเภอบัวลาย 106 กิโลเมตร
อำเภอเมืองยาง 110 กิโลเมตร
อำเภอแก้งสนามนาง 130 กิโลเมตร
อำเภอลำทะเมนชัย 130 กิโลเมตร
สถานที่ท่องเที่ยวนครราชสีมา
วังน้ำเขียว
สวิตเซอร์แลนด์แดนอีสาน หรือ “วังน้ำเขียว เมืองหนาว ภูเขามากมาย น้ำตกหลากหลาย ผลไม้นานาพันธุ์ แดนสวรรค์เมืองหมอก” คำขวัญและคำกล่าวที่ผู้คนพูดถึงอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมาเป็นแรงดึงดูดใหอยากไปพิสูจน์ จากกรุงเทพฯขับรถตามทางมอเตอร์เวย์ ออกด่านที่ฉะเชิงเทรา แล้วมุ่งหน้ากบินทร์บุรี เข้าทางหลวงหมายเลข 304 ขึ้นเขาไปจนถึงอำเภอวังน้ำเขียว ถึงบริเวณตลาด 79 ของอำเภอวังน้ำเขียว ก่อนอื่นก็ต้องหาที่พักกันก่อน ที่พักที่อยู่ตีนเข้าแผงม้า อากาศที่นี่จึงเย็นสบาย ลมพัดมารู้สึกได้ถึงความเย็นของป่า
อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี
เป็นอนุสรณ์แด่วีรกรรมอันกล้าหาญของวีรสตรีไทย หรือย่าโม ซึ่งเป็นชื่อที่เรียกกันติดปากโดยทั่วไป สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2476 ตั้งอยู่กลางเมือง
ประตูชุมพล
ตั้งอยู่ด้านหลังอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองนครราชสีมาเป็นเมืองหน้าด่านเมื่อ พ.ศ. 2199 อันเป็นปีที่พระองค์เสด็จขึ้นครองกรุงศรีอยุธยา
เขื่อนลำตะคอง
ตั้งอยู่ตำบลลาดบัวขาว ห่างจากตัวเมืองประมาณ 62 กิโลเมตร มีทางแยกจากทางหลวงหมายเลข 2 (นครราชสีมา-สระบุรี) บริเวณกิโลเมตรที่ 193-194 ประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นเขื่อนดินสร้างกั้นลำตะคองที่ช่องเขาเขื่อนลั่นและช่องเขาถ่านเสียดในปี พ.ศ. 2507 เพื่อนำน้ำเหนือเขื่อนมาใช้ประโยชน์ในด้านชลประทาน นักท่องเที่ยวสามารถเดินเที่ยวบนสันเขื่อนเพื่อชมทิวทัศน์ของอ่างเก็บน้ำ ซึ่งมีฉากหลังเป็นภูเขาสวยงามเหมาะสำหรับพักผ่อนในยามแดดร่มลมตก
เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 06.00 – 18.00 น. และมีบ้านพักสวัสดิการสำหรับนักท่องเที่ยวในราคาย่อมเยา
สวนเมืองพร
ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 2 (นครราชสีมา-สระบุรี) ห่างจากตัวเมือประมาณ 60 กิโลเมตร แยกซ้ายมือที่หลักกิโลเมตรที่ 196 (ตรงข้ามกับทางเข้าเขื่อนลำตะคลอง) แยกซ้ายขึ้นเขายายเที่ยงเข้าไปประมาณ 500 เมตร เป็นแหล่งผลิตพันธุ์ไม้กว่า 400 ชนิด ทั้งไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ดอกเมืองร้อน – เมืองหนาว ไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้ในวรรณคดี บนพื้นที่กว่า 70 ไร่ จัดเรียงไว้เป็นแปลงๆ กำหนดทางเดินอย่างเป็นระเบียบ โดยจัดวางรูปแบบเป็นซุปเปอร์มาร์เก็ตต้นไม้ นักท่องเที่ยวสามารถเลือกซื้อต้นไม้ได้ตามสะดวกด้วยตัวเอง เปิดให้เข้าชมได้ทุกวัน ระหว่างเวลา 08.00-17.00น. และมีร้านอาหารไว้บริการ ซึ่งสามารถชมทิวทัศน์อ่างเก็บน้ำลำตะคอง เปิดบริการระหว่างเวลา 08.00-21.00น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0 4432 3263 – 4
เขื่อนลำพระเพลิง
เป็นเขื่อนในความดูแลของกรมชลประทาน ชาวบ้านนิยมมาพักผ่อน รับประทานอาหาร ตกปลาและชมทิวทัศน์ริมอ่างเก็บน้ำ มีบริการบ้านพักรับรองหลายหลัง ติดต่อโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำพระเพลิง ในวันและเวลาราชการ โทร. 0 4437 3184 ต่อ 114 นักท่องเที่ยวสามารถเช่าเหมาเรือหางยาวไปชมบรรยากาศภายในอ่างเก็บน้ำ เที่ยวน้ำตกคลองกี่หรือน้ำตกขุนโจนได้ โดยใช้เวลาไป-กลับประมาณ 2 ชั่วโมง ติดต่อได้ที่สโมสรเขื่อนลำพระเพลิง โทร. 0 4437 3184 ต่อ 117
การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 304 ผ่านทางเข้าอำเภอปักธงชัยไปประมาณ 4 กิโลเมตร จะพบสี่แยกเลี้ยวขวาเข้าไปเป็นระยะทาง 30 กิโลเมตร
วัดศาลาลอย
ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวเมือง โดยแยกจากถนนรอบเมืองไปประมาณ 500 เมตร วัดนี้ตั้งอยู่ติดกับลำตะคองซึ่งไหลพาดผ่านตอนเหนือของตัวเมืองไปลงสู่แม่ น้ำมูล ท้าวสุรนารีกับท่านปลัดสามีสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2370
จุดเด่นของวัดอยู่ที่พระอุโบสถซึ่งได้รับรางวัลดีเด่นแนวบุกเบิกอาคารทาง ศาสนา จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ และรางวัลจากมูลนิธิเสฐียรโกเศศและนาคะประทีป ในปี พ.ศ. 2516
เป็นอุโบสถที่สร้างแบบศิลปไทยประยุกต์ เป็นรูปสำเภาโต้คลื่น ใช้วัสดุพื้นเมืองคือกระเบื้องดินเผาด่านเกวียนนำมาประดับตกแต่ง เช่น ผนังด้านหน้าอุโบสถเป็นภาพพุทธประวัติตอนมารผจญ ผนังด้านหลังเป็นภาพตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากดาวดึงส์ ส่วนบานประตูเป็นโลหะลายนูน ภาพเล่าเรื่องเวชสันดรชาดก (13 กัณฑ์) ภายในมีพระประธานปูนปั้นสีขาว ปางห้ามสมุทร เป็นพระพุทธรูปยืนประทับ ณ ประตูเมืองสังกัสนคร สมเด็จพระสังฆราชได้ทรงถวายพระนามว่า “พระพุทธประพัฒน์สุนทรธรรมพิศาล ศาลาลอยพิมาลวรสันติสุขมุนินทร์” หน้าประตูอุโบสถมีปูนปั้นรูปท้าวสุรนารีนั่งพนมมือกลางสระน้ำ ตัวอุโบสถล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วรูปเสมา สัญลักษณ์ของเมืองเสมาเดิม ด้านข้างมีสถูปขนาดเล็กซึ่งเคยใช้เป็นที่บรรจุอัฐิท้าวสุรนารี
วัดเขาจันทน์งาม
ตั้งอยู่ที่บ้านเลิศสวัสดิ์ จากตัวเมืองใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 2 (นครราชสีมา-สระบุรี) ประมาณ 50 กิโลเมตร บริเวณกิโลเมตรที่ 198–199 มีทางแยกซ้ายเข้าไปประมาณ 4 กิโลเมตร เป็นแหล่งศิลปะภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์ ซี่งอยู่บริเวณด้านหลังวัด โดยเดินเท้าผ่านสวนหินและป่าธรรมชาติอันร่มรื่นและเงียบสงบเข้าไปประมาณ 150 เมตร จะพบภาพเขียนลงสีแบบเงาทึบสีแดงเป็นแนวปรากฏอยู่บนเพิงผาหินทรายด้านหนึ่ง อยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 4 เมตร เป็นรูปคนและสัตว์ที่แสดงถึงวิถีชีวิต
ความเป็นอยู่หรือกิจกรรมบางอย่างของกลุ่มคน เช่น ลักษณะการแต่งกาย การดำรงชีวิต การล่าสัตว์ สันนิษฐานว่าเป็นศิลปะที่สร้างขึ้นโดยชุมชนเกษตรกรรมที่อาศัยอยู่ในบริเวณ นี้มีอายุระหว่าง 3,000 – 4,000 ปี
ฟาร์มโชคชัย
ตั้งอยู่บนถนนมิตรภาพ-ปากช่อง กิโลเมตรที่ 159-160 อำเภอปากช่อง เป็นฟาร์มโคนมที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในฟาร์มที่ใหญ่ที่สุดในทวีป เอเชีย เปิดกิจการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรจนได้รับรางวัลแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรดี เด่น รางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ครั้งที่ 4 ปี 2545 และแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรยอดเยี่ยม ครั้งที่ 7 ปี 2551
การเข้าชมฟาร์มมีมัคคุเทศก์นำชมภายในฟาร์มนับแต่ การผลิตน้ำนมดิบ การเลี้ยงโคนม การรีดนม การขี่ม้า ชมฟาร์มม้า ฟาร์มสุนัขและการแสดงของสัตว์
ค่าเข้าชม วันอังคาร – วันศุกร์ ผู้ใหญ่ 235 บาท เด็ก 115 บาท วันเสาร์ – อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ ผู้ใหญ่ 250 บาท เด็ก 125 บาท หยุดทุกวันจันทร์
นอกจากนี้ยังมีที่พักแบบบูติกแคมป์ เป็นเต็นท์ติดแอร์สำหรับผู้ที่ต้องการพักผ่อนโดยการกลับสู่วิถีธรรมชาติ สร้างความแตกต่างจากรีสอร์ทอื่น ๆ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. 0 4432 8386, 0 4432 8485
ปราสาทหินพนมวัน
ตั้งอยู่ที่บ้านมะค่า ตำบลโพธิ์ จากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 2 (นครราชสีมา-ขอนแก่น) ประมาณ 15 กิโลเมตร ทางเข้าอยู่ฝั่งตรงข้าม เข้าทางเดียวกับวัดหนองจอก ขับตรงไปประมาณ 8 กิโลเมตร หากไม่มีรถยนต์ส่วนตัว ขึ้นรถที่สถานีขนส่งแห่งที่ 1 เป็นรถสองแถวเล็ก โคราช – ลองตอง ค่ารถ 9 บาท ลงรถปากทางเข้าวัดลองตอง แล้วต่อรถมอเตอร์ไซด์รับจ้างเข้าไปที่ตัวปราสาทพนมวัน ค่ารถประมาณ 20 บาท
ที่นี่เป็นปราสาทขอมที่น่าชมอีกแห่งหนึ่ง สันนิษฐานว่าเดิมก่อสร้างด้วยอิฐในราวพุทธศตวรรษที่ 15 ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ 18–19 จึงได้สร้างอาคารหินซ้อนทับลงไป จากจารึกที่ค้นพบ เรียกปราสาทแห่งนี้ว่า “เทวาศรม” เป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู ต่อมาจึงได้เปลี่ยนแปลงให้เป็นพุทธสถาน ปัจจุบันแม้จะหักพังไปมาก แต่ยังคงเห็นซากโบราณสถานหลงเหลือเป็นเค้าโครงค่อนข้างชัดเจนเช่น ปรางค์จตุรมุของค์ประธานหลักซึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออกโดยมีมณฑปอยู่ เบื้องหน้าและมีฉนวน (ทางเดิน) เชื่อมต่อระหว่างอาคารทั้งสอง
ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปรางค์มีอาคารก่อด้วยหินทรายสีแดงเรียกว่า “ปรางค์น้อย” ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปหินขนาดใหญ่ บริเวณโดยรอบปราสาทมีระเบียงคตสร้างด้วยหินทรายและศิลาแลงล้อมเป็นกำแพงอยู่ มีโคปุระ (ประตูทางเข้าเทวสถาน) ก่อสร้างเป็นรูปหอสูงทั้งสี่ทิศ บริเวณรอบนอกปราสาททางด้านทิศตะวันออกห่างจากโบราณสถานเกือบ 300 เมตร มีร่องรอยของคูน้ำและเนินดินเรียกว่า “เนินอรพิม” นอกจากนี้ยังพบศิลาแลงจัดเรียงเป็นแนวคล้ายซากฐานอาคารบนเนินแห่งนี้ด้วย
เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 07.00 – 18.00 น. ค่าเข้าชมชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 50 บาท
อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิมาย ประกอบด้วยโบราณสถานสมัยขอมที่ใหญ่โตและงดงามอลังการนั่นคือ“ปราสาทหินพิ มาย” แหล่งโบราณคดีที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ บนพื้นที่ 115 ไร่ วางแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 565 เมตร ยาว 1,030 เมตร
ชื่อ “พิมาย” น่าจะมาจากคำว่า “วิมาย” หรือ “วิมายปุระ” ที่ปรากฏในจารึกภาษาเขมรบนแผ่นหินตรงกรอบประตูระเบียงคดด้านหน้าของปราสาท หินพิมาย และยังปรากฏชื่อในจารึกอื่นอีกหลายแห่ง อาจจะเป็นคำที่ใช้เรียกรูปเคารพหรือศาสนสถาน สิ่งที่เป็นลักษณะพิเศษของปราสาทหินพิมาย คือ ปราสาทหินแห่งนี้สร้างหันหน้าไปทางทิศใต้ต่างจากปราสาทหินอื่นที่มักหันหน้า ไปทางทิศตะวันออก สันนิษฐานว่าเพื่อให้หันรับกับเส้นทางที่ตัดมาจากเมืองโศธรปุระ เมืองหลวงของอาณาจักรเขมรซึ่งเข้าสู่เมืองพิมายทางด้านทิศใต้ จากหลักฐานศิลาจารึกและศิลปะการก่อสร้าง บ่งบอกว่าปราสาทหินพิมายคงจะเริ่มสร้างขึ้นในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 16 ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 รูปแบบทางศิลปกรรมของตัวปราสาทเป็นแบบปาปวนซึ่งเป็นศิลปะที่รุ่งเรืองในสมัย นั้น โดยมีลักษณะของศิลปะแบบนครวัดซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยต่อมาปนอยู่บ้าง และมาต่อเติมอีกครั้งในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 18 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งครั้งนั้นเมืองพิมายเป็นเมืองซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอาณาจักรเขมร ปราสาทหินแห่งนี้สร้างเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาลัทธิมหายานมาโดยตลอด เนื่องจากพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 และพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงนับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานเขาใหญ่ เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย มีอาณาเขตครอบคลุม 4 จังหวัด คือ จังหวัดสระบุรี นครราชสีมา ปราจีนบุรี และนครนายก ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธารที่สำคัญหลายสาย เช่น แม่น้ำนครนายก แม่น้ำปราจีน ลำตะคอง ลำพระเพลิง และห้วยมวกเหล็ก อุดมสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ไม้และสัตว์ป่านานานาชนิด เช่น ช้างป่า กวางป่า เก้ง กระทิง เสือ ตลอดจนมีลักษณะทางธรรมชาติที่สวยงาม มีเนื้อที่ 1,353471.53 ไร่ หรือ 2,165.55 ตารางกิโลเมตร อีกทั้ง เขาใหญ่ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2505 และได้รับสมญาว่าเป็นอุทยานมรดกของอาเซียน อีกทั้งได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกจากยูเนสโก ในปี 2548
แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่
– ศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ ตั้งอยู่ กิโลเมตรที่ 24 ถนนธนะรัชต์ เส้นทางขึ้นเขาใหญ่ด้านอำเภอปากช่อง สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2505 นักท่องเที่ยวที่ผ่านเข้าอุทยานแห่งชาติ และประชาชนทั่วไปมักแวะไปกราบไหว้ขอโชคลาภและขอพรอยู่เสมอ
– น้ำตกกองแก้ว เป็นน้ำตกเตี้ย ๆ ที่เกิดจากห้วยลำตะคองซึ่งเป็นแนวแบ่งเขตจังหวัดนครนายก และนครราชสีมา ในฤดูฝนดูสวยงามมาก เหมาะแก่การเล่นน้ำ สามารถเข้าถึงได้โดยการเดินเท้าจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวประมาณ 100 เมตร มีสะพานเชือกทอดข้ามลำน้ำให้บรรยากาศการพักผ่อนที่กลมกลืนและบริเวณใกล้ๆ ยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติเส้นสั้นๆ
– น้ำตกผากล้วยไม้ เป็นน้ำตกขนาดกลางในห้วยลำตะคองเช่นเดียวกัน ห่างจากที่ทำการฯประมาณ 7 กิโลเมตร สามารถเข้าถึงโดยทางรถยนต์และทางเดินเท้า บริเวณน้ำตกมีกล้วยไม้หวายแดงขึ้นอยู่ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของน้ำตกแห่งนี้และเป็นน้ำตกที่สายน้ำสองสายไหลผ่านชั้น หินทีละชั้นมาบรรจบกันจากน้ำตกผากล้วยไม้มีทางเดินไปน้ำตกเหวสุวัตได้
– น้ำตกเหวสุวัต เป็นน้ำตกที่มีชื่อเสียงมากเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป ตั้งอยู่สุดถนนธนะรัชต์ รถเข้าถึง จากลานจอดรถเดินลงไปเพียง 100 เมตร หรือจะเดินเท้าต่อจากน้ำตกผากล้วยไม้ไปประมาณ 3 กิโลเมตร จะได้ เห็นสายน้ำตกลงมาจากหน้าผาสูงราว 20 เมตร มีจุดชมน้ำตกในระยะไกลที่สามารถมองผ่านแมกไม้เห็นภาพของน้ำตกทั้งหมดในมุม สูงได้สวยงาม หรือหากต้องการสัมผัสกับสายน้ำตกและแอ่งน้ำด้านล่าง ก็มีทางเดินลัดเลาะลงไปได้ แต่ในช่วงฤดูฝนน้ำจะมาก ไหลแรง และเย็นจัดควรระมัดระวังอันตราย
– หอดูสัตว์ เป็นสถานที่จัดทำขึ้นสำหรับการดูสัตว์ป่า ผู้ที่สนใจสามารถเข้าใช้บริการได้ตั้งแต่เวลา 06.00 – 18.00 น. ได้แก่ หอดูสัตว์หนองผักชีอยู่ใกล้หนองผักชีซึ่งเป็นแหล่งน้ำของสัตว์ป่ารอบ ๆ หนองน้ำ เป็นทุ่งหญ้าคากว้างใหญ่ มีโป่งสัตว์ หอดูสัตว์มอสิงโต เหมาะสำหรับดูสัตว์ป่าที่มากินดินโป่ง ซึ่งเป็นดินที่มีแร่ธาตุสำคัญของสัตว์กินพืช
นอกจากนี้ในบริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ.4 (คลองปลากั้ง) ยังได้จัดให้มีหอดูสัตว์ชมกระทิง โดยอยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ประมาณ 2 กิโลเมตร ตั้งอยู่ในทุ่งหญ้าติดชายป่า เชิงสันเขากำแพง ในเวลาเย็นจะมีฝูงกระทิงออกหากินบริเวณใกล้ ๆ
- น้ำตกเหวนรก เป็นน้ำตกขนาดใหญ่และสูงที่สุดของอุทยานฯ อยู่ห่างจากที่ทำการฯลงมาทางทิศใต้ทางที่จะลงไปปราจีนบุรี โดยต้องเดินเท้าแยกจากทางสายหลักไปประมาณ 1 กิโลเมตร ถึงจุดชมวิวที่มีมุมมองเห็นน้ำตกได้สวยงาม น้ำตกมีทั้งหมด 3 ชั้น ชั้นแรกสูงประมาณ 60 เมตร เมื่อน้ำไหลผ่านหน้าผาชั้นนี้จะพุ่งลงสู่หน้าผาชั้นที่ 2 และ 3 ที่อยู่ถัดลงไปใกล้ ๆ กันในลักษณะชันดิ่ง 90 องศา รวมความสูงไม่ต่ำกว่า 150 เมตร ในฤดูฝนสายน้ำที่ไหลทะลักไปสู่หุบเหวเบื้องล่างจะแรงมากจนน่ากลัว
การเดินทาง อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 205 กิโลเมตร สามารถไปได้ 2 เส้นทางคือ แยกจากถนนมิตรภาพตรง กิโลเมตรที่ 56 ไปตามถนนธนะรัชต์ประมาณ 23 กิโลเมตร อีกเส้นทางหนึ่งคือ จากกรุงเทพฯ-แยกหินกอง แล้วไปตามทางหลวงหมายเลข 33 (นครนายก-ปราจีนบุรี) ถึงสี่แยกเนินหอมใช้ทางหลวง 3077 ไปถึงเขาใหญ่ เส้นทางที่สองค่อนข้างชันเหมาะที่จะใช้เป็นทางลงมากกว่า หากโดยสารรถประจำทางจากกรุงเทพฯ ให้ลงที่อำเภอปากช่องแล้วต่อรถสองแถวจอดอยู่บริเวณหน้าร้าน 7/11 ขึ้นเขาใหญ่ ตลาดปากช่องรถจะไปถึงตรงแค่ด่านเก็บเงิน ค่ารถ 25 บาท มีบริการระหว่างเวลา 06.00-17.00 น. จากนั้นต้องโบกรถขึ้นไปยังที่ทำการฯ หรือจะเช่ารถจากปากช่องเลยก็ได้ โดยด่านเก็บเงินจะปิดไม่ให้นักท่องเที่ยวขึ้นเวลา 21.00 น. แต่สามารถลงเขาได้ทุกเวลา
เครดิตข้อมูล text จาก : http://www.relaxzy.com/province/nakhonratchasima/
ภาพจากหลายที่ // บางรูปถ่ายเอง // ขอบคุณมากๆครับ